ปัญหา การส่งสินค้าไปผิดท่า
สวัสดีท่านผู้ท่านที่เคารพ วันนี้ ผมขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับ คำว่า “misdelivery” หรือ “ส่งผิดท่า” ในวงการโลจิสติกส์ คือ การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไปท่าเรือปลายทางไม่ได้ ตรงตามใบตราส่ง (Bill of Lading) หรืออาจจะกล่าวได้ว่า บริษัทเรือ หรือผู้ส่งออกส่งสินค้าไปให้ผู้นำเข้าผิดคน ผู้ส่งออกหลายท่านอาจจะไม่เคยเจอปัญหานี้ และผมว่า ไม่มีผู้ส่งออกท่านใดอยากให้เกิดปัญหานี้ ต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้ มาจากความผิดพลาดของพนักงานโรงงาน พนักงานโกดัง พนักงานที่ติดต่อจองระวางเรือ พนักงานสายการเดินเรือ พนักงานที่บรรจุตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนเครื่องหมายบนสินค้า ผมขอเล่ากรณีศึกษาให้ฟังเป็นตัวอย่างดังนี้ มีบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีชื่อแห่งหนึ่ง ได้ ส่งออกสินค้าส่วนประกอบไปให้บริษัทต่างประเทศโดยใช้บริการขนส่ง สินค้าทางทะเลแบบ LCL หรือไม่เต็ม ตู้คอนเทนเนอร์ กับบริษัทเรือ ระหว่างที่สินค้าได้ขนส่งทางรถบรรทุกไปถึงที่สถานที่บรรจุตู้ สินค้า โดยที่คนขับรถบรรทุกไม่ได้ ใส่ใจดูเครื่องหมายบนสินค้าที่ส่ง นำสินค้าที่ผิด เข้าบรรจุในตู้บรรทุกสินค้า และตัวแทนออกของ หรือชิปปิ่งที่ไม่เป็นมืออาชีพ ซึ่งโดยปกติจะเป็นคนคอยตรวจและร่วมดูแลการบรรจุสินค้าเข้าตู้ คอนเทนเนอร์ ก็ไม่ได้มาควบคุมการดูแล ตรวจเครื่องหมายหีบห่อ ว่าเข้าตู้สินค้าถูกต้องหรือไม่ ทั้ง คนที่ควบคุมการบรรจุตู้สินค้า หรือ เรียกว่า Tally ก็ไม่สังเกตุว่า เครื่องหมายสินค้าแสดงเครื่องหมายว่า เป็น ท่าเรือปลายทางเป็นประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแทนที่จะขนส่งสินค้าดังกล่าวไปประเทศญี่ปุ่น คนที่ดูแลการบรรจุตู้ และตัวแทนออกของ ก็ได้นำสินค้าดังกล่าวเข้าบรรจุ ตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งเป็นตู้รวม หรือ LCL ไปท่าเรือที่ไม่ถูกต้อง คือ ส่งไป ท่าเรือมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ (Manila,Philippine) แทน โดยที่ผู้ส่งออกไม่ รู้เรื่อง คนขับรถที่ไม่มีความรู้เรื่อง ภาษาอังกฤษ ก็ เอาแต่ลงสินค้าจากรถบรรทุกให้เร็วที่สุด โดยไม่ได้ช่วยมาแยกดูว่า สินค้าควรที่ส่งไปประเทศอะไร คนที่แยกสินค้าลงจากรถบรรทุกก็ผิด คนที่ปล่อยสินค้าที่โกดังหรือ โรงพักสินค้าของผู้ส่งออก ก็ไม่ได้ กำชับ อีกเหตุผลหนึ่งก็อาจจะเกิดจากคนที่บรรจุสินค้ารับบรรจุ สินค้าหลายเจ้า ทั้งไม่มีการถ่ายรูป สินค้า ตอนนำเข้าบรรจุ ไม่ใส่ใจในการทำงาน ไม่ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับรายการบรรจุ(tally sheet ) ทันทีขณะบรรจุ เอาแต่นำเข้า ตู้สินค้า เพื่อทำเวลา จึงเป็นเหตุให้มีการสลับ เข้าตู้ผิดได้ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2553 ณ ท่าเรือคลองเตย ต่อมา เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2553 ผู้นำเข้าที่ประเทศ ฟิลิปปินส์ได้โทรศัพท์มาแจ้งกับผู้ส่งออกว่า ไม่สามารถ clear customs หรือ ทำพิธีการผ่านขั้นตอนของศุลกากรเพื่อนำสินค้าออกจากอารักขาของ ศุลกากรได้เนื่องจาก Marks & No. (เครื่องหมายและจำนวนหีบ ห่อ)ไม่ตรงกันกับเอกสารที่ผู้ส่งออกได้ทำ ไว้ ผู้ส่งออกก็ได้ตรวจสอบกับบริษัทเรือ และบริษัทเรือก็ได้ติดต่อไป ทางตัวแทนของบริษัทเรือ หรือ เอเยนต์ปลายทางที่ท่าเรือมะนิลา ก็ยืนยันว่าผิดจริง ผู้ส่งออกก็ได้ขอรูปภาพตอนโหลดหรือตอนขนถ่ายจากรถเข้าตู้สินค้า ที่ต้นทางและรูปถ่ายสินค้าในขณะขนสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ที่ ท่า ปลายทาง พร้อมด้วย Tally sheet ใบ หลักฐานการขนถ่ายทั้งขาออกที่ต้นทางกับทาง บริษัทเรือ แต่ปรากฏว่า ไม่มีคำตอบจากบริษัท เรือ ผู้ส่งออกก็ได้มาขอคำปรึกษากับผมว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรดี? บริษัทเรือดังกล่าว ไม่มีความรับผิดชอบในการส่งสินค้าไปท่าเรือที่ผิดที่ผู้ส่งออก ต้องการหลังจากส่งไปผิดท่า แล้วผู้นำ เข้าก็โกรธมา และไม่ให้ความร่วมมือใดๆ ทั้งสิ้น เพราะผู้นำเข้าอยู่ในเขตปลอดอากร(free zone) ผู้นำเข้ายืนยันว่า ไม่ต้องการให้นำชื่อของเขามาเกี่ยวข้องของ สินค้าส่งผิดมา จึงไม่สนใจ ไม่ให้ความร่วมมือ และ ไม่อยากยุ่งเรื่องนี้ เพราะผู้นำเข้าอาจจะเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษีในอนาคต ปัญหาก็เลยแก้ไม่ได้ ทางออก คือ ผมได้ ติดต่อและปรึกษาหารือกับ เอเยนต์ของผม ซึ่งเป็น บริษัทรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ หรือ freight forwarder ผมได้ แนะนำ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรของประเทศฟิลิปปินส์ จ่ายค่าปรับ และใช้ความสัมพันธ์ระดับพิเศษ เพื่อขอร้องให้เจ้าหน้าที่ช่วย เปลี่ยนชื่อผู้นำเข้าเดิม เป็น บริษัทเทรดดิ้ง(trading firm)ซึ่งเป็น บริษัทนำเข้าทั่วไป ซึ่งไม่ได้รับ สิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้บริษัทเทรดิ้งดังกล่าวด้วย หลังจากนั้นก็ผ่านพิธีการศุลกากรทั้งนำเข้าและส่งออก(re-export) ไปประเทศญี่ปุ่น ทางอากาศ ทำให้ปัญหานี้ได้ แก้ไขไปด้วยดี และ ทำให้ โรงงานผลิตที่ประเทศญี่ปุ่นสามารถทำการผลิตโดยที่ไม่ต้องปิดโรง งาน ประจวบเหมาะกับ ความโชคดีที่ยังไม่ได้มีการนำสินค้าออกจากอารักขาของกรมศุลกากร ท่าเรือมะนิลาก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะ เราพ้นความผิดในข้อหาลักลอก กรณีศึกษาข้างต้น บริษัทเรือได้ทิ้งปัญหาให้ผู้ส่งออก เป็นเวลา 1 เดือน แต่ผู้ส่งออกได้ขอความช่วยเหลือจากผม และผมสามารถแก้ปัญหาให้เขาได้ แค่ 2 วัน โรงงานผลิตที่ประเทศญี่ปุ่นเกือบจะปิดการผลิต ซึ่งถ้าปิดหยุด มิฉะนั้นผู้นำเข้าที่ ประเทศญี่ปุ่น อาจจะฟ้องร้องผู้ส่งออกประเทศไทย เป็นจำนวน ล้านกว่าบาท และความล่าช้านี้มันก่อให้เกิดค่าภาระ และค่าเช่าพื้นที่เก็บสินค้าที่ท่าเรือมะนิลา เพิ่มขึ้น ทุกวัน ถ้าไม่เจอผมอะไรจะเกิดขึ้น ท่านทราบหรือเปล่า การท่าเรือมะนิลาก็ อาจจะยึดสินค้าขายทอดตลาดเพื่อมาชำระภาษีที่รัฐขาด หลักนำเข้าแล้ว เลยเวลา 90 วัน แล้วไม่มีทำพิธีการนำเข้า หรือเรียกว่า สินค้าตกค้าง
เมื่อตอนที่ผมเริ่มทำงานใหม่ ผม จำได้ว่ามีพนักงานคนหนึ่งภาษาอังกฤษไม่เก่ง ฟังไม่ดี และไม่มีความแม่นในเรื่องท่าเรือ ได้รับ booking หรือ รับจองระวางเรือ จากลูกค้าผู้ส่งออก โดยที่ลูกค้าพูดว่า ขอจองระวางเรือไป Auckland ซึ่งท่าเรือดังกล่าวอยู่ที่ประเทศนิวซีแลนด์ แต่ พนักงานท่านนั้นเขียนบันทึกลงในใบงานจองเรือ(JOB SHEET) เป็นท่าเรือ Oakland ที่อยู่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้นำเข้าบรรจุตู้รวม LCL ทันที ไม่ขอใบจองระวางเรือ หรือ ขอ เอกสารยืนยัน สมัยนั้นยังไม่มี e-mail ครับ ลูกค้าบางคนก็ไม่มี เครื่องโทรสาร
พอมาพิมพ์ใบตราส่ง ก็ค้นพบว่า ส่งไปผิดท่า ตามจริงถ้าเราไม่แน่ใจเราควรถามให้ชัดอีกที ทำ ให้บริษัท เรา ต้องจัดการส่งสินค้าจากประเทศ สหรัฐอเมริกาไปยังประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่ง สินค้าแค่ 1 ลูกบาศก์เมตร ทางบริษัทผมต้องเสียค่าใช้ จ่าย มากกว่า 5 หมื่นบาท ยังมีกรณีศึกษาอีกหนึ่งคือ ท่าเรือในประเทศจีนของให้ระวังเรื่องการสะกดภาษาอังกฤษ เพราะภาษาจีนมีภาษาท้องถิ่นหลายภาษา มีจีนกวางตุ้ง จีนแต้จิ๋ว จีนไหลลำ จีนแคะ จีนกลาง เวลาที่ผู้ส่งออกไม่ทราบว่า เขาออกเสียงหรือสะกดผิดหรือเปล่า แล้วมาเขียนแบบผิดในภาษาอังกฤษ ได้ วิธีแก้คือ ให้ นำตัวอักษรจีนไปเทียบกับจีนกลาง กับภาษาอังกฤษตามระบบภาษาจีนกลาง บริษัทเรือจะยึดภาษาจีนกลางหรือภาษาท้องถิ่นของกรุง ปักกิ่งเป็นหลัก ถ้าไม่ใส่ใจ เขียนตามภาษาท้องถิ่นอื่นๆ ท่านอาจจะส่งสินค้าไปผิดท่าเรือปลายได้ ขอให้ระวังให้ดี ในการส่งสินค้าไปผิดท่า อาจจะไม่คุ้มที่จะส่งสินค้ากลับได้ ถ้าบริษัทที่มีความรับผิดชอบควรจะส่งสินค้าให้ไปท่าเรือ ปลายทางที่ ถูกต้อง ถึงแม้ว่า จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เป็นการแสดงว่า บริษัทนั้นเป็นบริษัทที่ดี ผู้ส่งออก ควรจะเลือกบริษัทเรือที่ดี ก็ต้องดูตอนที่เกิดปัญหา เหมือน เมื่อตอนที่เราแต่งงานกับแฟนใหม่ เวลาเราตกงาน แล้วเราก็จะรู้ว่า แฟนเราจะทิ้งเราหรือเปล่า ธาตุแท้ของคน ก็จะเกิดให้เห็นออกมา ถ้ารักจริงต้องช่วยกัน แก้ ปัญหา ไม่ใช่หนีปัญหา คนเราจะเก่งไม่เก่งต้องดูตอนมีปัญหา
แต่ก็มีเรื่องตลกเกี่ยวกับการส่งไปผิดท่าเรือ คือ มีโรงงานผู้ส่งออกสินค้าประเภทเครื่อง กีฬา เอเยนต์ที่ประเทศสิงคโปร์ของผมได้ส่ง ของสลับ หรือในวงการเรือเรียกว่า “cross-shipment” ตามข้อเท็จจริงลูกฟุตบอล จะส่งให้ผู้นำเข้าประเทศ ญี่ปุ่น แต่กลับส่งผิดไปที่ประเทศ คูเวต ส่วนสินค้าที่เป็นลูกวอลเลย์บอลถูกส่งไป ประเทศญี่ปุ่น ปราก ฎว่า ผู้นำเข้าที่ประเทศทั้งสองตอนแรกก็โวยวาย แต่ ต่อมาผ่านไป 2 วัน ผู้นำเข้าทั้งสองกลับไม่ยอมคืน สินค้า หลังจากเปิดสินค้าดู ผู้นำเข้าทั้งสอง ประเทศ ได้ นำสินค้าไปใช้ แล้วพอใจในคุณภาพสินค้า ที่ส่งผิด ทำให้เกิดคำสั่งซื้อเพิ่มกับผู้ส่งออก ปรากฎว่า ทั้ง ประเทศญี่ปุ่นและประเทศ คูเวต สั่งสินค้าเพิ่ม เป็น สั่งซื้อทั้ง ลูกวอลเลย์บอลและลูกฟุตบอล เพิ่มอีก จากเรื่องร้ายกลายเป็นดี มันแปลกดีนะ งานนี้ผมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้ากลับ แถมได้คำชมจากลูกค้าผู้ส่งออกที่ช่วยหาคำสั่งซื้อเพิ่ม อันว่ากันไม่ได้ เก่งดูเฮงไม่ได้ หรือ เป็นเพราะผมทำบุญมาเยอะ ....ฮา..ฮ่า มันไม่ใช่โชคดีอย่างนี้ตลอดนะครับ
สุดท้ายคิดว่า แนวทางที่ผมเสนอนั้น บริษัทเรือทั่วไปไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะความไม่รู้เรื่องเทคนิคในกฎระเบียบและพิธีการศุลกากร ไม่รู้เรื่องระบบขนส่งโลจิสติกส์ ไม่ มีความสัมพันธ์มิตรที่ดีกับเจ้าหน้าที่ข้าราชการ ไม่มีเครือข่ายเพื่อนฝูงที่ดี และความมี สติของผู้ประกอบการเป็นต้น ซึ่งผมขอแนะนำ ให้ผู้ส่งออกควรรู้ไว้ ซึ่งต้องประยุกต์นำมาใช้ แล้วท่านจะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่องอย่างง่ายได้ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งจะประหยัด ความเสียหายก็จะน้อยลง จากหนักเป็นเบา ผู้ส่งออกบางคนบอกว่า ผมส่งสินค้าออกอย่างเดียว ผมไม่มีความจำเป็นต้องรู้เรื่องนำเข้า ขอบอกว่า ท่านคิดผิด ให้ไปคิดเสียใหม่ หวัง ว่าท่านคงได้รับความรู้เรื่องนี้ไม่มากก็น้อย
หยก แสงตะวัน