คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8937/2560
เลิกบริษัทจำกัด
ปพพ. 1236, 1237
การเลิกบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1237 ให้สิทธิผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดขอให้ศาลมีคำสั่งให้เลิกบริษัทได้เมื่อมีเหตุตาม (1) ถึง (4) กล่าวคือ (1) ถ้าทำผิดในการยื่นรายงานการประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท (2) ถ้าบริษัทไม่เริ่มทำการภายในปีหนึ่งนับแต่วันจดทะเบียน หรือหยุดทำการถึงปีหนึ่งเต็ม (3) ถ้าการค้าของบริษัททำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีทางหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้ (4) ถ้าจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึงสามคน โดยทำเป็นคำร้องขอหรือคำฟ้องก็ได้ และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม มาตรา 1236 ก่อน
ผู้ร้องที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 1 มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนไม่สามารถทำธุรกิจร่วมกันได้ เป็นเวลานานถึง 4 ปีเศษ ทั้งไม่ปรากฏว่า บริษัทยังมีลู่ทางในการประกอบธุรกิจให้ได้ผลกำไร จึงเป็นกรณีที่มีเหตุที่ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัดได้ ผู้ร้องทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้เลิกบริษัทได้ หาใช่การใช้สิทธิไม่สุจริตไม่ และไม่ว่าผู้ร้องที่ 1 จะเป็นฝ่ายที่ไม่ให้ความร่วมมือกับผู้คัดค้านที่ 1 ในการบริการกิจการบริษัทหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
อ้างอิง : เนติฯ ตอนที่ 8 หน้า 2197
รวบรวมโดย : ศศินันท์ จงธนพิพัฒน์
SASINUN CHONGTHANAPIPAT
SASINUN ATTORNEY AT LAW
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมาย
คดีแรงงาน คดีแพ่ง คดีอาญา ครอบครัว มรดก ผู้บริโภค สัญญา
และด้านกฎหมายอื่นๆ
(THAI & ENGLISH) (Tel. 089-8811786)