ข้อหารือ
|
: บริษัท ท. จำกัด เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนขนส่งสินค้าทางทะเล นายหน้าและ ตัวแทนให้บริการออกของตามพิธีการทางศุลกากร บริษัทฯ ได้หารือกรมสรรพากรเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการขนส่งสินค้าทางทะเล ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 234 (พ.ศ. 2544)ฯ ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2544 ดังนี้ 1. กรณีการขนส่งสินค้าทางทะเลขาออก กรณีผู้ใช้บริการ (Shipper หรือ Forwarder A) จ่ายผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับ การขนส่งสินค้าขาออกให้แก่ Forwarder B เช่น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเรือ (Terminal Handling Charge (THC)) ค่าเปิดตู้ (Container Full Charge (CFS)) ค่าเอกสาร เช่น ใบตราส่ง (Bill of Lading (B/L)) โดย Forwarder B ออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ใช้บริการ (Shipper หรือ Forwarder A) จำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทต่อหนึ่งสัญญาต่อหนึ่ง B/L เป็นต้นไป ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราใด (กรณีนี้ไม่มีการจ่ายค่าระวาง (Freight)) 2. กรณีการขนส่งสินค้าทางทะเลขาเข้า 2.1 กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder B) จ่ายค่าระวาง (Freight) หรือผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาเข้า เช่น ค่า THC, CFS, D/O, STATUS, H/L ให้ แก่ Forwarder A โดยออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินรวมกับค่าระวางต่อหนึ่งสัญญาต่อหนึ่ง B/L จำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทเป็นต้นไป ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร 2.2 กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder B) จ่ายผลประโยชน์อื่นใด เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาเข้า เช่น ค่า THC, CFS, D/O, STATUS ให้แก่ Forwarder A โดยออก ใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงิน จำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทเป็นต้นไป ซึ่ง Forwarder A ไม่เรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มกับผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder B) ต่อหนึ่งสัญญาต่อหนึ่ง B/L ผู้จ่ายเงิน มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร (กรณีนี้ไม่มีการจ่ายค่าระวาง (Freight))
|