สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

บทความเรื่อง ปัญหาการประเมินภาษีใน shipment แบบ Parcel   

 
 
(N) Anant.V TSC | LINE TIMELINE

กูรูส่งออก ฉะ ศุลกากร จอม “รีดเงินโหด” คิดเกินราคา ของเสียหาย “ไร้ความรับผิดชอบ”

ระวังค่าใช้จ่ายแอบแฝง!! กูรูเตือน สั่งของเมืองนอก ราคาต่ำกว่า 1,500 บาท อาจเจอเก็บภาษีบวกเพิ่ม ตั้งคำถามซัด หรือรัฐถังแตก? ด้านเหยื่อ ชี้เสียงไปไม่ถึง เรื่องยังเงียบ วิจารณ์หนักเก็บภาษีแพง-ทำสินค้าเสียหาย ไม่คิดจะรับผิดชอบ!!?
ภาพและข่าวจาก Manager online

https://mgronline.com/live/detail/9640000032873
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สืบเนื่องจากข่าวนี้ ผมก็ไม่ได้ติดตามตั้งแต่แรกว่า  แต่อ่านข่าวแล้วยังมีรายละเอียดไม่มากพอ ที่จะสรุปว่าปัญหาจริงๆ มันคืออะไร ? เกิดจากอะไร ? เกิดขึ้นตอนไหน ? 

แต่อยากเอาข้อกำหนด และหลักคิดของกรมศุลกากรมาเรียบเรียงให้ทราบกัน น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่สนใจเรื่องนี้

การเป็นผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับ บุคคลธรรมดา / บริษัทฯ ที่ทำธุรกิจการนำสินค้าเข้ามา แบบปกติ (เพื่อผลิต หรือ ขายต่อ) ที่เราเรียกว่าเป็น Importer  ซึ่งคนกลุ่มนี้จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ากับกรมศุลกากรฯก่อน จึงจะนำเข้าได้ ผู้นำเข้ากลุ่มนี้ จะมีจำนวนสินค้าที่นำเข้า ในจำนวนที่มาก และมีมูลค่าสูง ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหาในเรื่องการประเมินภาษี เพราะ ผู้ปฏิบัติงาน (ฝ่ายจัดซื้อ หรือ หน่วยงานที่ทำเรื่องนำเข้า) มีประสบการณ์ และยังมี shipping เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ

จากข่าวข้างบนนี้ ปํญหาก็มาจากการนำเข้าในรูปแบบ พัสดุ (parcel) ที่มีการสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ในรูปแบบของ E-commerce Platform ต่างๆซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อ กลายเป็นผู้นำเข้า (Importer) เพราะ มีชื่อผู้ซื้ออยู่บนพ้สดุนั้น และกลายเป็นผู้นำเข้าที่ไม่มีความรู้ในเรื่อง การประเมินภาษี ในของที่ตัวเองสั่งซื้อเข้ามาด้วย !! 

แน่นอนการสั่งซื้อสินค้า บน e-commerce platform ต่างๆ ก็ต้องทำความเข้าใจ ด้วยว่า 
ถ้า E-commerce Platform ที่คุณซื้อสินค้าเขานั้น ระบุว่า การจัดส่งถึงเมืองไทย มีค่าขนส่งเพิ่ม หรือ ระบุว่าสินค้านี้จัดส่งมาจากต่่างประเทศ มีค่าขนส่งด้วย คุณก็ต้องจ่ายเงินของสินค้า + ค่าขนส่ง และค่าขนส่งก็จะเป็นไปตามสูตรการคำนวนที่ในอยู่ใน Pltform นั้นๆ 

ดูแล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่ต้องเข้าใจ ระเบียบและหลักคิดของกรมศุลกากรด้วย 
1. ราคาสินค้า ที่จะใช้ในการประเมินภาษีนั้น จะต้องเป็น ราคา CIF (Cost Insurance and Freight) ที่แสดงในใบกำกับสินค้า ถ้าแสดงมาไม่ครบ กรมศุลฯก็จะมีหลักเกณท์ในการประเมิน
2. ราคาสินค้า ที่ใช้ประเมินนั้น จะเอาฐานจากข้อมูลเก่ามาคิด (แพงขึ้นไม่ว่า แต่ถูกลงไม่ได้)

แนวคิดทั้ง 2 ข้อนี้ จึงเกิดปัญหากับผู้นำเข้า ในกลุ่มของการซื้อแบบ Parcel  ได้ ดังนั้นนี้
@ เวลานำเข้ามาจริง ราคาสินค้า และค่าขนส่ง ที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าที่ติดมากับสินค้า กรมศุลฯจะเอาข้อมูลนั้น เป็นฐานในการคำนวนภาษี 

แต่ตอนคุณซื้อใน web กับตอนที่เข้ามาจริง ถ้ามูลค่ามันไม่ตรงกัน กรมศุลฯ เขาไม่รู้เรื่องครับ นี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ 

@ การประเมินภาษีที่มากกว่าเดิม จากที่เคยนำเข้ามา เช่น ได้สินค้ามาในราคาลดพิเศษ แต่กรมศุลฯก็ยังคิดภาษีเท่าเดิม ก็เพราะว่า กรมศุลฯใช้หลักของฐานข้อมูลเดิม (เพื่อป้องกันผู้ขายกับผู้ซื้อฮั้วกันครับ)

@ คราวนี้ประเด็นว่าทำไมถึงมีปัญหากันในช่วงนี้ ผมก็ต้องประเมินว่า การนำเข้าสูงและเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะการนำเข้าจากประเทศจีน ในกลุ่มของสินค้า หมวด HS 85 ซึ่งก็คือสินค้าฟุมเฟือยทั้งหลาย มีมูลค่าจากเดือน  Nov 2020 = 38,902 MB แต่ปี 2021 Jan 2021 = 55,598 MB จะเห็นว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น !   

ข้อมูลจากhttp://www2.ops3.moc.go.th/#

(HS 85 : Electrical machinery and equipment and parts thereof; sound recorders and reproducers, television image and sound recorders and reproducers, and parts and accessories of such articles)

@ จากข้อมูลเมื่อ 3-4 ปีก่อน  Jack ma (Alibaba) มาคุยกับไทยในช่วงที่รองนายกเป็น ดร.สมคิดนั้น ว่า Alibaba จะมาลงทุนที่ไทย (ช่วงนั้นถ้าจำกันได้ มีการโชว์ขายทุเรียนออนไลน์กันด้วย)  ในช่วงนั้น Jack Ma มีการขอไทยให้พิจารณาเรื่อง สินค้าที่นำเข้า ให้สินค้าที่มูลค่าไม่เกิน 2500 บาท/shipment ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า (ขณะนั้นจะอนุโลมกันอยู่ 1,500 บาทต่อ shipment) แน่นอนรัฐบาลลุงตู่ ก็คงไม่ยอม มันถึงเกิดเรื่องขึ้นในวันนี้ไง !!

ดังนั้น คำว่าอนุโลมกัน ผมก็ไม่แน่ใจ ว่าใช้หลักเกณท์อะไร แต่การเรียกเก็บภาษีขาเข้า ที่เป็นปัญหากันอยู่ในตอนนี้ ก็ยังอยู่ภายใต้หลักเกณท์ที่ถูกต้องนะครับ เพราะ กรมศุลฯเข้าเรียกเก็บจากคิดฐานที่ CIF จ้า !! 

ปัญหาเรื่องนี้ ถ้าจะแก้ไข ก็ต้อง Case by case  เพราะรูปแบบของผู้นำเข้าแต่ละรายก็จะต่างกัน  มีปัญหาก็เขียนหรือโทรมาคุยกันได้ครับ .หรือ จะมาลงเรียนในเรื่อง นักจัดซื้อ หรือ งานขาย ต่างประเทศ หรือ ถ้าอยากได้ shipping มาช่วยงานผมจะแนะนำมืออาชีพให้ครับ

Credit : อ.โอ่ง อนันต์ วชิราวุฒิชัย (Tangram Strategic Consultant) MB 089 814 9612 / FB & Line ID : tangram.stracon
------------------------------------------------------------------------------------------------------
Our Classroom 
@ เจาะลึก..เพื่อแก้ปัญหางานจัดซื้อ (Deep in Purchasing Job)
ซื้ออย่างไร ! ประสานงานอย่างไร ! ถึงไม่มีปัญหา !
หลักสูตรนี้จะให้เนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับงานจัดซื้อ ซึ่งประกอบด้วย หลักการวิธีคิดและการแก้ไขปัญหาในการจัดซื้อ / การคัดเลือก Supplier / การต่อเจรจารอง / การทำ Cost Deduction / การทำ Alternative Source  ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับความรู้ที่ครบถ้วน และสามารถนำไปปฏิบัติงานเป็นอย่างดี ดูรายละเอียด :
https://purchasingprofessional.blogspot.com/2019/10/professional-purchasing_27.htmฺl
Booking at : https://seminardd.com/s/49373

@ นักจัดซื้อ-ต่างประเทศ (Oversea Procurement)
นำเข้าอย่างไร ! ซื้ออย่างไร  ! ชำระเงินอย่างไร !
หัวข้อนี้ออกแบบมาเพื่อ ผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศโดยเฉพาะ หลักสูตรนี้จะให้เนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับงานจัดซื้อต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ การทำธุรกิจระหว่างประเทศ  (International trade) / เทคนิคในการจัดซื้อ/จัดหา ต่างประเทศ  (Oversea procurement technique)  / กระบวนการนำเข้าสินค้า  (Import Processing) และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับความรู้ที่ครบถ้วน และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี ดูรายละเอียด :
https://tangramtib.blogspot.com/2016/10/the-inter-business-for-sme.html
Booking at :  https://seminardd.com/s/49370

@ งานขายต่างประเทศ (Oversea sale)
ขายอย่างไร ! เสนอราคาอย่างไร ! ส่งสินค้าแบบไหน !
หัวข้อนี้ออกแบบมาเพื่อ ผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายขายต่างประเทศโดยเฉพาะ หลักสูตรนี้จะให้เนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับงานขายต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ การทำธุรกิจระหว่างประเทศ  (International trade) / การเสนอราคา (Price Quote)  / กระบวนการส่งออกสินค้า  (Export Processing) และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับความรู้ที่ครบถ้วน และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี ดูรายละเอียด :
https://tangramtib.blogspot.com/2020/07/12-international-trade.html
Booking at : https://seminardd.com/s/63123

@ จับธุรกิจให้อยู่หมัด..ด้วยแผนภาพธุรกิจและการเงิน  Business Projection Plan   (Workshop Class)
SME ที่กำลังเติบโตมากมายหลายธุรกิจ มีสินค้าที่ดี ขายก็ได้ แต่ทำไมถึงล้ม !!
หลายๆธุรกิจที่ต้องล้มไป เพราะพวกเขา !!
>ไม่รู้ว่ามีปัญหาซ่อนอยู่
>ไม่รู้ว่าจะควบคุมมันอย่างไร
>ไม่มีเครื่องมือมาช่วยในการบริหาร
แล้วคุณมีเครื่องมือนั้นแล้วหรือยัง !!
"จับธุรกิจให้อยู่หมัด..ด้วยแผนภาพธุรกิจและการเงิน Business Projection Plan"
สนใจรายละเอียดดูได้ที่ : https://projectionplan.blogspot.com/2020/07/business-projection-plan.html
Booking : https://seminardd.com/s/63102

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright