สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

ท่านผู้อ่าน จากฉบับที่แล้ว  ฉบับนี้ขอพูดต่อเนื่อง เลยจาก บทความขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ภาคต่อ ตอน 3 ว่าด้วยกฎหมายไทยที่ใช้กำกับการขนส่งหลายรูปแบบ
ตาม มาตรา ๑๐  ในการทำสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะต้องออกใบตราส่งต่อเนื่องให้แก่ผู้ตราส่งเมื่อได้รับมอบของใบตราส่งต่อเนื่องอาจเป็นชนิดโอนให้กันได้หรือชนิดห้ามโอน ทั้งนี้ แล้วแต่ผู้ตราส่งจะเลือกผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลอื่นที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมอบหมายจะต้องลงลายมือชื่อในใบตราส่งต่อเนื่องการลงลายมือชื่อตามวรรคสามให้หมายความรวมถึงการลงลายมือชื่อที่ปรากฏในเอกสารทางโทรสาร การปรุเอกสาร การประทับตรา การใช้สัญลักษณ์ หรือการลงลายมือชื่อโดยใช้เครื่องกลหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น มีข้อสงเกตว่า เป็นกฎหมายแรกในประเทศไทยที่รับรองการลงลายมือชื่อและระบบเอกสารชนิดที่แปลกจากกฎหมายทั่วไป โดยใช้เครื่องกลหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่ High Technology หรือ ทันสมัยมาก ๆ และเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมาก เนื่องมาจากการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต้องเกี่ยวโยงกับการขนส่งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่จะออกเอกสารในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ แม้แต่การลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจในการออกใบตราส่งก็เป็นในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแสดงถึงการมองการไกลของคณะผู้ร่วมร่างกฎหมาย
ตามมาตรา ๑๑  ใบตราส่งต่อเนื่องพึงแสดงรายการดังต่อไปนี้
(๑) ลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ ข้อความที่แจ้งสถานะ อันตราย สภาพการเน่าเสียง่ายแห่งของ หากจะต้องมี และจำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักรวมหรือปริมาณอย่างอื่นแห่งของ ทั้งนี้ ตามที่ผู้ตราส่งแจ้งหรือจัดให้
(๒) สภาพแห่งของเท่าที่เห็นได้จากภายนอก
(๓) ชื่อและสำนักงานใหญ่ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง
(๔) ชื่อผู้ตราส่ง
(๕) ชื่อผู้รับตราส่ง ถ้าผู้ตราส่งระบุไว้
(๖) สถานที่และวันที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับมอบของ
(๗) สถานที่ส่งมอบของ
(๘) วันที่หรือระยะเวลาส่งมอบของ ณ สถานที่ส่งมอบ ถ้าคู่สัญญาจะได้ตกลงกันไว้โดยชัดแจ้ง
(๙) ข้อความระบุว่าใบตราส่งต่อเนื่องเป็นชนิดโอนให้กันได้หรือชนิดห้ามโอน
(๑๐) สถานที่และวันที่ออกใบตราส่งต่อเนื่อง
(๑๑) ลายมือชื่อของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย
(๑๒) ค่าระวางเท่าที่ผู้รับตราส่งจะต้องชำระซึ่งรวมถึงสกุลเงินที่จะต้องชำระหรือค่าระวางสำหรับแต่ละรูปแบบการขนส่ง หรือข้อความแสดงว่าผู้รับตราส่งเป็นผู้ชำระค่าระวางตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้
(๑๓) เส้นทางที่จะใช้ขนส่ง รูปแบบการขนส่ง และสถานที่เปลี่ยนถ่ายพาหนะ ถ้าทราบถึงรายละเอียดดังกล่าวเมื่อออกใบตราส่งต่อเนื่อง
(๑๔) รายละเอียดอื่นใดที่คู่สัญญาตกลงให้แสดงไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง

ในกรณีที่ใบตราส่งต่อเนื่องใดที่ออกโดยผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีรายการไม่ครบตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ใบตราส่งต่อเนื่องนั้นยังคงมีฐานะทางกฎหมายเป็นใบตราส่งต่อเนื่อง หากมีข้อความครบลักษณะเป็นใบตราส่งต่อเนื่องตามมาตรา ๔
จะมีข้อแตกต่างกับใบตราส่งทางทะเลอยู่ ๓ ข้อ คือ
๑) ตาม (๑๒) ค่าระวางเท่าที่ผู้รับตราส่งจะต้องชำระซึ่งรวมถึงสกุลเงินที่จะต้องชำระหรือค่าระวางสำหรับแต่ละรูปแบบการขนส่ง หรือข้อความแสดงว่าผู้รับตราส่งเป็นผู้ชำระค่าระวางตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ ผมเคยรับงานขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอยู่งานหนึ่ง เป็นการขนส่งจากประเทศไปยุโรปมีการขนส่ง ๒ ช่วง ช่วงแรกมีการขนส่งจากประเทศไปท่าเรือดูไบทางทะเล โดยผู้ส่งออกจ่ายค่าระวางขนส่งทางเรือ แล้วเปลี่ยนการขนส่งต่อไปทางอากาศโดยผู้นำเข้าเป็นคนจ่ายค่าระวางขนส่งทางอากาศ
(๒) ตาม (๑๓)เส้นทางที่จะใช้ขนส่ง รูปแบบการขนส่ง และสถานที่เปลี่ยนถ่ายพาหนะ ถ้าทราบถึงรายละเอียดดังกล่าวเมื่อออกใบตราส่งต่อเนื่อง ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะต้องมีความรู้เรื่องการขนส่งทางอากาศ ทางบก และ ทางเรือ เป็นอย่างดี มิฉะนั้นจะไม่สามารถแจ้งรายละเอียดดังกล่าว  ต้องรู้ว่าท่าหรือสถานที่เปลี่ยนถ่ายพาหนะ  สามารถมีเครื่องไม้เครื่องมือขนส่งเปลี่ยนถ่ายพาหนะ ได้  ผมเคยขนสินค้าไปประเทศเขมร(กัมพูชา)เมื่อ 20 ปีก่อน  แล้วปรากฏว่า ทางท่าอากาศยานของประเทศกัมพูชา ยังไม่มีเครื่องมือหนักในการขนออกจากอากาศยานได้  ต้องขนกลับมาเมืองไทยแล้วมาขนทางทะเลไป
(๓) ตาม (๑๔) รายละเอียดอื่นใดที่คู่สัญญาตกลงให้แสดงไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ในทางทำธุรกรรมหรือขบวนการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ อาจจะมีการระบุถึงเงื่อนในการทำพิธีการศุลกากร เพื่อรองรับตาม เงื่อนไขต่างๆ ของ icc uniform customs and practice for documentary credits
ผมขอกล่าวถึงการชดใช้ค่าเสียของผู้ประกอบขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน มีการจ่าย ตามมาตรา ๒๘  ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ ในกรณีที่ของซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบไว้สูญหายหรือเสียหาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้จำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้เพียงหกร้อยหกสิบหกจุดหกเจ็ดหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือสองหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินต่อหนึ่งกิโลกรัมของน้ำหนักทั้งหมดแห่งของที่สูญหายหรือเสียหายแล้วแต่จำนวนเงินใดจะมากกว่า   เดี๋ยวจะงงว่า หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินคืออะไร มันก็คือ สิทธิพิเศษถอนเงิน (Special Drawing Rights: SDRs) คือสิทธิที่ประเทศสมาชิก IMF มีสิทธิจะถอนสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศที่ฝากไว้กับ IMF ได้ตามสัดส่วนเงินทุนที่ประเทศสมาชิกจ่ายให้ IMF โดย ณ วันที่ 1 มีนาคม 2554 อัตราแลกเปลี่ยน 1 USD = SDR 0.635768   สืบเนื่องมาจากตอนที่ร่างกฎหมาย ได้เอากฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับมาอ้างอิง และเราเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียน ที่จะได้รับเป็นต้นแบบ จึงต้องทำให้มันมีมาตรฐานหน่อย
ผมขอสังเกตอีกประเด็นที่แปลกในกฎหมายนี้คือ เรื่องอายุความมีแค่ 9 เดือน  ตาม มาตรา ๓๘  สิทธิเรียกร้องใดๆ อันเกิดจากการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไม่ว่าจะมีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิด ถ้ามิได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการตามความในหมวด ๓ เพื่อชี้ขาดภายในเก้าเดือนนับแต่วันที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ส่งมอบของ หรือควรจะส่งมอบของ ให้เป็นอันขาดอายุความ  ผู้ส่งออกท่านใดใช้บริการผู้ประกอบขนส่งต่อเนื่อง ต้องอย่าใจเย็น ถ้ามีปัญหาเรื่องความเสียหายในสินค้าที่ขนส่งต้องรีบดำเนินคดีให้เร็วที่สุด   มีหลายคนถามทำไมเพราะ กฎหมายต้องการให้เวลาอีก 3 เดือนกับผู้ประกอบขนส่งต่อเนื่องได้มีเวลาไปฟ้องไล่เบี้ยกับบริษัทขนส่งทางทะเล ซึ่งมีอายุความ 1 ปี เท่านั้น  ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534
แต่ตอนนี้ไม่ใช่บริษัท FREIGHT FORWARDER ต้องถูกบังตามกฎหมาย แต่ตอนนี้บริษัทสายเรือ ก็ถูกบังคับด้วย เพราะปัจจุบัน ทางบริษัทสายเรือก็มีให้บริการการขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบเช่นกัน   แล้วท่านผู้ส่งออกต้องรับทราบว่า เดี๋ยวนี้ FREIGHT FORWARDER มีตัวตนตามกฎหมายแล้วครับ ไม่ใช่ธุรกิจที่ผิดกฎหมายอีกต่อไป ทั้งมีมาตรฐานที่สูงกว่าหลายธุรกิจ 
ในที่สุเราก็จบเรื่อง กฎหมายว่าด้วยการขนส่งหลายรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายนะครับ ไว้ฉบับหน้าจะเขียนเรื่องการทำงานให้ละเอียด  ผมหวังว่าท่านผู้ส่งออกคงจะยังไม่เบื่อและติดตามต่อฉบับนี้ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ
หยก แสงตะวัน / 081-8119772

 

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright