คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2551
กรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ค่าชดเชยซึ่งนายจ้างได้จ่ายให้แก่ลูกจ้าง ลูกจ้างต้องเสียภาษีหรือไม่
ป.วิ.พ. ม. 225 วรรคหนึ่ง
ป.รัษฎากร ม. 42 (17)
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ม. 31
จำเลยไม่ได้ให้การถึงการทำงานของโจทก์ในเดือนตุลาคม 2548 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาการจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าหลังจากครบกำหนดการจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วโจทก์กระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจำเลยเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง
ค่าชดเชยที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (2) เป็นค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายและไม่เกินสามแสนบาท จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (17) ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 216 (พ.ศ.2509), ฉบับที่ 217 (พ.ศ.2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากค่าชดเชย
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
รวบรวมโดย :
ศศินันท์ จงธนพิพัฒน์ – ทนายความ
โทร. 089-8811786
กฎหมาย และ กฎเกณฑ์การขนส่ง
กรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ค่าชดเชยซึ่งนายจ้างได้จ่ายให้แก่ลูกจ้าง ลูกจ้างต้องเสียภาษีหรือไม่
- รายละเอียด
- ฮิต: 4687