ผจญภัยยุโรปตอนที่ ๓
เมื่อตอนที่แล้ว ผมว่า ท่านผู้อ่านคงจะสนุกไม่น้อย ตอนนี้ ผมได้เรียนรู้ว่า ทำไมคนสิงค์โปรถึงได้ประสบผลสำเร็จในด้านธุรกิจ คือ เขาเป็นที่กล้าที่เดินทาง และทำงานที่ต่างประเทศ คนสิงค์โปร และคนอิสราเอลประมาณ 80% จะมีความคิดที่ออกนอกประเทศตอนหนุ่มสาว ถือว่าการเดินทาง หรือไปทำงานต่างประเทศเป็นการลงทุนในอนาคต และกำไรชีวิต เพื่อนผมได้แนะนำตัวแทนสายเรือซึ่งเป็นคนสิงค์โปร และมีภรรยาเป็นไต้หวัน ซึ่งทำงานในระดับผู้บริหารระดับสูงในสายเดินเรือของประเทศไต้หวัน อันนี้เป็นการแสดงว่า คนสิงค์โปรเป็นคนที่มีคุณภาพ และมีความขยัน กล้าไม่เกี่ยงที่จะทำงานหนักในต่างประเทศ ตัวแทนสายเรือคนนี้ ทำงานที่ประเทศเยอร์มันผมโชคดีที่เขาเป็นไกด์จำเป็นให้ผม และเพื่อน การติดต่อค้าขายกับคนเยอร์มันนั้น เขาจะไม่รับคอมมิชั่น เขาชอบที่จะให้เลี้ยงอาหารรับรองลูกค้าที่ร้านอาหารที่หรูหรา อาหารดีๆ แล้วคุยไป กินไปครึ่งวัน อย่าไปรบกวนเขาหลังเลิกงาน และวันหยุดเด็ดขาด เบอร์โทรศัพท์มือถือจะให้เฉพาะคุยเรื่องส่วนตัว จะไม่คอยให้เบอร์โทรศัพท์กับคนแปลกหน้า เขาได้พาผมเดินซื้อของในประเทศเยอร์มัน ตอนที่เดินไปในแหล่ง ชอปปิ้ง ไปเจอกับตำรวจปราบจารจล เดินเรียงคิวเป็นแถวยาว มีทั้งตำรวจหญิง และชายเดินสวนทางมา ตอนเดินกลับที่โรงแรมดูแล้วน่าเกรงขาม มีรถหุ้มเกราะมีรถดับเพลิงด้วย สถานที่ชุมนุมก็อยู่ลานหน้าโบสถ์แห่งหนึ่ง เข้าใจว่า ประท้วงเรื่องเกี่ยวกับปัญหาค่าเงินยูโรป และผมได้เจอกับขอทานถึง 2 คน แสดงว่า ปัญหาเรื่องนี้ทำให้คนต้องตกงานไม่น้อย ก็ขอให้ผู้ส่งออกต้องระวังเรื่องการเงินกับผู้นำเข้าในประเทศแถบยุโรป ผมต้องเรียนให้ทราบว่า ค่าครองชีพที่ประเทศในแถบยุโรปนี้สูงมาก อาหารที่เขารับประทานเป็นประจำคือ แซนด์วิชไม่มีอาหารหลากหลายอย่างบ้านเรา เพื่อนผมก็ได้ซื้อกระเป๋ามีแบรนด์เนมในประเทศเยอร์มัน แต่ตอนที่เราออกจากประเทศเยอร์มัน เที่ยวบินของเราตอนหกโมงเช้า ปรากฎว่า เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร และเจ้าหน้าที่ทำคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม เวลาทำงานตั้งแต่ ๘ โมงเช้าถึง ๕โมงเย็น ทำให้เพื่อนผมไม่สามารถคืนเงินภาษีประมาณ๑๒% เขาหน้าซีด ก็ขอฝากให้ท่านผู้ส่งออกที่ซื้อสินค้าราคาแพง และถือหิ้ว และหวังว่าจะได้เงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ต้องหาเที่ยวบินที่ออกจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปตอนสายหน่อย อย่าไปสนามบินแต่เช้าตรู่ หรือตอนดึก เพราะท่านจะไม่มีโอกาสเรียกเงินภาษีมูลค่าเพิ่มคืน แต่โชคดี เราออกจากประเทศเบลเยี่ยม ตอน ๙โมงเช้า ก็เลยได้เงินคืน ลืมบอกไปว่า ตอนที่พวกเราผ่านประตูเข้าประเทศเบลเยี่ยมเจ้าหน้าที่ศุลกากรมายืนขวางทาง แล้วบอกว่า ผมมาจากประเทศในแถบเอเชีย กระเป๋าแบรนด์เนมนี้ไปซื้อจากไหน เพราะเขาคิดว่าเพื่อนผมเอาของปลอมเข้าประเทศ จะจับ และปรับเพื่อน แต่เรามีใบเสร็จแสดงเขา อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ผมขอยืนยันว่า เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเอาจริงเรื่องเกี่ยวกับสินค้าลอกเรียนแบบสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ ผมก็ฝากเตือนผู้ส่งออกที่จะขายสินค้าไม่มีลิขสิทธิ์ ท่านอาจเสียหาย และเสียชื่อเสียง อย่าหวังแค่เงินที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าเรามีฝีมือผมขอให้ท่านสร้างแบรนด์เครื่องหมายการค้าของตัวเอง สิ่งหนึ่งที่ทุกชนชาติชมคือ อาหารไทยที่มีคุณภาพ และอร่อย ผู้ส่งออกหลายบริษัทก็สร้างชื่อเสียง จะให้ต่อยอดก็ต้องมีการสมัครเข้ามาตรฐาน HACCP เป็นมาตรฐานการผลิต ที่มีมาตรการป้องกันอันตรายที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร ผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกอย่างไร ผมขอรับรองว่า คำสั่งซื้อก็จะเพิ่มขึ้นแน่นอน สนใจก็ติดต่อกรมวิทยาศาสตร์บริการ สิ่งหนึ่งผมได้ไปเยี่ยมท่าเรือแฮมเบอรก์ (Hamburg port) ประเทศเยอร์มัน ได้รับทราบว่า เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อเรือเข้าท่า ก็จะลำเลียงต่อไปโดย 30% ต่อเรือ feeder, 30% ต่อรถ และ 40% ต่อรถไฟ ซึ่งการ transship เปลี่ยนพาหนะจากทางเรือมาเป็นรถไฟนั้น สามารถทำการขนตู้สินค้าได้ถึง 60 – 70 ตู้ ต่อรถไฟหนี่งขบวน ว่ากันว่ายาวที่สุดในโลกก็ว่าได้ สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน คนในประเทศเยอร์มันจะนิยมขนส่งทางรถบรรทุก หรือหัวลากตู้คอนเทนเนอร์ ส่วนทางรถไฟจะส่งต่อไปประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออกรวมถึงประเทศรัสเซียด้วย ปัจจุบัน กรมศุลกากรของประเทศเยอร์มันยังไม่ยอมรับ Free trade zone ยังมีการตรวจสินค้าอยู่
แฮมเบอรก์มี 3 ท่าเรือคือ
(1.) ท่าเรือเก่า ปัจจุบันไม่เปิดให้บริการ เป็นที่จอดเรือที่ไม่ได้ใช้ จะมีพิพิธภัณฑ์สถาน
(2.) ท่าเรือ HALL ใหญ่รองจากท่าเรือที่รอตเทอร์ดามเป็นท่าที่ใช้กังหันลมขนาดใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
(3.) ท่าเรือ CIA (Container Terminal Altenwerder) เป็นท่าเรือที่ควบคุมโดยอิเล็คทรอนิคทั้งหมด มีการใช้เครื่องสแกน และ E gate จะไม่มีการใช้แรงงานคน
บริษัทจองตั๋วเครื่องบินที่ประเทศสิงค์โปรให้บริการที่ดีมากๆ คือ เวลาจองตั๋วเครื่องบิน จะทำใบ boarding pass และจองที่นั่งข้างทางเดิน อันนี้ต้องเป็นกรณีที่ท่านผู้ส่งออกถือกระเป๋าเดินทาง ไม่เช็คอินเข้าไปสายพาน ในกรณีที่ตารางเครื่องบินเปลี่ยนแปลงเขาจะส่ง SMS ข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ อันนี้จะช่วยให้ผู้ส่งออกไม่พลาดเที่ยวบิน ผมเกือบลืมไปว่า ตอนที่ต่อเครื่องบินที่สนามบินโคเปนเฮเกนที่จะต่อไปสนามบินอาร์ฮูส ประเทศเดนมาร์ก มาเกือบตกเครื่องบิน เพราะผมได้ติดต่อที่เคาน์เตอร์ต่อเครื่องบิน Transit Count ด้วยความเคยชิน และต้องรอคิวเป็นเวลาเกือบครึ่งชั่วโมง ปรากฎว่า เจ้าหน้าที่สายการบินไม่ยอมให้ผม และเพื่อนขึ้นเครื่องบินทั้งที่ตรงเวลาพอดี บอกว่าพวกผมต้องมาก่อน อย่างน้อย ๑๕ นาที
พวกผมก็บอกว่าพวกผมไปเสียเวลาที่ Transit Count ไม่ได้ทำให้ล่าช้า เธอบอกว่า ที่จริงที่สนามบินที่เดนมาร์กไม่จำเป็นต้องไป Transit Count ท่านผู้ส่งออกสามารถมาที่ gate หรือประตูขึ้นเครื่องบินได้เลย อันนี้ก็เป็นบทเรียนให้ทราบว่า คนฝรั่งนี้เขาเอาจริงเอาจังเรื่องตรงแต่เวลาเป็นอย่างมาก
หยก แสงตะวัน