วันนี้ขออ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เกี่ยวกับเรื่อง FTA ไทย – ยุโรป จากเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 เวลา 09.30 น ได้มีการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ครั้งที่ 1/2554/1 ของ สภาหอการค้า ในที่ประชุม สรุป ได้ว่า ข้อมูลจาก การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ว่า ไม่มีความคีบหน้าในการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี FTA ไทย-สหภาพยุโป เพราะมีการเปลี่ยนการเมือง และมีเสียงต่อต้านจากผู้ประกอบการเกี่ยวกับ รถยนต์บางกลุ่มจากญี่ปุ่นที่คอยต่อต้านไม่ให้ข้อตกลงดังกกล่าว ประสบผลสำเร็จ เพราะเกรงว่า ถ้ามีการนำเข้ารถยนต์หรือ อุปกรณ์ จากยุโรป จะทำให้ตนเอง ต้องเสียผลประโยชน์ทางด้านการค้า ทำให้ไทยได้ร่วมกับอาเซียนในการเจรจาความตกลงการค้าอาเซียน-สหภาพยุโรป ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากฝ่ายสหภาพยุโรป มีปัญหาด้านนโยบายระหว่างประเทศที่ไม่ยอมรับให้พม่าเข้าร่วมในการเจรจา และ ไม่สามารถลงนามในสัญญาใดๆ ร่วมกับพม่า ได้ เพราะปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า ซึ่งเรา ๆ ท่าน ๆ ก็ทราบดี ขณะที่สมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างในระดับการพัฒนาทำให้มีปัญหาในด้านการเปิดตลาด เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 สหภาพยุโรป ปรับแนวทางเป็นการเจรจาในระดังทวิภาคกับสมาชิกอาเซียนที่พร้อมเจรจา 3 ประเทศแรก ได้ แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม และ ไทย หริอเรียกง่ายๆ ว่า ขอคุย เป็นตัวต่อตัว แต่ละประเทศ เข้าใจว่าตอนนี้ทางสหภาพยุโรป คุยกับประเทศสิงคโปร์จบเรียบร้อย แล้ว และ กำลังจะคุยจบกับประเทศมาเลเซีย ตามติดๆ ด้วย ประเทศเวียดนาม ทางผู้ร่วมประชุมสภาหอการค้า ภาคเอกชน ก็เลยเป็นห่วง และบ่นว่า ตัวแทนของภาครัฐประเทศไทย เพี่ยงพร้ำละเลยไปหรือไม่โดยเฉพาะกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศซึ่งน่าจะตระหนักดีว่าหากถ้าประเทศเวียดนามและมาเลเซียสามารถสรุปเรื่อง FTA – ยุโรป จบก่อนเรา ผู้ส่งออกไทยก็จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในสหภาพยุโรปอย่างแน่นอน ทุกวันนี้ ผู้ส่งออกไทยก็ฮีดขึ้นคออยู่แล้วในการทำธุรกิจแข่งขันทางการค้า อีกทั้งยังปัญหาการเมือง ปัญหาค่าเงินบาท และ ปัญหาค่าแรงงานที่กำลังจะเพิ่มขึ้น แล้วยังต้องมาสู้กับประเทศเพื่อนบ้านที่ค่าแรงถูกกว่า ต้นทุนต่ำกว่า ขายสินค้าขายแข่งกับ เราได้สบาย เพราะผู้นำเข้าในสหภาพยุโรป นำเข้าจากเพื่อนบ้านเราโดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าหรือ ศูนย์ ส่วนสินค้าไทยต้องเสียภาษี ทั้งราคาเราแพงกว่า อีก คราวนี้ใครจะมาซื้อของไทย ? ซึ่ง ทางสหภาพยุโรปได้เคยเสนอให้จัดทำขอบเขตการเจรจาก่อนการเจรจา เพื่อกำหนดขอบเขต เป้าหมายและความคาดหวังของการเจรจา โดยให้พิจารณาเป็นพื้นฐาน และ ถือว่า เป็นเจตนารมณ์ทางการเมืองระดับเจ้าหน้าที่ (Political commitment at official level) ซึ่งฝ่ายไทยเรียกร้องให้ไม่ต้องมี scoping exercise หรือ ขอบเขตในการปฎิบัติ แต่สหภาพยุโรป ยืนยัน ว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการก่อนเริ่มการเจรจา และได้ เจรจากับประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศมาเลเซียมาแล้ว เช่นกัน ทางกระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนในเรื่องการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปตามมติคณะรัฐมนตรีของ รักษาการท่านนายกอภิสิทธิ์ ซึ่งได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเกษตร ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาครัฐและประชาชนทั่วไป ร่วม 21 ครั้ง ระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม 2553 และได้รายงานผลการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำความตกลงการค้าเสรี-สหภาพยุโรปต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ คนที่แล้ว โดยได้หารือกับผู้มีส่วนได้เสีย ในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และ ภาคประชาสังคม เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้หารือ/รับฟังความคิดเห็นเรื่องสินค้า เช่นเครื่องดิ่มแอลกอฮอล์และบุหรี่กับการจัดทำความตกลงการค้าเสรี FTA ไทย-ยุโรปกับผู้แทนกลุ่มธุรกิจ และได้เห็นว่ากระแสต้าน FTA ไทย-ยุโรป จากทางด้านผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกฮอล์และบุหรี่ แสดงออกอย่างมาก ความนี้พอทำให้เข้าใจได้ว่าเพราะเขาเสียผลประโยชน์ หรือมีใครได้ประโยชน์ จากการจัดทำ FTA – ไทย-ยุโรปหรือไม่
ผู้เขียนมีความเห็นในทางตรงข้าม ว่าถ้าภาครัฐ ให้ความร่วมมือเร่งเจรจา เขตการค้าเสรี FTA ไทย-ยุโรป กับผู้ประกอบธุรกิจด้านการส่งออกทั้งประเทศ น่าจะทำให้ไทยเราจะได้เปรียบมากกว่า เพราะถึงแม้การนำเข้า เหล้า-บุหรี่ จากยุโรปจะเป็นศูนย์ แต่ว่าทางภาครัฐก็ยังมีกลไกลทางด้านการเพิ่มภาษีสรรพสามิตมาควบคุมได้ อย่างประเทศอื่น ๆเค้าทำกัน ถ้าเราลดภาษีนำเข้าอาจ ต้องยอมรับว่ามีการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าจะส่งผลเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะพวก ติดเหล้าติดบุหรี่ ตามยี่ฮ้อ ต่างประเทศ ซึ่งมีไม่มาก ทำไม สหภาพอียู จึงวางหมากนี้ สาเหตุเพราะว่า ตอนนี้สินค้านำเข้าอันดับหนึ่งของไทย จากสหภาพยุโรป คือเหล้า ฝรั่งหรือ เครื่องดื่มแอลกฮอล์ ทางภาครัฐหากยังคิดปกป้องธุรกิจไทย ที่ผูกขาดอยู่ไม่กี่บริษัท ฯ. อย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ ทราบกันดีอยู่แล้ว และทำให้ผู้ส่งออกไทยสินค้าทั่วไปอื่น ๆ ต้องเสียตลาดยุโรปในภาพรวม กรณีนี้ ผู้เขียนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในอีกด้านหนึ่งของธุรกิจรับ จัดการขนส่งโลจิสติกส์ ก็ทราบดีว่า การขนส่งไปยุโรปหรือการค้ากับทางสหภาพยุโรปต้องเพิ่มยอดการค้ามากกว่านี้ เพราะต้นทุนสูง จากการเงินยูโรปที่มีค่าสูงกว่าเงินบาทเรา ทำให้ไม่คุ้มทุน ต้องขึ้นราคาบริการ ส่งผลให้ต้นทุนการส่งออกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ทางยุโรปเองยังขายสินค้าคนละชนิดที่ไม่แข่งกับผู้ส่งออกไทย ซึ่งน่าเป็นโอกาสของสินค้าไทยสามารถขายสวนกลับเข้าไปในตลาด ยุโรป อย่าลืมว่าสหภาพยุโรป เป็นประตูส่ง ยูโรปตะวันตก หรือ กลุ่มประเทศสังคมนิยมเก่าซึ่งกำลังเจริญเติบโตอย่างมาก และ ต้องการสินค้าไทยมาก ยังเป็นประตูไปส่งประเทศในกลุ่ม แอฟริกาด้วย เพราะในอดีตประเทศต่างๆในแอฟริกา เป็นเมืองขึ้นเก่าของสหภาพยุโรป ทางคณะตัวแทนของสหภาพยุโรปจึงโยนไพ่ใบสุดท้าย “ว่าถ้าไม่ทำให้เหล้าบุหรี่ปลอดภาษีไม่ต้องพูดเรื่องอื่น” และ เขาต้องการให้ยกเว้นรายการสินค้า 90% แต่ตัวแทนทางภาครัฐ ยังไม่มั่นใจ จึงไม่ความคืบหน้าในการเจรจา “แหม๋” เรื่องนี้ ผู้เขียนอยากเปรียบเทียบว่า ยาดีๆ ที่เราท่านรับประทาน และจำเป็นในการรักษาที่มีเทคโนโลยี่สูง มาตรฐานสูง ที่องค์การเภสัชเรายังผลิตหรือวิจัยไม่ได้ ถ้าสามารถนำเข้ามาจากสหภาพยุโรป มันก็เป็นอนิสงค์ บุญอย่างแรกที่เราสามารถลดภาษียาดังกล่าว ช่วยชีวิตคนอีกเป็นแสนคนที่ไม่ปัญหาหาซื้อได้ อย่างไรก็ตามก็ขอเอาใจช่วย และหวังว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หรือ หน่วยงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโปรดช่วยพิจารณาเร่งความคืบหน้าในการจัดความตกลงการค้าเสรี FTA ไทย-สหภาพยุโรปให้สำเร็จ อย่ารอช้า ผู้ส่งออกไทยอาจเสียตลาดส่วนนี้ ให้ประเทศเพื่อนบ้านไป เพราะเวลาและโอกาสที่เสียไป มันเรียกกลับมายากมาก
หยก แสงตะวัน
บทความ
อย่า มองข้าม FTA ไทย-ยุโรป ว่าไม่กระเทือนกับผู้ส่งออก ไทย
- รายละเอียด
- ฮิต: 5072