สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

เรียนท่านผู้อ่านที่เคารพ 

ฉบับนี้ขอคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลงในวงการขนส่งทางอากาศให้ผู้ส่งออก และผู้นำเข้า เพราะการขนส่งทางอากาศก็เป็นส่วนหนึ่งที่ของวงการโลจิสติค ที่ควรจะจับตามอง

เรื่องแรกเกี่ยวกับการบินไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบบ Profit Centerในแต่ละแผนก มีการคิดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะการในใช้เครื่อง Scan หรือใช้เนื้อที่ในการบินไทย ในอัตราที่เป็นสัดส่วนไม่ใช่เหมาเหมือนเดิม ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้บริการ ใช้มากจ่ายมาก ใช้น้อยจ่ายน้อย เพราะผู้บริหารฝ่ายการพาณิชย์สินค้า และไปรษณียภัณฑ์ มาจากฝ่ายงานบัญชีก่อน จึงมองภาพในด้านตัวเลขที่ละเอียดมาก มีการปรับปรุงคลังการบินไทยให้มีหลังคากว้างขึ้นเพื่อป้องกันสินค้าเปียกน้ำ ฝนในช่วงหน้าฝนนี้

เพื่อรองรับสินค้า ผัก ผลไม้ไทย ฝ่ายการพาณิชย์สินค้า และไปรษณียภัณฑ์ยังเปิดให้บริการ Cold Storage Service อย่างเป็นทางการ เพื่อให้บริการพิเศษ  ดูแลสินค้าที่ต้องการควบคุมความเย็นตลอดทั้งกระบวนการขนส่ง Cool Chain ซึ่ง Cold Storage นี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์สินค้าผักสด และผลไม้ Perishable Center ภายในอาคารขนถ่ายสินค้าการบินไทย มีพื้นที่ประมาณ 500 ตารางเมตร แบ่งเป็นห้องขนาดใหญ่ 3 ห้อง ที่ปรับเปลี่ยนอุณหภูมิตามประเภท และชนิดของสินค้า ระหว่าง 2-15 องศา เพื่อให้บริการจัดเตรียม และขนส่งสินค้าที่เป็นพืชผลทางการเกษตรต่างๆ โดยนำการบริหารจัดการ และเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยมาใช้ในการรักษาความเย็นของสินค้า ให้คงที่ตลอดกระบวนการการขนส่ง จากต้นทางจนถึงจุดหมายปลายทาง

เนื่องจากทาง IATA (The Air Transport Association) หรือสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เห็นว่าการพัฒนาธุรกิจการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ในภูมิภาคของเรานี้ ควรจะมี HUB หรือศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งกับสายการบินต่างๆ ที่จะถ่ายลำจากเครื่องบินเล็ก หรือ เครื่องบินที่มีสินค้าทางไปทางยุโรป หรืออเมริกา หรืออีกนัยหนึ่งว่า เครื่องบินจะต้องมีความกว้างกว่าเครื่องบินพาณิชย์ทั่วไป แล้วบินในเส้นทางที่นานว่า 6 ชั่วโมงครึ่ง หรือเรียกว่า  long hual flight  ทางบริษัทส่งเอกสารชั้นนำหลายบริษัท หรือ Freight Forwarder ได้ใช้  Singapore หรือ Hong Kong เป็น HUB ใน South East Asia เช่นกัน สืบเนื่องจากการประเมินของ IATA พบว่า ประเทศไทยมีปัญหาดังต่อไปนี้
1. ระบบคลังสินค้าของการบินไทย และ BFS ที่ไม่คล่องตัว และมีเนื้อที่ที่จำกัด
2. มีเอกสารมากมายในการทำพิธีการศุลกากร กฎระเบียบ และวิธีการ ศุลกากร ของบ้านเราไม่อำนวยระหว่าง โรงพักสินค้าของการบินไทย และ BFS ทางการบินไทยสามารถยื่นแค่คำร้องกับกรมศุลกากรก็สามารถย้ายสินค้าจากโรงพัก สินค้าไปที่ Free Zone ได้ แต่ ถ้าต้องย้ายสินค้าจากโรงพักสินค้าจาก BFS ไป Free Zone ต้องทำใบขนสินค้า กรมศุลกากรมีระบบทำเอกสารแบบสองมาตรฐาน
3. ในประเทศมาเลเซีย และสิงค์โปร์มีการใช้  Free Zone มีเงินสนับสนุน และมีระบบยกเว้นภาษี สำหรับธุรกรรม หรือรายได้จากการปฎิบัติการของสายการบินในเขต Free Zone แต่ประเทศไทยไม่มี
4. รัฐบาลประเทศมาเลเซียให้เงินสนับสนุน กับบริษัทโลจิสติคส์ที่ทำธุรกรรมในเขต Free Zone รวมถึงห้องเย็นด้วย แต่ประเทศไทยไม่มี
5. รัฐบาลประเทศมาเลเซียอนุญาตบริษัท หรือโรงงานที่อยู่ในเขต Free Zone ให้หักค่าใช้จ่ายส่งเสริมการส่งออก ค่าเบี้ยประกัน ค่าระวารการขนส่งระหว่างประเทศ และค่าส่งเสริมในการใช้ยี่ห้อภาษามาเลเซีย เป็น 2 เท่าก่อนเสียภาษีการค้า แต่ประเทศไทยไม่มี
6. รัฐบาลประเทศมาเลเซียอนุญาตบริษัท หรือโรงงานที่อยู่ในเขต Free Zone ยังยกเว้นภาษีการค้า อีก10-15% ถ้าโรงงานใดสามารถส่งออก เพิ่มขึ้นอีก 30-50% นับจากมูลค่าการส่งออกทั้งปี แต่ประเทศไทยไม่มี
7. สถานการณ์บ้านเมืองของไทยที่ไม่ปกติ และเราเคยมีปัญหาเรื่องการประท้วงปิดสนามบินในอดีต
8. ปัญหาเรื่องระบบ Free Zone ที่สนามบินเราได้อิงไปกับการผลิตมากไป ซึ่งมันเป็นจุดที่ไม่อำนวยความสะดวกในด้านโลจิสติคส์ เราควรที่แยก Free Zone ที่ท่า หรือสนามบิน  ให้ออกจากระบบ Free Zone ทั่วไป เพราะมันมีลักษณะการทำธุรกรรมที่ต่างกันมาก ควรจะยกเว้นเรื่องการใบอนุญาต และกฎระเบียนจากหน่วยงานต่างๆ ของทางราชการออกไป
ขอให้มองว่า Free Zone ที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นต่างประเทศ ส่วนเรื่องความปลอดภัยระบบการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เขามี IATA ควบคุมอยู่แล้ว ท่านอาจไม่ทราบว่า พวกเราชาวท้องฟ้านั้นรักประเทศไทยมากเช่นกัน และมีการถูกบังคับให้เข้าการอบรมเรื่อง การควบคุมดูแลสินค้าอันตรายทุก 2 ปี ตามหลักสากล โดย AITA
9. ตอนนี้คลังการบินไทย และ BFS กำลังเริ่มปรับค่าเก็บรักษาสินค้า และค่าธรรมเนียมคลังขึ้น ขอให้ผู้นำเข้า และผู้ส่งออกเตรียมเงินมากขึ้น
10. รัฐบาล และสายการบินมาเลเซียแอร์ไลยมีการลอบบี้  AITA  อย่างจริงจัง
ทาง IATA จึงมติไม่เป็นเอกฉันท์ให้ท่าอากาศยานแห่งประเทศมาเลเชีย โดยสายการบิน Malaysia Airline เป็น HUB แห่งภูมิภาคนี้ อยู่ในขั้นตอน Pilot Project หรือนำร่อง ทั้งที่โดยการตรรกศาสตร์ และภูมbศาสตร์นั้นประเทศไทยควรจะเป็น HUB มันเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก
ไม่แค่นั้น ประเทศไทยยังสูญเสียรายได้มหาศาลจากการใช้บริการของสายการบินจากทั่วโลก และสูญเสียค่าระวางที่ราคาถูก เพราะเครื่องที่เช่าเหมาลำเพื่อการขนสินค้าลำใหญ่ หรือ Freighter จะไม่มารับสินค้าของผู้ส่งออกไทยโดยตรง เราจะต้องขนสินค้าจากประเทศไทยไปต่อ ที่ HUB ราคาค่าขนส่งของสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยก็จะแพงขึ้น  สุดท้ายต้นทุนของสินค้าก็จะแพงขึ้น
ยังไม่พอ เราต้องเสียเวลามาขึ้น เพราะเราต้องขนถ่ายจากเครื่องบินจากประเทศไทยไปประเทศมาเลเซีย เพื่อรวมสินค้า โชคไม่ดีของเสียหายระหว่างขนถ่ายอีก และถ้าช่วง High Season หรือช่วงที่มีการส่งออกมาก สินค้าของประเทศไทยก็อาจจะโดยคัดออก เอาสินค้าที่ส่งออกจากประเทศมาเลเชียขึ้นเครื่องก่อน เราก็เสียเงินมากขึ้น เสียเวลา และยังไม่พอเสียโอกาสทางด้านการค้าที่แข่งขันอย่าางรุนแรงอีก

ตอนนี้การบินไทยต้องการเป็น Challenger หรือผู้ท้าชิงไปก่อน และด้วยเหตุผลอันนี้ทำให้การบินไทยมีการเน้น Freight มากขึ้นโดยจากเดิมเน้นเฉพาะผู้โดยสาร หลังสุดได้จัดให้มีพิธีเจิมเครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่นโบอิ้ง 777-200 LRF จำนวน 2 ลำ เมื่อวันที่ 27/4/53 เส้นทางกรุงเทพฯ-ฮ่องกง-อัมสเตอร์ดัม-กรุงเทพฯ สัปดาห์ละเที่ยว และเส้นทางกรุงเทพฯ-แฟรงก์เฟิร์ต สัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ได้ให้บริการนี้ เป็นการทำสัญญา Block Space (BSA) เครื่องบินดังกล่าวสามารถบรรทุกสินค้าได้ 102 เมตริกตันต่อเที่ยว รองรับสินค้าที่มีขนาดใหญ่พิเศษได้เหมาะสำหรับการรับขนส่งสินค้าที่ต้องดูแล เป็นพิเศษ เช่นการขนส่งสัตว์มีชีวิต และสินค้าประเภทวัตถุอันตรายได้อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าสดประเภทผักผลไม้ ดอกไม้ และสินค้าประเภท IT เช่น ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ฮาร์ตดิสก์ เป็นต้น

ผมเองก็ขอเอาใจช่วย

มีข่าวจะแจ้งให้ ผู้ส่งออก และ ผู้นำเข้า ที่ใช้บริการ ใน เขต Free Zone ในสนามบินสุวรรณภูมิ ให้ทราบว่า
ผู้ให้บริการ หรือ Operating provider   ใน เขต  Free Zone ในสนามบินสุวรรณภูมิเจ้า คนเก่า คือ TAGS ได้ถูกยกเลิกสัญญาแล้ว กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่นานมา 2 เดือนแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดความไม่สะดวกอยู่ในขณะนี้

อันสืบเนื่องการถูกปรับลดเครติดเรทติ้ง หรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยลดลง เป็นเหตุผลให้บริษัทสายบินทั่วโลกพร้อมใจกัน ปรับเพิ่มเงินค้ำประกันกับตัวแทนโลจิสติคประเทศไทย  ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เป็นตัวใหม่ในการนี้เรียกว่า Trade Credit Insurance Premium อนาคตอันใกล้นี้ แสดงใน Airway Bill สรุปท่านผู้ส่งออกเตรียมตัวจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก หลังจาก ค่าระวางขนส่งทางอากาศ

ส่วนเรื่องเกี่ยวกับ Budget Airline สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้น มันเรื่องอยากที่จะเกิด เพราะสินค้าไม่ได้ต้องบริการระหว่างเดินทาง ไม่มีความต้องการอาหาร และสิ่งอำนวยสะดวกบนเครื่องบิน ซึ่งไม่มีตัวเลขอะไรที่จะไปตัดค่าใช้จ่ายลงได้ ยกเว้นประเทศไทยจะเป็น HUB ของภาคพื้นทวีปนี้

ผมขอฝากเรื่องเวลาเราพบสินค้าเสียหายโดยเสนอขั้นตอนการเรียกร้องค่าสิน ไหม  
คู่มือ การดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จาก การประกันสินค้าทางทะเลและขนส่งทางอากาศโดยบริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย

ขั้นตอนและข้อปฏิบัติการดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย เพื่อรักษาสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย และช่วยให้การจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยราบรื่น กรณีเมื่อพบความเสียหาย หรือสูญหายต่อสินค้าที่เอาประกัน ผู้รับสินค้าต้องดำเนินการ ตามขั้นตอน โดยถือเป็นหน้าที่เบื้องต้น ดังต่อไปนี้    
A ) ผู้รับสินค้าขอ เอกสารเพื่อเป็นหลักฐานแสดงความเสียหาย หรือสูญหายของสินค้า ก่อนนำสินค้าออกจากท่าเรือ หรือคลังสินค้า จากผู้ขนส่งซึ่งอาจเป็นผู้ที่ก่อความเสียหาย   

B ) ผู้รับสินค้าควรบันทึก สภาพเสียหาย และจำนวนสินค้าที่เสียหายในใบรับสินค้าทุกครั้ง (Remarks of Loss/ Damage on Delivery Receipt or Consignee's Damage Report)      
    
C ) ถ้าผู้รับสินค้าพบสินค้าเสียหาย ควรแจ้งต่อผู้ขนส่งหรือผู้ที่ก่อให้เกิดเสียหายทันที ภายใน วันเดียวกัน ถ้ากรณีสินค้าส่งมาถึงสถานที่ปลายทางของผู้รับสินค้า เมื่อผู้รับสินค้าพบสินค้า เสียหาย ต้องทำหนังสือแจ้งความเสียหายโดยเรียกร้องต่อบริษัทเรือ หรือตัวแทนเรือภายใน 15 วัน สายการบินภายใน 14 วัน บริษัทรถบรรทุกขนส่งภายใน 8 วันนับจากวันรับมอบสินค้า ตามลำดับ      
    
D ) ผู้รับสินค้ารีบแจ้งความเสียหายต่อบริษัทประกันภัย หรือตัวแทนบริษัทประกันภัย เพื่อการสำรวจความเสียหาย

สุดท้ายขอให้ท่านผู้อ่านจงได้รับแบ่งบุญจากการที่ลูกชายของผมที่ได้บวชเป็น พระในขณะนี้
หยก แสงตะวัน

 

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright