สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

เรื่อง การปรับปรุงประสิทธิภาพลานวางตู้คอนเทนเนอร์

ทุกวันเสาร์ตอนเที่ยงผมจะชอบเปิดฟังวิทยุรายการจุฬาวิทยา นิพนธ์ และเมื่อวันเสาร์ที่ 3 กันยายนที่ผ่านมาผมได้รับฟัง สรุปงานวิจัย“ งานวิจัยสาขาการ จัดการด้านโลจิสติกส์” ของ คุณจิตตราพร พรมภูมิ สนใจในเรื่องของการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการลานวางตู้ คอนเทนเนอร์ ซึ่งผมคิดว่า เป็นประโยชน์สำหรับผู้ส่งออกเป็นอย่างมาขอนำเสนอบางตอนดังนี้

โดยพบปัญหาระยะเวลาในการจัดการกับตู้รถคอนเทนเนอร์ที่มี หัวลากเข้าไปรับ ถ้าเป็นมาตรฐานสากลของบริษัทเดินเรือ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 45 นาทีต่อ 1 ตู้ แต่สำหรับพื้นที่ที่ผู้วิจัยเข้าไปศึกษาพบว่าระยะเวลาเฉลี่ยในการ บริการเข้าไปรับตู้เปล่าของรถหัวลากใช้เวลา 95 นาที ต่อตู้ โดยสัดส่วนปริมาณของตู้คอนเทนเนอร์ที่เข้าและออกผ่านท่าเรือ กรุงเทพ คือท่าเรือคลองเตย, ท่าเรือแหลมฉบัง ในปี พ.ศ. 2550-2552 มีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น ปี 2550 มีปริมาณตู้คอนเทนเนอร์มากถึง 6 ล้านกว่าตู้ ปี 2551 มี ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ 6,800,000 ตู้ ซึ่งเป็นข้อมูลจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ลานวางตู้คอนเทนเนอร์ที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา คือลานบรรจุสินค้ากล่องลาดกระบัง เก็บข้อมูลจากปี 2550-2553 มีประเด็นที่น่าสนใจคือ พบปัญหาที่ต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วนเพื่อลดต้นทุนต่างๆลงไป และทำเวลาได้มากขึ้น ซึ่งปัญหาที่พบคือระยะเวลาเฉลี่ยต่อวันที่รถหัวลากเข้ามารับ บริการรับตู้คอนเทนเนอร์ตู้เปล่าคิดเฉลี่ย 95 นาที ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบริษัทเดินเรือ เค้าบอกว่าถ้าเป็นข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานของบริษัทสายการเดินเรือ ที่เป็นตู้คอนเทนเนอร์ตู้แห้ง, ตู้เย็น หรือตู้คอนเทนเนอร์ต่างๆ ควรใช้เวลาแค่ 45 นาที เท่านั้น แต่ประเทศไทยใช้ไป 95 นาที หรือ 1 ชั่วโมง 35 นาที ผู้วิจัยก็เลยสนใจประเด็นศึกษาในเรื่องนี้ว่าถ้าจะต้องมาใช้แนว คิดการจัดการทางด้านโลจิสติกเข้ามาน่าจะทำเวลาได้น้อยลง และมีปัญหาอะไรที่เข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง

ผู้วิจัยตั้งจุดประสงค์ของการวิจัยไว้ 2 ประการ คือ ประการแรก เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการลานวางตู้คอนเทนเนอร์ โดยลดเวลาเฉลี่ยในการเข้ารับบริการรับตู้เปล่าของรถหัวลาก ณ ลานตู้คอนเทนเนอร์ที่เป็นกรณีศึกษาคือ ที่ลาดกระบัง ประการที่สอง เมื่อได้ข้อมูลทางด้านการศึกษาแล้ว ผู้วิจัยต้องนำเสนอแนะแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน และการจัดการพื้นที่การให้บริการตู้คอนเทนเนอร์เปล่าแก่ลานตู้ คอนเทนเนอร์ที่เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นในพื้นที่ผู้วิจัยได้ใช้กรณีศึกษา คือสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องลาดกระบัง และผู้ใช้บริการคือรถหัวลากที่เข้ามาใช้บริการลานวางตู้ คอนเทนเนอร์ ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2553 เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้วิจัยต้อง ศึกษาข้อมูลต่างๆรวมถึงดูกระบวนการในการทำงานหลักของตู้ คอนเทนเนอร์ในพื้นที่กรณีศึกษาวิเคราะห์สาเหตุ โดยใช้ในเรื่องของวิเคราะห์สาเหตุจากแนวคิดก้างปลาว่ามีสาเหตุ เกี่ยวข้องอะไรบ้างและหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข เพราะประเด็นสำคัญก็คือถ้าลดเวลาในเรื่องของรถหัวลากที่จะเข้าไป รับตู้เปล่า ณ บริเวณลานตู้คอนเทนเนอร์ ถ้าลดลงได้จาก 95 นาที จะดีมาก ดังนั้นในส่วนของกรอบแนวคิดของการวิจัยเรื่องนี้ ผู้วิจัยก็มีแนวคิดในเรื่องของการขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ การจัดการคลังสินค้า เครื่องมือการวิเคราะห์ปัญหาโดยแผนภูมิก้างปลาที่เป็น FISH BONE DIAGRAM ดังนั้นในส่วนของตู้ คอนเทนเนอร์ ซึ่งถ้าหากว่าเด็กยุคใหม่โตมาก็รู้จักตู้คอนเทนเนอร์กันหมดแล้ว ในเรื่องระบบการเคลื่อนย้ายสินค้าทางทะเลจะว่าไปก็นับว่ามีมาเป็น 100 ปี แต่ที่มีการพัฒนาจริงๆเป็นแบบตู้ยกได้ คือที่สหรัฐอเมริกาพัฒนามาในช่วงทศวรรษปี 1960 และมีหน่วยงานที่เป็นINTERNATIONAL STANDARD ORGANIZATION หรือ ISO โดย กำหนดศัพท์คำว่า CONTAINER ISO ซึ่งกำหนดขนาดมาเลยว่าจะเป็นขนาด ไหน ขนาดตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน คือ 20 ฟุต คือยาว 20 ฟุต หน่วยของศัพท์ที่เรียกขนาดตู้คอนเทนเนอร์ คือ TEU (TWENTY FOOT EQUIVALENT UNIT) เพราะ แต่ละตู้มีความยาว 20 ฟุต (20x40, 20x45) ดัง นั้นในส่วนของความสูงก็จะมี กว้าง 8 ฟุต สูง 8 ฟุต 6 นิ้ว ยกเว้นประเภทใหญ่พิเศษจะสูง 9 ฟุต 6 นิ้ว ไม่สูงมากเพราะส่วนมากในการวางตู้คอนเทนเนอร์เรือบรรทุกสินค้าก็ จะวางอย่างเป็นระเบียบ

ผู้วิจัยจึงต้องไปศึกษาเรื่องของการจัดการคลังสินค้าเป็น เรื่องของระเบียบการจัดเก็บรักษาสินค้าอย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มีความพร้อมในการแจกจ่ายตู้ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลาด้วยค่าดำเนินงานที่ต่ำ แต่ปัญหาที่ผู้วิจัยค้นพบ คือพื้นที่ของกรณีศึกษาที่ลานวางสินค้าที่ลาดกระบัง มีปัญหาในส่วนของระยะเวลา ผู้วิจัยก็ต้องมาวิเคราะห์ด้วยแผนภูมิก้างปลา เพื่อดูว่าในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่มีพนักงานขับรถหัวลากมา, มีการรับตู้, มีการตรวจ สอบ, มีพนักงานตรวจตู้ตรวจสอบ มีรถยกตู้ มีรถหัวลากออกไป ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้างที่เป็นปัญหาที่ทำให้ระยะเวลาที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน คือ 95 นาทีลดลงได้ ดังนั้นพอทำแผนภูมิก้างปลาที่พบปัญหาก็จะมีตั้งแต่เรื่องของ เครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการ สิ่งแวดล้อม พนักงานบริการ อย่างเรื่องเครื่องจักรอุปกรณ์ ผู้วิจัยพบว่าในบางช่วงรถยกไม่เพียงพอ และก็บางส่วนรถยกไม่พร้อมทำงานหรือเสีย ในส่วนของกระบวนการก็มีกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อนและทำซ้ำ กองเก็บตู้มีการจัดเก็บจำนวนหลายชิ้นต้องใช้เวลาในการรื้อ ในส่วนของพื้นที่ก็ยังไม่ได้มีการจัดวางกองตู้ตามความเหมาะสม และความต้องการของลูกค้าก็มีหลากหลาย เรื่องของสิ่งแวดล้อม เส้นทางการจราจรในพื้นที่ ในกรณีศึกษามีการซ้อนทับกัน พื้นที่คับแคบ ผังการวางตู้เปล่าและตู้หนักไม่เหมาะสม พื้นที่ไม่เพียงพอในบางช่วงที่รองรับเป็นบางตู้ที่เข้ามา โดยเฉพาะผู้วิจัยได้ศึกษางานวิจัยในช่วงเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ไม่ใช่ศึกษาเดียวแต่ศึกษาเป็นค่อนปีเพื่อให้เห็นถึงปัญหา ส่วนพนักงานในบางขณะที่พนักงานตรวจไม่พอ พนักงานตรวจมีมาตรฐานการตรวจไม่เท่ากัน บางคนตรวจเร็วบางคนตรวจช้า เพราะมีทักษะหรือมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เมื่อได้แผนภูมิก้างปลาแล้วเห็นปัญหา ผู้วิจัยก็มาสรุปได้ว่า อย่างปัญหาการผ่านท่าเพื่อเข้ามายังลานตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเวลาที่รถเข้ามารับบริการจริงกับเวลาที่บันทึกในระบบไม่ตรง กัน นั่นคือ รถ, คนขับรถจะต้องซื้อคูปองผ่านท่าก่อนที่จะนำรถเข้ามา บริเวณท่า ปัญหาที่พบในเรื่องของการตรวจปล่อยตู้เปล่าก็คือ รถหัวลากต้องวนรถเพื่อให้พนักงานตรวจตู้มาตรวจตู้ซ้ำก่อนที่จะ ปล่อยรถออกไป เรื่องของการจราจรและผังการไหลของรถหัวลากติดขัดไม่ได้เป็นloop ตัว U เหตุที่ต้องไปวนรถ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ปัญหาที่พบในขั้นตอนการยกตู้เปล่าขึ้นหางลาก คนขับรถรอให้มีลูกค้ามารอคิวหลายคันก่อนจึงจะเริ่มทำงาน ก็เลยทำให้เวลารอคิวสำหรับรถคันแรกนาน และที่สำคัญก็จะมีจำนวนเครื่องจักรยกตู้ไม่เพียงพอ พอวิเคราะห์เสร็จแล้วผู้วิจัยมาหาแนวทางในการปรับปรุงในเรื่องของ พื้นที่ในการวางตู้คอนเทนเนอร์ ปรับปรุงในเรื่องของเส้นทางการจราจรของรถยกที่ต้องวิ่งวนไปวนมา ไม่ต้องไปซิกแซกเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ พอเกิดอุบัติเหตุก็จะทำให้เกิดความล้าช้าตามมา ผู้วิจัยได้ใช้พื้นที่ในกรณีศึกษาของสถานีที่จัดวางตู้ คอนเทนเนอร์ที่ลาดกระบัง เพราะในส่วนที่ทำไมต้องเป็นที่ลาดกระบัง หลายท่านจะนึกออก เพราะเป็นยุทธศาสตร์ที่เป็นข้อดีของไทย เนื่องจากว่าเป็นจุดเชื่อมโยงของขนส่งสินค้าได้ 3 ระบบ ขนส่งสินค้าทางรถบรรทุกไปท่าเรือแหลมฉบัง 95 กิโลเมตร และก็จากจุดพื้นที่ลาดกระบังห่างจากกรุงเทพ 23 กิโลเมตร ถึงแม้ว่ารถบรรทุกเหล่านั้นจะไม่ได้วิ่งผ่านกลางเมือง แต่ก็จะมีเส้นทางวงแหวนต่างๆที่วิ่งไปได้ก็จะอยู่ในรัศมี 23 กิโลเมตร ขนส่งทางรถไฟก็ขนส่งได้เส้นทางรถไฟจากสถานีลาดกระบังไปยังท่าเรือ แหลมฉบัง 118 กิโลเมตร ถ้าจะขึ้นไปการขนส่งทางอากาศไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิจากลาดกระบัง ไปแค่ 15 นาที ต่อให้มี U-turn ด้วย ก็ตาม ดังนั้นในส่วนของพื้นที่ตรงนี้ ผู้วิจัยก็ได้เข้าไปศึกษากระบวนการขั้นตอนในการบริการตู้ คอนเทนเนอร์จากช่วงระยะเวลาในเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม 2553 ผู้วิจัยเสนอใน เรื่องของการปรับปรุงกิจกรรมที่ซ้ำซ้อน ปรับปรุงเรื่องของเส้นทางของรถหัวลากและรถยก เพื่อให้มีเส้นทางเป็น loop รูปตัว U และก็ไม่ ต้องไปเจอจุดตัดเพื่อเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ในส่วนของการศึกษาตรงนี้ผู้วิจัยสามารถที่จะกำหนดเส้นทางของรถหัว ลากในการเข้า-ออกของรถตู้คอนเทนเนอร์ให้ เป็นรูปตัว U แล้วก็ลดขั้นตอนในการวนรถ เพื่อมาตรวจปล่อยของตู้คอนเทนเนอร์เปล่า จากนั้นผู้วิจัยก็ได้ออกแบบในเรื่องของการวางผังตู้คอนเทนเนอร์ ว่าออกมาเป็นโซน A, B, C, D โซนหนึ่งแบ่งเป็น 5 โซน ก็เป็นในส่วนของโซนจัดเก็บตู้สภาพดีพร้อมปล่อยให้ลูกค้า แล้วโซนต่อมาก็เป็นโซนแบบตู้ประเภทที่ต้องซ่อมอยู่ในสภาพชำรุด ซ่อมเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ให้ได้เร็วที่สุด แล้วก็มีการจัดวางผังตู้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เรียกได้ว่าใช้พื้นที่ในการบริหารจัดเก็บได้ในพื้นที่มากกว่าร้อย ละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมดเท่าที่ทำวิจัย จากนั้นก็ปรับเส้นทางการจราจรของลานตู้คอนเทนเนอร์ให้เป็นแบบตัว U ไม่ซ้อนทับกัน การจราจรคล่องตัวสะดวก โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุน้อยมากแล้วสิ่งที่ทำได้ในส่วนของระยะ เวลาที่รถหัวลากไปรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่า ก็เป็นไปตามเกณฑ์ เวลาที่ลดลงได้จาก 95 นาที ก็สามารถลดลงจนเหลือ 58 นาที นั่นคือระยะเวลาเฉลี่ย ซึ่งเป็นระยะเวลาเฉลี่ยที่ลดลงจากเดิม 1 ชั่วโมง 36 นาที ก็เหลือไม่ถึงชั่วโมง หลายท่านจะนึกออกว่ามันเกิดประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัด เสนอแนะว่าในส่วนของพนักงานที่จะต้องทำหน้าที่ในการตรวจปล่อยตู้ ควรจะต้องมีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการใกล้เคียงกัน น่าจะมีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพพนักงานตรวจและปล่อยตู้อย่าง สม่ำเสมอ เพื่อให้พนักงานเหล่านั้นเกิดความเชี่ยวชาญและมีความชำนาญในการ ให้บริการลูกค้าต่อไป  สรุปว่า งานวิจัยนี้คงเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้ส่งออก และชาวโลจิสติกส์ได้ไม่มากก็น้อย

หยก แสงตะวัน

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright