สวัสดีปีใหม่ไทย ครับท่านผู้อ่าน อากาศร้อนแบบนี้คงจะเย็นช่ำด้วยน้ำที่ชาวบ้านสาดกันอย่างสนุกสนาน ฉบับนี้ขอพูดต่อเนื่อง เลยจาก บทความขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ภาคต่อ ตอน 2
เมื่อเร็วๆ นี้ ผมไปประชุมกับเพื่อนๆ ในวงการผู้รับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ หรือ FREIGHT FORWARDER เพื่อนได้เล่าให้ฟังว่า ขณะนี้มีสายเรือหลายสายปฏิเสธเรื่องการเรียกร้องความเสียหาย และชนะคดีกับ FREIGHT FORWARDER เจ้าหนึ่ง เพราะ ว่า FREIGHT FORWARDER คิดว่าตนเองรับงานแค่การขนส่งทางอากาศเป็นหลัก โดยมีการรับงานทางด้านขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ แค่ ไม่กี่งาน แต่ฟ้าก็ไม่เป็นใจ บังเอิญงานที่รับดันไปมีปัญหาในงานที่เป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ แต่ต้องมาสู้คิดเรื่องเกี่ยวกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่เกี่ยวโยงทางเรือ และได้ออกใบตราส่งที่เป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูป โดยที่ไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ ทั้งยังไม่ได้จดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ จึงไม่มีความชอบธรรมในการเรียกร้อง เพราะ ตัว FREIGHT FORWARDER ทำผิดกฎหมายเสียเองตั้งแต่ยกแรก ไม่ได้มีฐานะเป็น ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนที่ถูกกฎหมายและได้การรับรองจากหน่วยงานของทางราชการ ตามกฎหมาย พ.ร.บการขนส่งต่อเนื่องหลายรูป พ.ศ.๒๕๔๘ และประกาศกฎกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและการจดทะเบียนการตั้งตัวแทน พ.ศ. ๒๕๕๐ ในข้อ ๔ ผู้ประกอบการขนส่งหรือขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในต่างประเทศตามมาตรา ๓๙(๓) ที่ประสงค์จะประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนการตั้งตัวแทนตามแบบ ขต.-ค๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายทะเบียน ณ สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชย์นาวี กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้บาง FREIGHT FORWADER อาจจะหัวหมอไม่ไปจดทะเบียนตามที่กฎหมายบังคับ เพราะ คิดว่า ถ้าเวลามีปัญหาถูกฟ้องจะได้หนีหรือรอดพ้นได้ง่ายจากทางกฎหมาย และเสียเงินซื้อประกันภัยรับช่วง เปล่า เสียเวลาเปล่าในการจดทะเบียน ไปผูกมัดตัวเองกับกฎหมายทำไมให้โง่ แถมยังไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน แล้วคิดว่าอะไรไม่อยู่ภายใต้กฎหมาย ก็มีสิทธิ์ในการทำการทุจริตใดๆ ได้ง่าย เอากำไรไว้ก่อน เรื่องความรับผิดชอบต่อประเทศชาติไม่เอา แต่โลกเรานี้ไม่ใช้มีเหรียญ ด้านเดียว มีหลายกรณีที่ FREIGHT FORWARDER ต้องรับงานที่มีการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ มีส่วนหนึ่งของงานจะต้องขนส่งกับผู้ขนส่งโดยตรง หรือเจ้าของเรือ เพราะตัว FREIGHT FORWARDER เองเป็นนายหน้าตัวแทน เราอาจจะเป็นคนฟ้องเขาได้ หรือ ถูกผู้ส่งออกฟ้อง แล้วถ้าแพ้เราจะเอาสิทธิ์อะไรมาไล่เบี้ยกับบริษัทเรือ ถ้าเราไม่มีตัวตนในทางกฎหมาย แต่หารู้ไม่ว่า เราแพ้คดีกับผู้ส่งออก แต่พอมารับช่วงสิทธิ์ไล่เบี้ยฟ้องสายเรือต่อ ก็ แพ้ อีก งานนี้ฟ้องคนทำผิดที่แท้จริงไม่ได้ เจ็บใจแล้วยังเสียเงินให้ผู้ส่งออก แถมยังฟ้องให้บริษัทสายเรือซึ่งเป็นผู้ขนส่งที่แทนจริงชดใช้ค่าเสียหายก็ไม่ได้ ผมว่า FREIGHT FORWARDER มาทำให้ถูกต้องตามกฎหมายดีกว่า ผมขอแนะนำให้ผู้ส่งออก และ ผู้นำเข้าที่ฉลาดต้องเลือกใช้บริการ FREIGHT FORWARDER ทั้งบริษัทสายเดินเรือ ที่เป็น ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ท่านผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ควรจะตรวจสอบรายชื่อจาก WEBSITE ADDESS ของกรมเจ้าท่า ที่ http://www.md.go.th/statistic/document/regis_mtk1.pdf ในกรณีที่ เพื่อ เราทุกคนจะได้อยู่กันทำมาหากินอย่างสบาย ไม่ต้องพะวงหน้าพะวงหลัง ตั้งแต่นี้ต่อไป บริษัทสายเรือเริ่มใช้กลอุบายในการยื่นคำร้องไปที่ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี ว่า FREIGHT FORWADER นี้ไม่ได้จดทะเบียนตอนที่รับหมายศาลครั้งแรก FREIGHT FORWARDER ดังกล่าว ก็จะฟ้องเขา ก็โดนข้อหา ทำผิดกฎหมายเสียเองเพราะ FREIGHT FORWARDER ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบขนส่งเนื่องจดทะเบียน ก็ขาดสิทธิ์ในการฟ้องร้องค่าเสียหาย ในทางศาลยุติธรรม ด้วยกรณีดังกล่าวผมขอเตือนให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ช่วยตรวจสอบกับ FREIGHT FORWARDER ที่เราไปใช้บริการทั้งเข้าและ ออกว่ามีการจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และถ้าไม่ได้จด เราอาจจะเสียสิทธิ์ในทางกฎหมายในการเรียกร้องความเสียหายเขาได้ในอนาคตเวลามีคดีความอาจจะเป็นผิดเสียเอง และแสดงให้เห็นว่า FREIGHT FORWARDER ที่ท่านใช้บริการต้องมั่นใจว่า ไม่ได้ให้บริการแบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ หรือถ้าเขามีเจตนาซ่อนเงื่อนในการให้บริการ หรือ ไม่ ขอให้ตั้งสมมุติฐานได้ว่า ไม่ใช่มืออาชีพ
และเขาจะหาโอกาสไม่รับผิดชอบปิดบริษัทหนีไปเลย เพราะบางบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนมักจะขายค่าระวางถูก ทุนจดทะเบียนบ้านแค่ หนึ่งแสนบาท และ เขาจะไม่ยอมเสียเบี้ยประกันในการทำประกันแบบรับช่วงสิทธิในฐานะผู้ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ หรือ เราเรียกว่า LIABILITIES INSURANCE คุ้มครอง ตามกฎหมาย พ.ร.บการขนส่งต่อเนื่องหลายรูป พ.ศ.๒๕๔๘ มาตรา ๔๓ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) จะต้องดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดตามสัญญาที่ทำขึ้น และดำรงสินทรัพย์ขั้นต่ำไว้ไม่น้อยกว่าแปดหมื่นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินตลอดระยะเวลาที่ประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ หลักเกณฑ์และวิธีกำหนด จำนวน ชนิด ขนาด และเงื่อนไขในการดำรงหลักประกันและสินทรัพย์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ประกอบกิจการในฐานะตัวแทนตามมาตรา ๓๙ (๒) หรือ (๓) จะต้องดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดตามสัญญาที่ทำขึ้นโดยรวมถึงกิจการที่กระทำในฐานะที่เป็นตัวแทนด้วย เอาเป็นว่า ถ้ามีการฟ้องร้องผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน รับรองว่าเขาจะรับผิดในความเสียหายตามกฎหมายแน่นอน เพราะ เขาจะมีบริษัทประกันภัยมารับช่วงทุกเจ้า เป็นการรับประกันว่าเป็นบริษัทที่ได้มาตรฐาน และ น่าเชื่อถือมาก ถ้าเทียบกับบริษัทที่ใช้บริการขนส่งแบบทั่วไปหรือแบบธรรมดาอย่างเดียว ท่านอาจจะเสียความรู้สึก และเสียหายในการขนส่งแล้วบริษัทดังกล่าวปิดบริษัทหนี ตามพ.ร.บ.ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้บังคับให้ FREIGHT FORWARDER ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาทตามมาตรา ๔๐ ผู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร (๒) มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่าแปดหมื่นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน แต่ถ้ามากล่าวเรื่องเอกสารโดยเฉพาะใบตราส่งของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปนั้น คงต้องอ้างถึง มาตรา ต่าง ๆ แต่สงสัยว่าฉบับนี้คงจะพูดถึงไม่หมด ขอยกไว้ต่อฉบับหน้านะครับ
หยก แสงตะวัน 081-8119772