สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ตอนที่ 1

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน

ผมต้องขอขอบคุณมากครับและดีใจมากที่มีท่านผู้อ่านได้ ติดต่อมาทางสำนักงาน ของ ผู้ส่งออกของเรา และขอให้ผมช่วยเขียน เรื่องเกี่ยวกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (multimodal transport)

การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ผมขอเรียกง่ายว่า เป็นการขนส่งระหว่างประเทศที่มีการประสมประสานกันหลายแบบในการขนส่งตลอดทางต้นแต่ต้นทางอีกประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง เช่นการขนส่งจากโรงงานของผู้ส่งออกไปยังผู้นำเข้าที่ต่างประเทศ ได้ว่าจ้างบริษัทให้บริการโลจิสติกส์หรือ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ให้บริการแบบครบวงจรเริ่มตั้งแต่การขนส่งสินค้าส่งออกจากโรงงานโดยทางบก หรือ ทางรถบรรทุกมาที่ท่าเรือคลองเตย แล้ว ขึ้นไปบนเรือเดินทะเลไปประเทศต่างประเทศปลายทางอื่น อันนี้ถือว่าเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง จะต้องออกใบตราส่งแบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยมีผลบังคับตามกฎหมายพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2549

การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เป็นความเข้าใจที่เน้ในการปรับปรุงและเพิ่มระบบทางด้านการค้าระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มันเป็นเปลี่ยนรูปความสัมพันธ์ระหว่างการค้าการขายสินค้าระหว่างประเทศและการขนส่งระหว่างประเทศ จากระดับบทบาทการค้าขายแบบธรรมดา มาเป็นบทบาทของหุ้นส่วนใหม่ในด้านการค้าการขายระหว่างประเทศและการขนส่ง ในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดนี้ เป็นมิติใหม่ในด้านการปฏิบัติธุรกรรมทางด้านการค้าระหว่างประเทศ และระบบการขนส่งที่สมัยใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ทั้งหมดนี้ก็จะมีผลให้เกิดการระบุข้อความชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรในความรับผิดชอบของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง และผู้ส่งออก ผู้นำเข้า

ในโลกของการขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ และโลกาภิวัฒน์นี้ มันได้สร้างความสะดวกสบายในขบวนการขนส่งให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง สามารถทำให้เกิดการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เป็นหนึ่งเดียวทั้งระบบ ทำให้สร้างระบบเอกสารใหม่ที่ออกเอกสารเพียงหนึ่งชุดได้ แทนที่จะออกเป็นเอกสารหลายอย่างตามรูปแบบการขนส่งที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการขนส่ง ซึ่งสร้างความยุ่งยาก และมีเอกสารหลากหลายทั้งเกิดความซับซ้อนของความรับผิดชอบในความเสียหายหากสินค้าเกิดความเสียหายระหว่างการขนส่ง หาเจ้าภาพรับผิดชอบไม่ได้ จากเดิมผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง หาตัวตนไม่ได้ในทางกฎหมาย

การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เป็นวิธีการและขบวนการการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศจากประตูบ้านหรือหน้าโรงงานของผู้ส่งออก ไปยังประตูหรือหน้าโรงเก็บสินค้าของ หรือหน้าร้านขายของผู้นำเข้า ภายใต้การรับผิดชอบเป็นอันเดียวกันตลอดเส้นทางโดยการดูแลของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องเป็นเจ้าภาพคนเดียว ซึ่งเป็นที่มาของความสะดวก ความประหยัดเวลา ในการติดต่อ บริหารจัดการ และ การลดต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้อย่างต่ำและชาญฉลาด การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปเป็นรูปแบบการให้บริการนวัตกรรมใหม่ ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง จะให้บริการตลอดเส้นจากสถานที่รับสินค้าต้นทางของผู้ส่งออกไปยังสถานที่ปลายทางที่ผู้นำเข้าต้องการ ภายใต้สัญญาเพียง หนึ่งฉบับ ซึ่งสัญญานี้ จะระบุราคาค่าขนส่งตลอดเส้นทางการขนส่งเป็นต่อหน่วย ซึ่งง่ายต่อการคำนวณต้นทุน และ วิธีการขนส่งพร้อมตารางการขนส่งที่แจ้งล่างหน้าได้ ทั้งยังสร้างความมั่นใจว่าสินค้าที่ขนส่งไปนั้นถึงปลายทางด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย และทราบถึงต้นทุนของการขนส่งได้ล่างหน้า ปัจจุบันนี้ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ที่มีความได้เปรียบทางด้านชั้นเชิงทางธุรกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ จะรู้จักใช้เทคนิคเทคโนโลยี่ในการบริหารการจัดการขนส่งที่มีอยู่อย่างไร ให้มีการใช้ความสามารถและขั้นตอนเงื่อนไขการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยเฉพาะในการเชื่อมต่อการขนส่งจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง

การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เป็นกิจกรรมระหว่างเขตแดนระหว่างสองประเทศ ทั้งยังถูกบังคับและควบคุมภายใต้กฎหมายกฎระเบียบการนำเข้า และ ส่งออกจากจุดต้นทางถึงหมายปลายทาง แต่ฐานะของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง เป็นอาชีพที่จะต้องเป็นที่รับรู้หรือรับรองจากสากลโลกทั้งรัฐบาลเจ้าของประเทศต้นทางที่ขนส่งสินค้าและรัฐบาลเจ้าของประเทศปลายทางที่ส่งถึง มันเป็นปรากฎการใหม่ในการรวมความเป็นสากลหรือเป็นหนึ่งเดียวในกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

การขนส่งต่อเนื่อหลายรูปแบบ เป็นตัวสร้างโอกาสทางด้านค้าการขายใหม่ๆ อย่างมาก โดยเฉพาะที่กำลังพัฒนาเข้าสู่กรอบของการค้าระหว่างประเทศอย่างมีระบบ และเข้าใจขั้นตอนมากขึ้น ทั้งยังทำฝ่ายบริหารของรัฐบาลแต่ประเทศได้ตื่นตัวเพิ่มความรู้เรื่องการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมากขึ้น ทำให้ก่อให้เกิดผู้ส่งออกหน้าใหม่ได้มีโอกาสสามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศ โดย การขนส่งของทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย

ยกตัวอย่างเช่น เดิมผู้ส่งออกไทยไม่เคยได้มีโอกาสขายสินค้าให้คนในประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งมีการขนส่งทางทะเลไม่ได้ แต่ปัจจุบันการพัฒนาเรื่องการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้ พัฒนาขึ้นจีงทำให้ผู้ส่งออกไทยสามารถขายและส่งสินค้าออกไปประเทศดังกล่าว แล้วทำไมไม่ส่งเสริมการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

 

 

นิยามของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2549

มาตรา 4 บัญญัติว่า “การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ” หมายความว่า การรับขนของโดยมีรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกันตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไปภายใต้สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบฉบับเดียว โดยขนส่งขนจากสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบของในประเทศหนึ่งไปยังสถานที่ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานที่ส่งมอบของในอีกประเทศหนึ่ง การดำเนินการรับ หรือส่งมอบของตามที่ระบุไว้ในสัญญาขนส่งรูปแบบเดียวไม่ถือเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

พอจะขยายความได้ว่า ถ้าการขนส่งระหว่างประเทศโดยทางเดียว เช่น มีการขนส่งจากท่าเรือถึงท่าเรือโดยทางเรือบรรทุกสินค้า และ ผู้ส่งออก จ่ายแค่ค่า ระวางเรือ และค่าใช้จ่ายในภาระหน้าท่า แล้ว บริษัทขนส่งหรือ ในที่นี้คือบริษัทเรือจะออกแค่ออกเอกสารเรียกว่า ใบตราส่งทางทะเล (ocean bill of lading) และมีการระบุรายละเอียดเป็นเงื่อนไข (type of servcie) คือ cy/cy , cy/cfs, cfs/cy, cfs/cy หรือ fio, filo , foli,full liner term, ทั้งมีการระบุว่า สถานที่รับหรือท่าที่รับสินค้าเป็นท่าเรือนั้น (place of receipt ) เหมือนกับ ท่าเรือที่รับบรรทุกสินค้าต้นทาง (port of loading) และ สถานที่ส่งสินค้าปลาย (place of deliver) เป็น ชื่อท่าเรือปลายทาง เหมือนกับ ท่าเรือปลายทางที่รับสินค้า (port of discharge)

ไม่มีอะไรข้อความอื่นใดระบุว่าเป็น สถานที่อื่นที่อยู่บนบก หรือเรียกว่า inland port ก็ถือว่า เป็นวิธีการขนส่งแบบทางทะเล (sea mode) อันนี้ไม่ถือว่าเป็นการขนส่งหลายรูปแบบ

“ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง” (MTO) หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในฐานะตัวการ และเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการขนส่งตามสัญญา ไม่ว่าการทำสัญญานั้นจะทำด้วยตนเอง หรือโดยบุคคลที่ตนมอบหมาย แต่ไม่รวมถึงบุคคลที่กระทำการในฐานตัวแทน หรือทำการแทนผู้ตราส่ง หรือผู้ขนส่งที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการขนส่งดังกล่าว

เราอาจจะเรียก ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องว่าเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ก็ได้ โดยจะให้บริการการขนส่งต่อเนื่องตลอดเส้นทาง ถ้าการขนส่งนั้นมีหลายรูปแบบ

วันนี้ผมขอเขียนให้หอมปากหอมคอแค่นี้ก่อน แล้วมาเจอกันฉบับหน้า

หยก แสงตะวัน

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright