สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

สวัสดี ท่านผู้อ่านที่เคารพ

ผมได้มีโอกาสไปฟังการ บรรยายของ ท่านนายกสมาคมชิปปิ้ง คุณ ยรรยง ตั้งจิตต์กุล ในงานแสดงไทยแลนด์โลจิสติกส์ ที่ไบเทค บางนา  ผมขอนำบาง ส่วนที่ท่านได้บรรยายเกี่ยวกับ ชิปปิ้งได้ลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้อย่างไร  โดยมีประเด็นสำคัญน่าสนใจหลายอย่างที่อยากจะเผยแพร่แก่ท่าน ผู้อ่าน ดังนี้

โลจิสติกส์  (Logistics)  คือ

1.กระบวนการทั้งเป็นทาง ศาสตร์  และศิลป  เพราะ มันเป็นวิชาการทางด้านความรู้ มีหลักสูตรเกี่ยวกับวิชาที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์มากมาย ที่แตกออกไป   และคนที่จะทำงานในส่วนนี้จะมีศิลปะในการเจรจาต่อรอง มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  เพราะทุกอย่างในขั้น ก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ใช้บริการ

2. ในการวางแผน บริหาร และควบคุม ผู้ที่จะให้ บริการทางด้านโลจิสติกส์ ต้องมีการวางแผนในการทำงาน

ว่าจะจัดลำดับความสำคัญ ก่อนหลัง  และงานอันไหนมี ความเร่งด่วน ก่อน  มีการ จัดสันทรัพยากรบุคคลอย่าง

มีประสิทธิภาพ  มีทั้งพระเดชพระคุณในการดูแลบุคคล  เพราะพนักงานในสายงานนี้มีความสำคัญมากกว่า

อุปกรณ์ รถบรรทุก  และ เครื่องมือต่างๆ   ต้องจัดการไหลของงานให้เป็น ไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

มีการควบคุมค่าใช้ จ่ายอย่างมีประหยัด  และ ป้องกันการรั่วไหลหรือทุจริตต่างๆ จากทั้งบุคคลภายในและภายนอก

 

3. เพื่อให้การส่งมอบสินค้าและบริการ เป็นตามตารางนัดหมายและตามข้อตกลงกับลูกค้า หรือผู้ใช้บริการ

การส่งมอบก็ ต้องครบและไม่เสียหายเมื่อถึงมือลูกค้า    ผู้ให้บริการก็ต้องมีการ แสดงน้ำใจ น้ำเสียงที่สุภาพ

อ่อนโยน  มีการยกมือไหว้ ยิ้มแย้ม  ทักท้ายอย่างสุภาพเรียบร้อยตามวัฒนธรรมอันดีงานแบบฉบับไทย แท้

 

4.ไปถึงสถาน ที่ที่ลูกค้าต้องการ   ไม่ว่าสถานที่ส่งจะเป็นที่ ทุรัศกันดาร หรือที่อันตราย หรือที่ที่แออัดในที่ชุมชนต่างๆ

 

5. อย่างมีประสิทธิภาพ (ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา ต้นทุนต่ำ) หากเกิดความผิดพลาดในการส่งสินค้า ก็ต้องรับ

ผิดชอบในความล่าช้า จึงมีการส่งที่ถูกต้องตามตารางเวลาที่ผู้ใช้บริการต้องการ เช่น ถ้าต้องการความรวดเร็ว

ก็จะส่งทางอากาศ  ถ้าต้องการต้นทุนที่ต่ำ ก็จะส่งทางทะเล  ถ้าต้องการให้ส่งที่หน้าประตูบ้านก็จะส่งทางถนน หรือ

ทางรถบรรทุกเป็นต้น

 

ผมขอสรุปว่า อะไรที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับขบวนการผลิต คือ โลจิสติกส์

ต้นทุนของสินค้ามีส่วน ประกอบของมูลค่าวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์  50% ค่าการผลิต 10% ค่าการตลาด

10% ค่าการจัดการ ธุรการ การเงิน บุคคล 10 % กำไร 10%  และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โลจิสติกส์ 10%

 

เราเจาะลึกในส่วนของค่า ใช้จ่ายในการดำเนินการ โลจิสติกส์ หรือต้นทุน โลจิสติกส์  (logistics cost) ก่อน  เราพอจะแยกแยะออกมาได้ ดังต่อไปนี้

1.       ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และการกระจายสินค้า 5.5%

2.       ค่าเก็บรักษา ในคลังสินค้า  2.5%

3.       สำรองสินค้า คงคลัง 2.0 %

4.       ค่าใช้จ่าย บริการลูกค้า 0.8 %

5.       ค่าใช้จ่าย บริหาร 0.9 %

รวมทั้งหมด เป็น  11.7%

 

 

เราจะลดต้นทุนในสินค้าที่นำเข้าอย่างไร  เราจะต้องศึกษาเกี่ยวกับต้น ทุนโลจิสติกส์ และ เราจะต้องคิดค่าใช้จ่ายทั้งหมดของสินค้าว่า นำเข้าจากต่างประเทศ กับการซื้อจากผู้ผลิตในประเทศว่าอย่างไรถูกกว่า กัน   เราต้องพิจารณาว่าจะนำเข้ามาทาง อากาศ , ทะเล,  ทางรถยนต์, ทางรถไฟ และไปรษณีย์ หรือ พัสดุด่วน ถึงจะทันเวลาในการขายและเปิดตลาด โดยจะต้องคำนึงถึงต้นทุนของสินค้าด้วย ณ วันนั้นที่นำเข้า หรือส่งออก ตามสถานการณ์

 

สินค้าที่นำเข้าจะถูกจัดระบบเป็นรหัสโดย กรมศุลกากรโลก  สินค้าที่ ชาวโลจิสติกส์ จะต้องศึกษาและมักจะไม่รับขนส่งคือสินค้าอันตราย

สิ่ง ที่เราจะต้องพิจารณาอีกอย่างคือ ท่า หรือด่านที่เราจะนำเข้าและส่งออกสินค้า  ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ท่าเรือแหลมฉบับ   รองมาคือ ท่าเรือกรุงเทพ คลองเตย  ท่าเรือเอกชน อื่นๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ  ส่วน ท่าเรือภูมิภาค เช่น  ท่า เรือสงขลา  ท่าเรือเชียงแสนและ ท่าเรือระนอง    ถ้ากล่าวถึงสนามบิน สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสนามสากลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ  ส่วนภูมิภาค คือ สนามบินเชียงใหม่  หาดใหญ่และภูเก็ต   ส่วนด่านที่สำคัญ  คือ ลาดกระบัง  ปาดังเบซาร์ สะเดา แม่สาย แม่สอด หนองคาย  ไปรษณีย์รองเมือง และหลักสี่ เป็นต้น

 

 

หน้าที่ ของผู้ประกอบการนำเข้า-ส่ง ออก

ผู้นำ เข้าและส่งออกจะต้องแจ้งศุลกากรโดยการสำแดงในใบขนสินค้า (ขาเข้า/ขาออกยื่นต่อ กรม ศุลกากร และ ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ ประกาศ ของกรมศุลกากร และ หน่วยงานที่ควบคุมการนำเข้า ส่งออก อื่นๆ แล้ว มาชำระภาษี ให้ถูกต้องและครบถ้วนก่อนรับของไปจากอารักขาของศุลกากร

 

ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะใช้บริการ กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์(Logistics Service Provider) ซึ่งมีดังต่อไปนี้

 

 

1)ชิปปิ้ง (บริการพิธีการศุลกากร )

2)Freight Forwarder(บริการ จัดหาระวาง )

3)รถบรรทุก ขนส่ง(บริการ จัดส่ง )

4)บรรจุหีบ ห่อ(บริการ บรรจุภัณฑ์ )

5)คลัง สินค้า(บริการ ฝากเก็บ )

6)แรงงาน(บริการขน ทั้งเครื่องถือยกย้าย

 

ในที่นี้ผมขอนำเสนอในส่วนของชิปปิ้ง บทบาทของชิปปิ้งเป็นตัวแทนของเจ้าของสินค้าจัดทำใบขนสินค้า จำแนกประเภท พิกัด อัตราภาษี ผ่านพิธีการศุลกากร และหน่วยงาน อื่นๆชำระภาษีค่าธรรมเนียม และค่าล่วง เวลาตรวจปล่อยที่ท่า สนามบิน หรือด่านที่ นำเข้าจัดหารถบรรทุกส่งมอบสินค้าถึงมือ

 

ทำไมเจ้าของสินค้าส่วนใหญ่ จึงมัก ใช้บริการของ ชิป ปิ้ง มากกว่า ทำเอง ?

เจ้า ของสินค้าใช้บริการของ ชิป ปิ้ง เพราะ

 รวดเร็ว และชิปปิ้งสามารถไปออกของให้ได้ทุกท่ า คล่องตัว บริการวิ่งรับ ชำนาญพิธีการศุลกากร ทุกด่าน ส่งเอกสารถึงที่ ทำให้ ลดค่าเช่าโกดัง ค่าเสียเวลาตู้ ได้  และของออกสู่ ตลาดได้ก่อน ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง

 

ไม่ เสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย รู้กฎหมาย ระเบี ยบการนำเข้าส่งออก รวมถึงข้อห้ามข้อกำกัด ต่างๆ ชำนาญในการจำแนกประเภทพิกัด อัตราอากร ทำให้ เสีย ภาษีถูกต้อง ศุลกากร ซึ่งมีบทลงโทษรุนแรง  และลดความเสี่ยงของการถูกปรับ หรือชำระภาษีเพิ่มภายหลัง

 

ควบคุม ต้นทุนในการออกของได้ง่าย ไม่บานปลาย เพราะ มีการเสนอราคาก่อนที่จะมอบหมายงานให้ไปทำ  ชิปปิ้งสามารถเลือกใช้บริการ ได้ตามความพอใจและความถนัด ของ ชิปปิ้งแต่ละคน  ตัดปัญหา เรื่องการออกใบเสร็จรับเงินค่าใช้ จ่ายออกของให้ สามารถเอาไป ลงบัญชีได้

 

รับภาระ นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายของค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการออกของแทนลูกค้า ชิปปิ้งยังช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ขณะออกของ เช่น ในกรณี เอกสารไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน สินค้าไม่ตรงกับเอกสาร ของส่งขาด หรือส่งเกิน  ฯลฯ ชิปปิ้งยังทุนช่วยลดต้นทุนการกระจายสินค้า ด้วยการคัดแยกสินค้าส่ง หลายที่ได

 

ช่วยแบ่ง ภาระในการเก็บรักษาสำเนาใบขนและเอกสาร(ย้อนหลัง ไป 5 ปี  ที่สำคัญให้สะดวก

เพราะมี บริการต่อเนื่องครบวงจร (one stop service) เช่น จองระวาง เรือ /เครื่อง บิน จัดหาคน งาน รถบรรทุก เครื่อง มือหนัก ประกัน ภัย บรรจุ หีบห่อ ฯลฯ  ชิปปิ้งเป็นทั้งเพื่อน และผู้ให้นำปรึกษาแนะนำอัตรา ภาษี

พิธีการ ศุลกากร สิทธิประโยชน์ วิธีการ ขนส่  ไม่เฉพาะแต่งานทางกรมศุลกากรยังช่วยทางด้านการขนส่ง ปัญหาการจัดทำเอกสารกับทางธนาคารและทางประกันภัยเวลาที่มีปัญหา เรื่องสินค้าเสียหาย

 

ปัจจัย ที่มีผลต่อ ต้นทุนโล จิ สติคส์ ในการนำเข้า

 1. วิธีการขนส่ง เรือ รถไฟ รถยนต์ เครื่องบิน พั สดุเร่งด่วน หรือไปรษณีย์

2. ราคาน้ำมัน มีผลต่อค่าระวางขนส่ง และการกระจายสินค้า

3. ความตกลงทางการค้า ลด ยกเว้นอากร มาตรการกีดกัน มีผลต่อต้นทุนภาษีนำเข้า

 

4.กฎระเบียบ ขั้นตอนพิธีการนำเข้ามีผลต่อความ รวดเร็วและค่าใช้จ่ายในการออกของ

5.มาตรการรักษาความปลอดภัย(เช่น ป้องกันภัยก่อการร้าย )ความเข้มงวดในการตรวจสอบมีผลต่อระยะเวลาใน การส่งของ

6.อัตราดอกเบี้ย มีผลต่อต้นทุนในการเก็บสินค้าคงคลัง((Inventory Carrying Cost)

7.ปริมาณสินค้าคงคลังมีผลต่อพื้นที่เก็บและ ค่าเก็บรักษาในคลังสินค้า ( Warehousing

 

เทคนิค ในการลด ต้นทุนโล จิ สติคส์ กรณีนำเข้า

1. เปรียบเทียบต้นทุนรวมของการนำเข้าทุกตัว เช่น ค่า Freight ค่าภาษี ค่าออกของ ค่าสำรองสินค้าคงคลัง ฯลฯ เทียบกับการ ซื้อในประเทศ ไม่แน่ว่า ของนอกจะถูกกว่าของในประเทศ เสมอไป

 2. เลือกสั่งซื้อจาก ประเทศที่มีความตกลงเขตการค้าเสรีกับ ประเทศไทย เช่น FTA,AFTA เพื่อลดภาระภาษีขาเข้า

3. ยอมจ่ายค่าระวางขนส่ง Freight  บาง ครั้งผู้นำเข้าและส่งออก ควรจะค่า Freightที่แพงกว่า เพื่อแลกกับ ระยะเวลาการ เดินทาง (Transit Time) ที่แน่นอน เพราะความไม่แน่นอนจะ ไปเพิ่มต้นทุนตัวอื่นๆอีกหลายตัว

 

4.สั่งซื้อ จำนวนมากพอในแต่ละครั้ง เพื่อ ลดความถี่ของการนำเข้า  เพราะถ้าเรานำเข้ามากครั้งต้นทุนใน โลจิสติกส์ก็มากขึ้น  เพราะ มันมีค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ เป็น ค่าใช้จ่าขั้นต่ำ  หรือ  minimum charge

5.หากสั่ง ซื้อLCL Lจาก หลายๆ จาSupplier ใน ประเทศเดียวกัน ชิปปิ้งจะ แนะนำในการทำ consolidate ให้ เป็น FCL เพื่อ ได้ค่า Freight แบบ FCL ซึ่งจะลด ต้นทุนโลจิสติกส์ได้มาก

6.ให้ผู้ ขายส่งแบบExpress หรือ แบบส่งด่วน  เฉพาะกรณีที่ จำเป็นเท่านั้น การ ส่งแบบ Express เป็น การเพิ่มต้นทุนโดยไม่รู้ตัว (ผู้ขายบวกไว้ในราคาของแล้ว )

7. ขอแนะนำให้ ผู้นำเข้าและส่งออกใช้บริการชิ ป ปิ้งของท่านให้เป็นประโยชน์

วิชัย จงธนพิพัฒน์

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright