สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

การค้ากับมณฑลจีน ภายใต้ ACFTA : กรณีศึกษาเทียนจิน

โดย ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://www.bangkokbiznews.com/home/news/politics/opinion/aksornsri/news-list-1.php

 

เมื่อตอนที่แล้วได้กล่าวถึงความสำคัญของการค้าจีน-อาเซียน และการค้าไทย-จีน หลังจากที่ความตกลง ASEAN-China FTA หรือ ACFTA ได้ผ่านมาครบ 1 ปีเต็ม และเป็นที่น่าภูมิใจว่า  ไทยเป็นประเทศที่มีการยื่นขอใช้สิทธิเพื่อลดภาษีนำเข้าจากรัฐบาลจีนภายใต้กรอบ ACFTA  มากที่สุดในอาเซียน  โดยวัดจากมูลค่าและจำนวน Form E  ที่แนบไปกับสินค้าส่งออกของไทยไปจีน 

สำหรับบทความในวันนี้ เราจะมาลองเจาะลึกศึกษาการค้าไทยกับมณฑลจีน ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี ACFTA กันบ้าง เพราะต้องไม่ลืมว่า จีนเป็น อภิมหาประเทศ ประกอบด้วยมณฑลต่างๆ ซึ่งแต่ละมณฑลก็มีขนาดและลักษณะเฉพาะจนเป็นเสมือนหนึ่งมณฑล หนึ่งประเทศ  ผู้ที่ต้องการศึกษาเศรษฐกิจจีนให้ลึกซึ้ง จึงไม่อาจมองข้ามการวิเคราะห์ข้อมูลระดับมณฑลจีนนะคะ

ดิฉันจะขอยกตัวอย่างกรณีการค้าไทยกับ เทียนจิน (เทียนสิน) ซึ่งเป็น “มหานคร” ที่มาแรงแซงหลายมณฑล  ทั้งในแง่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และการขยายตัวด้านการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ จนมีบางคนพูด (แอบเม้าท์) ว่า ก็เทียนจินเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านนายกฯ เวินเจียเป่า ย่อมจะต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลและทุ่มงบประมาณมากหน่อย  แต่ดิฉันคิดว่า คงไม่ใช่เหตุผลเพียงเท่านั้น หากแต่เป็นเพราะข้อได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งของเทียนจิน ซึ่งเป็นประตูออกสู่ทะเลที่สำคัญของกรุงปักกิ่ง และเทียนจินยังตั้งอยู่แถบอ่าวโป๋ไห่ ไม่ไกลจากเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้  ทำให้ง่ายและสะดวกในการติดต่อลงทุน/ค้าขายระหว่างกัน

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ดิฉันและคณะวิจัยจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับข้าราชการจากกรมการค้าต่างประเทศได้บินไปสัมภาษณ์หน่วยงานสำคัญในมหานครเทียนจิน โดยเฉพาะหน่วยงานศุลกากรเทียนจิน ซึ่งได้เล่าให้พวกเราฟังและย้ำถึงความสำคัญทางเศรษฐกิจของเทียนจินว่า ในปีที่ผ่านมา ศุลกากรเทียนจินเก็บภาษีได้มากเป็นอันดับ 2 ของด่านศุลกากรทั่วประเทศ (รองจากเซี่ยงไฮ้) และท่าเรือเทียนจินยังมีปริมาณขนถ่ายสินค้ามากเป็นอันดับ  4 ของโลก  

เรามาเริ่มด้วยการปูภาพรวมความสัมพันธ์การค้าเทียนจิน-อาเซียนกันก่อนนะคะ  หลังจากที่ความตกลง ACFTA มีผลเต็มที่ในปี 2010 ส่งผลให้มูลค่าการค้าเทียนจิน-อาเซียนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สินค้าที่เทียนจินนำเข้าจากอาเซียนภายใต้ ACFTA มีมูลค่า 836 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีการแนบ Form E  มาด้วยจำนวน 7,988 ฉบับ ทำให้สินค้าจากอาเซียนไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า (ประหยัดภาษี) ได้ถึง  535 ล้านหยวน  (คำนวณโดยศุลกากรเทียนจิน)

แล้วการค้าระหว่างเทียนจิน-ไทยเป็นอย่างไรบ้าง  ในปี 2010  เทียนจินมีการนำเข้าสินค้าจากไทยภายใต้ ACFTA คิดเป็นมูลค่า 175 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 98.9  ที่สำคัญ สินค้าจากไทยที่ส่งออกไปเทียนจินมีการแนบ Form E  จำนวน 1,700 ฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 58.3  และน่าภูมิใจว่า  ไทยเป็นประเทศในอาเซียนที่มีการขอใช้สิทธิประโยชน์จาก ACFTA กับศุลกากรเทียนจินมากที่สุดวัดจากจำนวน Form E ที่แนบมากับสินค้าจากไทย ทำให้สินค้าจากไทยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า หรือประหยัดภาษีได้ถึง 106 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 112 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า  

ในขณะนี้ แม้ว่าเทียนจินยังมิใช่มณฑลคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย (อันดับหนึ่ง คือ กวางตุ้ง) แต่ก็ขยับอันดับมาเป็นมณฑลคู่ค้าแถวหน้าของไทยอย่างรวดเร็ว โดยมีสินค้าสำคัญจากไทยที่จีนนำเข้าผ่านด่านศุลกากรเทียนจิน  เช่น แป้งมันสำปะหลัง เม็ดพลาสติก ปลาแช่แข็ง น้ำมันหล่อลื่นใช้ในอุตสาหกรรม และยางพารา เป็นต้น  โดยเฉพาะสินค้าหมวดกึ่งวัตถุดิบสำคัญ เช่น เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากไทยได้มีการขยายการส่งออกไปจีนโดยผ่านท่าเรือและศุลกากรเทียนจินเพิ่มมากขึ้น เท่าที่เคยสัมภาษณ์มา พบว่าส่วนหนึ่งเป็นสินค้าของกลุ่มปตท.

ทั้งหมดนี้ จึงสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของเทียนจินในการเป็นฐานการผลิตและอุตสาหกรรมของจีนตอนเหนือ และรัฐบาลจีนได้ทุ่มเทพัฒนาเศรษฐกิจเทียนจิน จนประสบความสำเร็จในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในเขตปินไห่ (BinHai) ได้มีการตั้งเขตเศรษฐกิจ Tianjin Economic and Technological Development Area หรือชื่อย่อคือ TEDA มีการลงทุนจากต่างประเทศสำคัญ เช่น บริษัท Toyota ได้เข้าไปใช้เทียนจินเป็นฐานการผลิตหลักของ Toyota  ในจีน และเทียนจินยังเป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมการบินที่สำคัญ ล่าสุด ยังได้ผลิตเครื่องบิน Airbus รุ่น A320 ด้วยค่ะ

ที่สำคัญ จากการสัมภาษณ์พูดคุยกับนักธุรกิจเทียนจินในครั้งนี้ ยังพบว่า มีหลายบริษัทได้แสดงความสนใจและกระตือรือร้นที่จะมาลงทุนในประเทศไทย นักธุรกิจจีนเหล่านี้ต่างตระหนักถึงความสำคัญของไทยในอาเซียนและมีความพร้อมที่จะมาลงทุนในไทย  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า กระแสทุนจีนบุกอาเซียนและไทยคงจะกระหน่ำถาโถมอีกมากในเร็ววัน ล่าสุด  กลุ่มจีนจากมณฑลอันฮุยก็จะยกคณะใหญ่มาเยือนไทยในเดือนมีนาคมนี้  ในความเห็นของดิฉัน ถ้าเป็นการลงทุนจากจีนในระดับครีม หรือเป็น ตัวจริง ที่มาลงทุนแล้วจะทำให้ประเทศชาติและคนไทยของเรา ( โดยเฉพาะ SMEs ไทย)  ได้รับประโยชน์ด้วย  ก็น่าสนับสนุนค่ะ 

ก่อนจบ  ขอประชาสัมพันธ์หนังสือเล่มใหม่ของดิฉัน ชื่อ เศรษฐกิจจีน” จากมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ไทย  ซึ่งได้รับการสนับสนุนการพิมพ์อย่างดียิ่งจากธนาคารกสิกรไทย กำลังจะวางแผงต้นเดือนมีนาคมนี้แล้วค่ะ

ข้อมูลเศรษฐกิจมหานครเทียนจิน

รายการ

ข้อมูลปี 2010

อัตราเปลี่ยนแปลง (%)

จำนวนประชากร (ล้านคน)

       12.3

 

GDP (พันล้านหยวน)

 

+17.9

รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี (หยวน)

62,574

+11.1

ยอดขายปลีก (พันล้านหยวน)

240.8

+19.3

การส่งออก (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)

 

30.6

+26.6

- โดยบริษัทต่างชาติ (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)

21.7

+24.5

การนำเข้า (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)

35.8

+31.4

- โดยบริษัทต่างชาติ (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)

26.1

+39.0

- มูลค่าการลงทุนจริง (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)

8.5

+20.0

ี่มา: Tianjin Statistical Yearbook 2010

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright