คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13587/2556
พฤติการณ์ซึ่งเป็นการเล็งเห็นผล ก่อให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่พนักงาน
เป็นการจงใจทำให้นายจ้างเสียหายหรือไม่
ปพพ. มาตรา 583
พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (มาตรา 119)
โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่สรรหาและฝึกอบรม ได้รับมอบหมายจากจำเลย ซึ่งเป็นนายจ้างให้ไปทำความเข้าใจกับพนักงานเรื่องการย้ายสถานประกอบการ และให้พนักงานแสดงความประสงค์เกี่ยวกับเรื่องการย้ายที่ทำงานใหม่ แต่โจทก์กลับไปบอกพนักงานว่า จำเลยต้องการหาทางบีบพนักงานให้ออกจากงาน อีกทั้งยังแจ้งกับพนักงานอีกด้วยว่า หากพนักงานใดแสดงความประสงค์จะย้ายไปทำงานที่แห่งใหม่แล้ว ไม่ยอมไป ก็จะถูกฟ้องคดี ซึ่งไม่เป็นความจริงนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการเล็งเห็นผลได้ว่า อาจก่อให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างพนักงานกับจำเลย เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตแล้ว ยังเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
ย่อและรวบรวมโดย :
ทนายศศินันท์ จงธนพิพัฒน์
Ms. SASINUN CHONGTHANAPIPAT
SASINUN ATTORNEY AT LAW
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมาย
คดีแรงงาน คดีแพ่ง ครอบครัว มรดก ผู้บริโภค สัญญา และ
ด้านกฎหมายอื่นๆ
(THAI & ENGLISH) (Tel. 089-8811786)
กฎหมาย และ กฎเกณฑ์การขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13587/2556 พฤติการณ์ซึ่งเป็นการเล็งเห็นผล ก่อให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่พนักงาน เป็นการจงใจทำให้นายจ้างเสียหายหรือไม่
- รายละเอียด
- ฮิต: 4696