สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

ผมได้เข้าร่วมกับสมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย (Thai Airfreight Forwarders Association) หรือ TAFA ได้ร่วมกับการกรมศุลกากร ฝ่ายปฏิบัติการคลังสินค้าการบินไทย และคลังสินค้า Bangkok Flight Service (BFS) จัดการเตรียมการต้อนรับคณะของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ท่านอลงกรณ์ พลบุตร และคณะผู้บริหารจากกระทรวงพาณิชย์ในกิจกรรม “โลจิสติกส์การค้าสัญจรเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจไทย” เมื่อวันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งการนำคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนคณะกรรมการโลจิสติกส์การค้าเดินทางไปพบหารือกับผู้บริหารสมาคม TAFA พร้อมด้วยภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอที่ต้องการให้คณะกรรมการโลจิสติกส์การค้านำไปพิจารณาหาทางแก้ไข

 ที่ประชุมมีการเน้นประเด็นเรื่อง ปัญหาที่ทำไมเขตปลอดอากรที่สนามบินสุวรรณภูมิถึงไม่ประสบผลสำเร็จ ไม่มีบริษัทผู้ส่งออก บริษัทผู้นำเข้า และบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ใช้บริการ หรือเรียกได้ว่า ทำไมมีสถานที่เก็บสินค้า หรือโรงพักสินค้าเขตปลอดอากรว่างเปล่าถึง 49% ของพื้นที่ทั้งหมด? ทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าในการลงทุนหลายพันล้าน สิ่งที่นำเสนอไปล้วนเป็นเชิงบูรณาการ ไม่มีการระบุว่าใครเป็นปัญหา เพราะวันนี้ไม่มีเวลาไปว่าใครทำไม่ดี ทำไม่ถูก วันนี้เป็นวันที่จะต้องมาร่วมมือกันเพื่อสร้างฟรีโซนให้มันเกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งเป้าหมายของประเทศไทยคือ อยากเห็นคลังสินค้าในฟรีโซนเต็ม, 6 กิจกรรมสามารถดำเนินการได้ และเสียภาษีบนฐานที่ยุติธรรม โดยขอให้รัฐบาลออกกฎระเบียบที่ชัดเจน เพื่อให้กรมศุลกากร, สรรพากรสามารถปฎิบัติได้ และผลประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับทุกหน่วยงานที่ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร

 โดยภาพรวมแล้วไม่เห็นว่า การทำงานของกรมศุลกากรจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเขตปลอดอากร ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการเคลื่อนย้ายสินค้าในเขตปลอดอากร ศุลกากรมีระบบพร้อมที่จะจัดการกับการเคลื่อนย้ายสินค้าดังกล่าว แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ ขณะนี้ระบบที่ใช้ในการติดตามการเคลื่อนย้ายของสินค้า (ACCS) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นยังไม่แล้วเสร็จ จึงไม่ใช่ปัญหาของกรมศุลกากร

 ในโอกาสนี้ทางสมาคม TAFA โดยนายโกวิท ธัญญรัตตกุล นายกสมาคมได้แจงประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องร่วมกันแก้ไขต่อประธานคณะกรรมการโลจิสติกส์การค้า นั่นคือ

1)       การเร่งแก้ไขปัญหาพื้นที่เช่าคลังสินค้าในเขตปลอดอากรสนามบินสุวรรณภูมิให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพสูงสุด ทาง TAFA ได้ชี้ประเด็นที่เกี่ยวข้อง 3 ประเด็นหลักคือ

o   เรื่องแรกคือ ระเบียบกฎหมายของกรมสรรพากรที่ไม่เอื้อให้เกิดการเข้ามาประกอบกิจกรรมในคลังสินค้า

o   เรื่องต่อมาคือ เรื่องระเบียบศุลกากรที่ผู้ประกอบการเช่าคลังสินค้าต้องทำรายงานเมื่อมีการย้ายสินค้าเข้าขออกในเขตฟรีโซน ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพราะ ระบบยังไม่เสร็จกำลังอยู่ขั้นตอนเสนอร่างระเบียบปฏิบัติการเฉพาะพิเศษในเขตปลอดอากรสนามบินสุวรรณภูมิ

o   และประเด็นสุดท้ายคือ ราคาค่าเช่าที่ยังสูงอยู่ โดยทาง TAFA มองว่าในช่วงแรกควรมีการทำโปรโมชั่นในส่วนของค่าเช่า เมื่อมีผู้เข้าไปใช้จนคลังสินค้าในฟรีโซนเกิดมูลค่าเพิ่มแล้วจึงปรับราคา น่าจะมีความเหมาะสมกว่า

2)       การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกมากยิ่งขึ้นในการนำระบบ RFID มาใช้การขนส่ง

คุณโกวิท ได้ฝากขอบคุณทุกหน่วยงาน คือกรมศุลกากรการบินไทย BFS สำนักบริหารจัดการเขตปลอดอากร ทอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกส่วนที่จะช่วยกันสนับสนุนให้เป้าหมายนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

 ทีนี้มารู้จักเขตปลอดอากร และที่เราๆ ท่านๆ เรียกว่า คลังสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามป้ายที่บอกทางที่ก่อนถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่า ภายในรั้วใหญ่ของบริเวณคลังจะมี 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นส่วนที่เป็นเขตปลอดอากรซึ่งแบบออกเป็นเขตปลอดอากร และเขตทำเนียบท่า หรือที่ และส่วนสำนักงาน ซึ่งมี 4 ตึกที่เป็นสถานที่ทำการของบริษัทเอกชน ตามด้วยส่วนตึกของศุลกากร และตึกของบริษัทท่าอากาศ และผู้รับสัมปทานในการบริหาร และให้บริการเครื่องมือต่างๆ ภายในเขตปลอดอากร

 ผมต้องขออนุญาตนำกฎหมายบางอย่างเพื่อความเข้าใจในเสริมความรู้ท่านผู้อ่าน

ตาม กฎหมายกรมศุลกากร พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469

มาตรา 4 เพื่อความประสงค์แห่งการนำของเข้า หรือส่งของออก หรือนำของเข้า และส่งของออก และการศุลกากรให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง

(1)     กำหนดท่า หรือที่ใดๆ ในราชอาณาจักรให้เป็นท่า หรือที่สำหรับการนำเข้า หรือส่งออก หรือนำเข้า และส่งออก ซึ่งของประเภทใดๆ หรือทุกประเภททางทะเล หรือทางบก หรือให้เป็นท่า หรือที่สำหรับการส่งออกซึ่งของที่ขอคืนอากรขาเข้า หรือของที่มีทัณฑ์ ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขตามแต่จะเห็นสมควร

(2)     กำหนดสนามบินใดๆ ในราชอาณาจักรให้เป็นสนามบินศุลกากรโดยมีเงื่อนไขตามแต่จะเห็นสมควร

(3)     ระบุเขตศุลกากร ณ ท่าใด หรือที่ใด หรือสนามบินใด ซึ่งได้กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น

มาตรา 7 (1) บันดาทำเนียบท่าเรือ โรงพักสินค้า และที่มั่นคงทั้งหลายในท่ากรุงเทพฯ ซึ่งใช้อยู่ในเวลาที่ประกาศใช้พระราชบัญญัตนี้ ให้ถือเป็นทำเนียบท่าเรือโรงพักสินค้า และที่มั่นคงซึ่งได้อนุมัติแล้ว ตามความในมาตราก่อน แต่หากต้องเป็นที่ซึ่งไม่มีทางเข้าไปในโรงพักสินค้า และที่มั่นคงนั้นๆ ได้ เมื่อได้ลั่นกุญแจของรัฐบาลแล้ว ตามอ้าง กฎหมายกรมศุลกากร พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2480


มาตรา 3 (1) เพียงที่เกี่ยวแก่การเดินอากาศ คำต่อไปนี้ซึ่งใช้ใน พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2469 และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมให้มีความหมายดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะมีข้อความแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
"เรือกำปั่น" หรือ "เรือ" ให้มีความหมายรวมถึง อากาศยาน
"ท่า" ให้มีควรามหมายรวมถึง สนามบินศุลกากร
"นายเรือ" ให้มีความหมายรวมถึง ผู้ควบคุม
"ทำเนียบท่าเรือ" ให้มีความหมายรวมถึง สำหรับบรรทุกของลงใน หรือขนของขึ้นจากอากาศยาน

(2) คำว่า "อากาศยาน" "สนามบิน" "ผู้ควบคุม" และ "ผู้ประจำหน้าที่" ให้มีความหมายตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศเว้นแต่จะมีข้อความแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

โดยสรุป ถ้าคำสั่ง หรือกฎหมายใดอ้างเฉพาะเรือก็ให้มีความหมายเดียวกับอากาศยาน ยกเว้นมีการระบุเป็นอย่างอื่น

ผมขอเรียนให้ทราบว่า คลังการบินไทย และคลังบริษัท Bangkok Flight Service (BFS เป็นท่า หรือที่ หรือโรงพักสินค้า ตามมาตรา 3 (1), มาตรา 4 (1) และมาตรา 7 (1) พ.ร.บ. 2469

หยก แสงตะวัน

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright