คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2560
ละเมิดลิขสิทธิ์
วิธีพิจารณาความอาญา บรรยายฟ้อง (มาตรา 158 (5)
พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ มาตรา 8 (2), 27 (2), 28 (2), 69
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 4 ให้นิยามคำว่า “เผยแพร่ต่อสาธารณชน” ไว้ ดังนั้น การจะเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมสิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุ โดยนำออกเผยแพรต่อสาธารณชน เพื่อการค้า ต้องมีการทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนด้วยเสียงและหรือภาพโดยวิธีการอื่นใด แต่จากการบรรยายฟ้องของโจทก์สดงอยู่ในตัวว่า การเปิดเพลงจากตู้คาราโอเกะแบบหยอดเหรียญนั้น จะต้องมีลูกค้ามาหยอดเหรียญลงไปในเครื่องดังกล่าวเสียก่อน จึงจะปรากฏเสียงหรือภาพ ให้ร้องเพลงคาราโอเกะได้ หากไม่มีลูกค้าหยอดเหรียญลงไปแล้ว ก็ย่อมไม่ปรากฏเสียงหรือภาพงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันจะถือเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ ลำพังเพียงแต่การนำเครื่องคาราโอเกะแบบหยอดเหรียญไปติดตั้งในร้านอาหารยังไม่ถือเป็นการเผยแพร่ ต่อสาธารณชยน ซึ่งงานดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง หรือโสตทัศนวัสดุ การบรรยายข้อเท็จจริงในฟ้องดังกล่าว จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่อาจแป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้าได้ จึงเป็นฟ้องไม่ชอบ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษได้
อ้างอิง : ศาลยุติธรรม เล่มที่ 8 หน้า 96
รวบรวมโดย : ศศินันท์ จงธนพิพัฒน์
SASINUN CHONGTHANAPIPAT
SASINUN ATTORNEY AT LAW
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมาย
คดีแรงงาน คดีแพ่ง คดีอาญา ครอบครัว มรดก ผู้บริโภค สัญญา
และด้านกฎหมายอื่นๆ
(THAI & ENGLISH) (Tel. 089-8811786)