การควบรวมตลาดการเงินในอาเซียน กับการส่งออก ไทย
ณ โรงแรม Conrad วันที่ 7 ธันวาคม 2554 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังในงานสัมมนาของ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (ITMX) ในหัวข้อ "Financial Market Integration: The World of opportunity, is Thailand ready?" ซึ่งพูดคุยกันในเนื้อหาถึงความพร้อมของประเทศไทยต่อโอกาส และความท้าทายหากมีการควบรวมทางตลาดการเงินเกิดขึ้น โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand, BOT) เป็นแม่งานในการจัดครั้งนี้
บุคคลที่สำคัญที่เข้าร่วมในการปาฐกถาพิเศษในครั้งนี้ประกอบด้วย บุคคลระดับประเทศมากมายที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการเศรษฐกิจ และการเงิน อาทิเช่น ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน), ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล (ท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย), นายจรัมพร โชติกเสถียร (กรรมการ และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย), ดร.ฉิม ตันติยาสวัสดิกุล (ผู้ช่วยผู้ว่าการสายระบบข้อสนเทศ ธปท.), นายธีระ อภัยวงศ์ (ปธ.บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จำกัด ITMX) เป็นต้น
ตั้งแต่ช่วงเช้าดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้ออกมาพูดถึงภาพรวมของประเทศในกลุ่มอาเซียนในปัจจุบันว่ามีความตื่นตัวกับ การเปิดการค้าเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ปี พ.ศ. 2558 เนื้อหาเพื่อกระตุ้นให้ตื่นตัวกับคนไทย แน่นอนในแง่ของภาคการส่งออกคงจะได้ผลประโยชน์การภาษีศุลกากรในสินค้าหลายๆ ประเภทที่ลดลงถึง 0% ส่งไปมาระหว่างประเทศในกลุ่ม AEC ได้อย่างเสรีครับ!!
ภาคการผลิตนั้น ต้นทุนด้านปัจจัยการผลิตลดลงอย่างแน่นอน ความหลากหลายในปัจจัยการผลิตจะขยายฐานกว้างขึ้นไม่ไปกระจุกกับประเทศใด ประเทศหนึ่งมากเกินไป ภาคแรงงานในปัจจุบันนั้นยังคงจำกัดอยู่ในส่วนของแรงงานที่มีความชำนาญเฉพาะ ทางเท่านั้นที่จะมีการปล่อยให้เสรี
ท่านผู้ว่าฯ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่ขับเคลื่อนผลักดันเรื่องนี้ให้กลับมาดูมีความสำคัญอีก ครั้ง อย่างน้อยก็กลับมากระตุ้น หรือเรียกว่า "ปลุก" คำว่า "AEC" ให้เข้ามาอยู่ในแวดวงสื่อให้มากขึ้น หลายๆ ครั้ง "วลีนิยม" หรือ "Wording" ทางเศรษฐกิจในสื่อสารมวลชนนั้นมีความสำคัญทีเดียว ที่ช่วยให้สังคมตื่นตัวได้ง่ายขึ้น ท่านดร.ประสาร แม้ในงานนี้จะพูดในภาพกว้างๆ ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานการตลาดการเงิน กับการแข่งขันต่อกลุ่ม AEC ในปี 2558 และอาจจะไม่ได้เน้นไปในด้านการส่งออกมากนัก แต่มันก็เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะผลดีจะให้ได้ชัดจากเรื่องการกีดการค้าด้านภาษีที่เป็นหัวใจต่อภาคการ ส่งออก
ตลาดทุนเป็นอีกตลาดที่ปัจจุบันมีความร่วมมือกันทั้ง 7 แห่งจากประเทศต่างๆ ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนามได้ร่วมกันสร้างการเติบโตในตลาดทุนของ ASEAN Exchange ประกอบด้วย 3,613 บริษัท และมีทุนจดทะเบียนกว่า 2 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นในตลาดร่วมนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุน ASEAN Exchange ได้มีการวางกรอบโครงสร้างพื้นฐานในการประมวลการชำระดุลจากการซื้อขายหลัก ทรัพย์ระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนขึ้น (Post trade processing Infrastructure) เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งระบบการซื้อการหลักทรัพย์ในประเทศไทยนั้น มีปัญหาสำคัญหลักๆ หากมีการควบรวมกันทางการเงินนั่นคือ ความเร็วของระบบของทางการเงินของไทยนั่นยังช้ากว่าประเทศในกลุ่มเอเชียถึง 500 เท่า หากเป็นเช่นนั้นแล้วปัญหาความไม่เสถียรของระบบการเงินจะส่งผลอย่างมากต่อ ระบบ Inter banking ที่เป็นอยู่อย่างมาก
ในส่วนของโครงสร้างของระบบการเงินในอาเซียน ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่คอยสนับสนุนภาคการส่งออกนั้น ธนาคารมีสัดส่วนถึงร้อยละ 90 ของระบบสถาบันการเงินในอาเซียน โดยทุกประเทศให้ความสำคัญกับระบบธนาคารมาก โดยเฉพาะกัมพูชา, ลาว, พม่า, และเวียดนาม ที่มีสัดส่วนภาคธนาคารอยู่ในระดับที่สูงมาก ขณะที่สัดส่วนธุรกิจ non bank อาทิ ประกันภัยมีบทบาทน้อยมาก และธนาคารพาณิชย์มีบทบาทมากในอาเซียนบางประเทศมีขนาดสินทรัพย์ของธนาคาร เฉพาะกิจ เกินกว่าร้อยละ 20 ของทั้งระบบ เช่น บรูไน, มาเลเซีย และโดยเฉพาะไทยที่ขนาดสินทรัพย์ของธนาคารเฉพาะกิจมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น
การประเมินศักยภาพของธนาคารพาณิชย์ในอาเซียนนั้นถือว่ามีการทำ กำไรรวมอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้น อินโดนีเซีย และเวียดนาม ขณะที่ไทยอยู่อันดับที่ 5 ใกล้เคียงกับกัมพูชา ธนาคารพาณิชย์ของมาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม มีการขยายสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชนในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงใกล้เคียงกับกลุ่ม ประเทศที่มีรายได้สูง อัตราส่วนเงินฝากต่อ GDP คล้ายด้านสินเชื่อคือ ค่อนข้างสูงในกรณีของมาเลเซีย, สิงคโปร์ และไทย สูงกว่าสัดส่วนของสินเชื่อภาคเอกชน ในด้านความมีชื่อเสียงนั้น ธนาคารพาณิชย์ในอาเซียนมีขนาดของสินทรัพย์เล็กมาก ยกเว้น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่มีขนาดสินทรัพย์ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของ Top 500 banks ขณะเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์ในอาเซียนเพียง 24 แห่งที่อยู่ใน 500 อันดับของโลก โดยอยู่ในมาเลเซียมากสุด รองลงมาเป็นอินโดนีเซีย และไทยซึ่งมีอยู่ 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 21 ขณะที่สิงคโปร์มีเพียง 3 แห่งแต่ 1 ใน 3 คือธนาคาร DBS อยู่ในอันดับสูงสุดของอาเซียน และอยู่ในอันดับที่ 73 ของโลก การเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนในมาเลเซีย, สิงคโปร์ และไทย อยู่ในระดับดี ขณะที่กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม ยังจำกัดมากโดยเฉพาะช่องทางการให้บริการมีน้อยมาก
จากภาพรวมดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ภาคการส่งออกต่อการควบรวมภาคการเงินนั้นมีผลเกี่ยวเนื่องกันไปซะทุกอย่าง จะขาดไปเสียมิได้เลยทีเดียว แต่จากข้อมูลที่ได้รับรู้จากการมาสัมมนาครั้งนี้ทำให้เห็นถึงปัญหาของความ พร้อมของประเทศไทย ว่ายังมีอยู่มากแต่ก็ไม่ได้ถึงขนาดที่จะไม่สามารถ Jump Forward หรือการเดินไปข้างหน้าไม่ได้เลย เพราะในความขาดตรงส่วนนั้นๆ จะเป็นต่อขยายว่าเราสามารถเพิ่มเติมในสิ่งใด เพื่อพัฒนาภาคการส่งออกไทยให้ราบรื่นในทางการเงินได้อีกเมื่อจำเป็นต้องไปทำ การค้ากับเขา กับเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน
อีกปัญหาหนึ่งที่ผมขอนำเสนอ เราควรจะพัฒนาระบบการเงิน การแลกเปลี่ยนเงินตรา และการโอนเงินเพื่อการส่งออกนำเข้าโดยเฉพาะการค้าขายชายแดน ทุกวันนี้ยังเป็นระบบโบราณมาก ภาครัฐควรนำร่องให้ธนาคารเอกชนสนใจมากกว่านี้ ดูเหมือนว่าทุกฝ่ายยังกล้าๆ กลัวๆ หากมีการจัดระเบียบโดยรัฐบาลระหว่างประเทศมากำหนดการโอนเงินเข้าออกอย่างถูก ต้อง และลดหย่อนกฎระเบียบบางอย่าง เพื่อรองรับการค้าเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ถ้าทุกคนทำการค้าชายแดนเข้าระบบจะทำให้ปัญหาการค้าเถื่อน ยาเสพติดจะหมดไป และรายการการค้า (Transaction) จะโปร่งใส่
อนึ่ง ถ้าผู้นำเข้าประเทศพม่าจะนำเข้าจะต้องมีเงินสกุลเงินเหรียญสหรัฐสำรองในมือ เสียก่อน มิฉะนั้นไม่สามารถนำเข้าได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการทำการค้าเสรี มันไม่เหมือนเมืองไทยเรา ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศเรานั้น เราจะแลกเปลี่ยนสกุลเงินเหรียญสหรัฐ และ Packing credit ได้สะดวก รวดเร็ว ง่าย และถูกต้อง
มองเขา มองเราได้ออก รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้งครับ!!
หยก แสงตะวัน