สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

เรียน ท่านผู้ส่งออก และนำเข้า

ความเดิมจากตอนที่แล้ว เราได้เล่าเรื่องการขึ้นลงของค่าระวางเรือ  คงจำกันได้นะครับ  บทนี้อยากจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจขนส่งอีกลักษณะหนึ่งที่เราท่านอาจไม่ค่อยคุ้นเคยกันมากนัก ที่เรียกว่า Freight Forwarder ว่ากันว่าเมื่อ ประมาณ 30 ปี ก่อน  ผู้ส่งออกรายย่อย หรือ ผู้ส่งออกสินค้าขนาด  1 ลูกบาศก์เมตร มีปัญหาในการส่งออกมาก ไม่สามารถหาบริษัทเรือที่รับบรรทุกสินค้าขนาดเล็ก ดังกล่าวไปต่างประเทศในทางทะเลได้  ถ้าหาได้ก็ต้องจ่ายราคาค่าระวางแบบเหมา 1 ตู้เต็ม หรือเรียกว่า
FCL  ( FULL CONTAINER LOAD)

        ในที่ประชุมขององค์กรบริษัทรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศของสากลโลก  มีนายตัง เก ฮอก  ชาวสิงค์โปร์  ได้ แสดงวิสัยทัศน์ในประชุมฯ ณ กรุงเจนีวา  ตอนหนึ่ง ว่า  ขณะนี้ได้ขอเสนอ   มิติใหม่ในวงการขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ ใน โลก นี้ได้เพื่อควาสะดวกสบาย และคล่องตัวให้กับผู้นำเข้าและส่งออก เป็นอย่างมาก    ข้าพเจ้าขอเสนอให้มีการต่อยอด ในระบบนี้คือ ขอให้มีระบบ ขายปลีก หรือ LCL   (LESS THAN CONTAINER  LOAD)  หมายถึง   นายหน้า หรือ ตัวแทนรับจัดการขนส่ง  หรือ freight forwarder ทำการ ซื้อค่าระวางเรือ ในราคา ขายส่ง หรือ เหมา มาหนึ่งตู้ ขนาด 20 ฟุต หรือ  40 ฟุต   แล้วมาแบ่งขายปลีก เป็นราคาต่อ ลูกบาศก์เมตร ตามขนาด ของสินค้า กว้าง x ยาว x  สูง     หรือ ต่อ น้ำหนัก ต่อ ตัน  หรือ 1,000 กิโลกรัม   ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสินค้ามีขนาด  กว้าง 150 ซม. ยาว 200 ซม. สูง 100 ซม .   และ มีน้ำหนัก 1  ตัน  สมมุติ ว่าค่าระวางเรือจาก ท่าเรือ กรุงเทพ  ไป ท่าเรือ สิงค์โปร์ เท่ากับ  10 เหรียญสหรัฐ   ตัวแทนรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ ก็จะคิด ค่าระวางเรือ LCL   โดยการ 1.5 เมตร คูณ 2 เมตร คูณ 1 เมตร และคูณ  US$10  เท่ากับ  ค่าระวางทั้งหมด  30 เหรียงสหรัฐ      ถ้าราคาระวาง 1 ตู้ 20 ฟุตคอนเทนเนอร์ เท่า  กับ  US$150.
ต้นทุนต่อ หนึ่งลูกบาศก์เมตรจะคำนวณ โดย เอาราคาค่าระวาง ตู้ 20 ฟุต  usd150 หาร ด้วย  25 ลูกบาศก์เมตร  ก็จะได้ราคาต่อ หน่วย เท่ากับ   US$6  บริษัท freight forwarder   ก็จะได้ กำไรเท่ากับ  US$4  ต่อหน่วย หรือ  กำไร US$4  คูณ 
25  ลูกบาศก์เมตร  เท่ากับ  US$100  ต่อ ตู้ 20 ฟุต       ซึ่งจะนำพาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ในอนาคต
      หลังจาก นายตัง เก ฮอก ได้บรรยายจบได้รับการปรบมือจากตัวแทน freight forwarder อย่างกึกก้อง และเขาได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานสมาคม FIATA หรือ สมาคมรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ ในระดับสากล และเป็นคนเอเชียคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้   และเขาได้เสียสละเวลา อยู่กับ สหประชาขาติ ในประเทศไทยถึง 3 เดือนในการออกแบบหลักสูตร คู่มือของบริษัทรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ หรือ  manual on freight forwarder
    นี่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ ของวงการ freight forwarder  ซึ่งไม่ใครทราบ และเป็น การ พัฒนาในการระบบ   
โลจิสติก ในโลกที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการส่งออก และ นำเข้าได้มีโอกาสขายสินค้าที่มีจำนวนน้อย หรือ SME  ได้มีโอกาส ได้ส่งสินค้าตัวอย่าง ไปให้ลูกค้า ก่อนที่จะส่งออกขายเป็นมาก ในเวลาต่อมา   มีบริษัทหลายบริษัทที่ส่งแค็ตตาล็อกในทาง LCL นี้  ไปเมืองท่าเรือ หลัก และกระจายโดยทางไปรษณีย์  ธรรมดาในประเทศปลาย ทำให้ประหยัดกว่าการส่งทางอากาศ หรือ ทางไปรษณีย์ จาก ประเทศไทย โดยตรง       ผู้นำเข้าจากประเทศลาวก็ให้บริษัทรับจัดการขนส่งรับสินค้าจากประเทศเยอรมัน และขึ้นท่าเรือกรุงเทพ แล้วให้ทำการจัดส่งโดย รถ บรรทุก  โดยไม่ต้องขนทั้งตู้ไป ซึ่งจะต้องเสียมัดจำตู้ และต้องเสียค่าขนส่งตู้เปล่ากลับ  ถ้าโชคไม่ดี ตู้คอนเทนเนอร์หายในประเทศลาว ก็เป็นเรื่องอีก
     มีบางบริษัท freight forwarder ได้พัฒนาระบบ LCL โดยเสริมกับระบบ คลังสินค้า หรือโกดังมาเก็บสินค้าที่ยังมาไม่ครบจำนวน  รอจนพอจำนวนเต็ม 25  ลุกบาศก์เมตรเพีองพอกับความสามารถในการบรรจุเข้า
20 ฟุต   ขณะบรรจุสินค้าเข้าตู้ หรือเรียกว่า  LOAD  หรือ  PACK   หรือ STUFFING  ก็มีการใช้แรงงานคนยกสินค้า ถ้าเป็นสินค้าหนัก ก็จะใช้ รถยกรถตัก หรือ FOLKLIFT   โดยสินค้าที่มีน้ำหนักซึ่งเกินกว่าการใช้แรงงานคน 2 คนยกขึ้น ควรจะมีแท่นรอง หรือ PALLET  และมีเขือก หรือ ลวด หรือ สายลัดพลาสติก หรือ ครอบด้วย ถุงพลาสติก (wrapping)
เพื่อไม่ให้สินค้าหลุด หรือแยกจาก แท่นรอง   แท่นรองนี้จะมีรู สำหรับให้ รถยกสอดงาเหล็กเพื่อง่ายสะดวกและสร้างความมั่นคงให้สินค้าที่อยู่บนแท่นรองไม่หลุด หรือตกลงมา ขณะขนย้าย

     ในคลังที่มีมาตราฐานจะมีระบบ CCTV  เพื่อถ่ายรูประหว่างการบรรจุ  ผู้ส่งออกสามารถขอดูได้เพื่อเป็นหลักฐานในการยืนยันให้ผู้ส่งออกเกิดความสบายใจว่าสินค้าไม่ได้เสียหายในขณะบรรจุตู้
สินค้า    การรวบรวมสินค้า LCL  หลายเจ้า หรือ ผู้ส่งออกหลายเจ้ามารวมกันนี้ เรียกว่า  CONSOLIDATE.    คนที่คอยดูแลการ
บรรจุหน้าตู้ เรียกว่า TALLY   ซึ่งจะทำหน้าที่กำกับคนงาน และ คนขับรถยกว่าควรจะจัดสินค้า LCL อย่างไรไม่ให้เสียหายและเข้า ตู้คอนเทนเนอร์ได้จำนวน สินค้าให้มากที่สุด จะต้องคำนวณ น้ำหนักสินค้าว่าไม่เกินความสามารถของการรับน้ำหนักของแต่ละตู้  และ ไม่ให้เกินความสามารถของเคลนที่ยกตู้ทั้งที่ต้นทางและปลายทาง  

    บริษัท FREIGHT FORWARDER สามารถส่งต่อไป ศูนย์กลางที่สิงค์โปร์ หรือ ฮ่องกง  ซึ่งมีเรือเดินทะเลได้ทั่วโลก  บ่อยครั้งที่ผู้ส่งออกไม่สามารถหา
ค่าขนส่งจากบริษัทเรือได้  ได้ติดต่อใช้บริษัท LCL  กับ FREIGHT FORWARDER เช่นประเทศใน อเมริกาใต้   แอฟริกา และ ประเทศที่แยกจากสหภาพรัสเซีย
ผู้ส่งออกหลายคนมีอคิตกับ FREIGHT FORWARDER  ไม่เคยคิดจะต้อนรับบริษัท FREIGHT FORWARDER  ก็ต้องกลับมาคิดทบทวนใหม่ เพราะ FREIGHT FORWARDER ที่มีประสบการณ์ สามารถ ช่วยเปิดตลาดใหม่ให้ผู้ส่งออก ได้  ตามที่หลายๆ คน มีแต่ร้องเป่าๆ ว่า เราต้องเปิดตลาดใหม่ แต่ไม่มี
วิธีขนสินค้า  แต่ตัวเองกับปฎิเสธ FREIGHT FORWARDER   ถึงเวลาต้องคิดใหม่ และเปิดใจกว้าง คนใหม่ สิ่งใหม่  แล้วผู้ส่งออกได้พัฒนาและขยายตลาดได้มากขึ้น

    สำหรับผู้ส่งออกที่ต้องส่งออกสินค้า LCL ซึ่งจะเป็นการขนส่งสินค้าออกนอกประเทศที่ถูกที่สุดในโลก สามารถติดต่อ บริษัท FREIGHT FORWADER  แผนก CONSOLIDATE จะต้องบอกชนิดของสินค้า,  ขนาด,     น้ำหนัก  ตารางเรือ  และสถานที่บรรจุสินค้า ซึ่ง บริษัทสามารถเสนอ ราคา DOOR-TO-DOOR SERVICE หรือ จากโรงงานต้นทางจนถึงร้านค้าปลายทางในต่างประเทศได้ แบบครบวงจร  เป็นไงล่ะครับ หวังว่า ท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้เพิ่มเติมกันบ้างนะครับ  ฉบับหน้าเราจะมาดูเรื่องประวัติที่มาของระบบขนส่งอื่น ๆ กัน ฉบับนี้ขอจบแค่นี้ก่อนนะครับ


หยก แสงตะวัน

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright