สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

การรวม ธุรกิจ : สร้างความเข้มแข็งหรือการผูกขาด?

เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 55 ผมได้เข้าร่วมการสัมมนาในหัวข้อ การรวมธุรกิจ :สร้างความเข้มแข็ง หรือการผูกขาด? ณ โรงแรมริชมอนด์ ซึ่งจัดโดยสำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า กรมการค้าภายใน

ในการสัมมนานี้ ทางผู้จัดการงานต้องการทำประชาวิจารณ์ เพื่อที่จะเตรียมออกกฎเกณฑ์ หรือคู่มือที่ใช้ประกอบกฎหมายพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2552
โดยกฎหมายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1) ส่งเสริมให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างเสรี และเป็นธรรม
2) ป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งในการประกอบธุรกิจ มุ่งเน้นคุ้มครองกระบวนการแข่งขัน แต่ไม่คุ้มครองคู่แข่งขัน โดยเน้นผลประโยชน์ของผู้บริโภคในท้ายที่สุด แต่กฎหมายนี้จะยกเว้นไม่ใช้บังคับกับราชการ, รัฐวิสาหกิจ, กลุ่มเกษตรกร, สหกรณ์ และธุรกิจอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

กฎหมายนี้เป็นกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจซึ่งแตกต่างจาก กฎหมาย ทั่วไป โดยเน้นในการควบคุมพฤติกรรมของผู้ประกอบการ ซึ่งได้กำหนดลักษณะพฤติกรรมที่ห้ามกระทำ หรือสามารถกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตไว้ 5 ลักษณะ คือ
1. การใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบ หรือไม่มีเหตุผลอันสมควรในลักษณะตามที่กำหนด
2. การรวมธุรกิจเพื่อผูกขาด หรือสร้างความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันตามที่กำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. การตกลงร่วมกันกระทำการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขันตามที่กำหนด หรือกระทำการตกลงร่วมกันบางลักษณะโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. การที่ผู้ประกอบธุรกิจในประเทศกับผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศตกลงกันดำเนิน การ เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในประเทศถูกจำกัดโอกาสในการซื้อสินค้ามาใช้เอง หรือรับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจในต่างประเทศได้โดยตรง
5. การกระทำอันมิใช่การแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรมที่มีผลเป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย ขัดขวาง กีดกัน หรือจำกัดการประกอบธุรกิจของผู้อื่น หรือทำให้ผู้ปรกอบธุรกิจอื่น ต้องล้มเลิกการประกอบธุรกิจ

คณะกรรมการการแข่งขันทางค้าภายใต้กรมการค้าภายใน จะเป็นหน่วยงานที่พิจารณาเรื่องร้องเรียน/ ร้องทุกข์/ เรื่องที่ได้รับเบาะแสจากบุคคลภายนอก หรือเจ้าหน้าที่ตรวจพบเห็นว่า เข้าข่ายความผิดข้างต้น เอาเป็นว่าถ้าผู้ส่งออกร่วมลงทุน หรือเปิดบริษัทก็ตรวจสอบกับคณะกรรมการการแข่งขันการค้าว่า ท่านมีโอกาสที่เข้าข่ายหรือเปล่า ไม่ว่าในการค้าปัจจุบันที่ส่งออกไปขายต่างประเทศ ท่านจะต้องตรวจสอบว่า ประเทศที่ท่านนำสินค้าไปขายกับผู้นำเข้าของท่านอยู่ในเงื่อนไขดังกล่าวหรือ เปล่า เพราะตามที่คุณปรารถนา พัศมินทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการต่างประเทศ สำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า ได้ยืนยันว่า มีประเทศที่ใช้กฎหมายประเภทนี้มีจำนวน 87 ประเทศแล้ว กลุ่มประเทศอเมริกา และยุโรปใช้กฎหมายนี้มาร่วม 100 ปีแล้ว ในอาเชียนเรานี้ก็มี ประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และมาเลเซีย

โดยส่วนตัวผมมองว่า ในอนาคตกฎหมายนี้ จะมีบทความสำคัญมากในการกีดกันการค้าเสรีที่แบบละมุนละม่อน ตามที่คุณกิตติ ตั้งจิตรมณีศักดา ได้ยกตัวอย่างเช่น มีบริษัทเอกชนของประเทศจีนจะควบกิจการบริษัทน้ำมันแห่งหนึ่งทางคณะกรรมการ นี้ของสหรัฐอเมริกา ไม่อนุญาตโดยอ้างเรื่องความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ไม่กี่เดือนคณะกรรมการนี้ของประเทศจีนก็ปฏิเสธคำขอของบริษัทน้ำดื่ม Coke ของสหรัฐอเมริกาจะซื้อกิจการน้ำหวานของประเทศจีน

ผมก็ได้เสนอในที่ประชุมให้ออกมาตรการตอบโต้ ถ้าประเทศคู่ค้าไม่เป็นธรรม ในเรื่องนี้ด้วย ลงในกฎเกณฑ์ของกฎหมายนี้ แต่มีบางกรณีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็ยอมให้ควบกิจการ ถึงแม้จะผิดกฎหมาย ถ้า บริษัทที่จะถูกควบจะต้องเจ๊ง เพื่อรักษาให้คนมีงานทำ ตามมติที่ประชุม AEC การถือสัญชาติของบริษัทนิติบุคคลจะถือการจดทะเบียน ณ ประเทศนั้น ไม่ใช่ถือว่า ผู้บริหารสูงสุดเป็นคนไทย ซึ่งมีโอกาสมากที่บริษัทที่มีเจ้าของเป็นต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยได้ มาตั้งโรงงานแข่งขันกับผู้ส่งออกไทยได้ และอาจจะมีการควบกิจการมากขึ้น ต่อไปเราอาจจะเป็นโดยยืดอำนาจในทางธุรกิจจากคนต่างชาติ ซึ่งจะมีผลกระทบกับ SME ที่ไม่มีการปรับตัวอย่างมาก คนไทยยังมีปัญหาเรื่องภาษามาก

ขณะนี้ ประเทศเวียดนามนิยมเรียนภาษาไทยมาก แต่คนไทยไม่คอยสนใจเรียนภาษาเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเป็นการเสียเปรียบทางด้านการค้าที่เราไม่รู้เขา แต่เขารู้เรา บริษัทไทยมีความจำเป็นต้องควบกิจการอย่างเช่นธุรกิจเหล็กเส้นที่บริษัทไทย ประสบการขาดทุนมาตลาด จนต้องยอมให้บริษัทยักษ์ใหญอย่าง TATA มาซื้อกิจการ ต่อไปในอนาคต เราใหญ่ในประเทศ แต่เล็กในระดับโลก เราก็เจ๊งได้ เราจะทำอย่างไรให้รายใหญ่ให้ มีความยุติธรรมทางด้านการค้า ขอให้ยกเลิกบทลงโทษทางอาญากับผู้กระทำผิด ผมขอสนับสนุนในเรื่องบทลงโทษด้วย ขอให้ทางรัฐเรียกค่าปรับมากขึ้นจะดีกว่ามีเงินรางวัลกับเจ้าหน้าที่ จะเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นการถ่วงดุลอำนาจการเมืองที่ไม่เป็นธรรม

ท่านผู้ส่งออกควรจะศึกษาเพิ่มเติมจาก website ของ Office of Thai Trade Competition Commission (OTCC) และ Trade Competition Act 1999 address dit.go.th/otcc และเข้าไปในส่วนห้องสมุดแข่งขัน จะพบเอกสารเกี่ยวกับคำศัพท์ที่น่าสนใจ คู่มือนักธุรกิจว่าด้วยนโยบาย และกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของอาเชียน และแนะนำการแข่งขัน

ผมยังเสนอให้นำเรื่องนี้ให้เข้าที่ประชุม AEC เพื่อจะได้ตั้งคณะกรรมการของอาเซียนว่าด้วยการวินิจฉัยข้อพิพาทในอนาคตที่ อาจจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในกลุ่ม AEC ผมยังเสนอให้คณะกรรมการการแข่งทางการค้าควรมีภาคเอกชนร่วมในคณะ เพราะจะช่วยให้เข้าใจในเรื่องธุรกิจมากขึ้น แต่ทางกรมฯ ได้ดำเนินการแต่ไม่ใช่คนในวงการเดียวกัน จากที่ประชุมของคณะนี้ยังมีอุปสรรคเรื่องการขอข้อมูลจากหน่วยราชการอื่นๆ ผมได้เสนอให้นำระบบ National Single Window มาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยในการดำเนินพิจารณาคดีต่างๆ ทางคณะก็ยังยินดีที่จะทำหนังสือเตือนบริษัทที่ทำผิดกฎหมายก่อนที่จะดำเนิน การขั้นต่อไป ซึ่งเป็นการดี ให้ผู้กระทำผิดที่อยู่เส้นยาแดง ทางคณะก็ยืนยันถึงความลับของผู้ร้องเรียนว่าไม่มีปัญหา เนื่องจากต้องขออนุญาตในการควบกิจการ

สุดท้ายผมได้นำเสนอให้คณะได้ประสานงานกับกรมพัฒนาธุรกิจให้ทำ การ ออกแบบเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ทันทีที่มีมาติดต่อกับกรม พัฒนาธุรกิจก็ได้รับรู้ และขออนุญาตกับคณะการแข่งขันทางการค้าในเวลาเดียวกัน เพื่อไม่ให้มีปัญหานี้เกิดตามความประสงค์ของทางกรมฯ ที่เน้นเรื่องโครงสร้างให้ถูกต้องมากกว่านั่งจับผิด สุดท้ายท่านต้องรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการก่อนดำเนินการรวมธุรกิจ 90วัน ผมยังขอให้กำหนดเกณฑ์ให้ผ่อนผันชั่วคราวในกรณีที่ประเทศเราประสบอุทกภัยน้ำ ท่วม

สุดท้ายท่านผู้ส่งออกขอให้ระวังเรื่องการคุยเรื่องการกำหนดราคา กับคู่แข่ง หรือในสมาคมในลักษณะรวมหัวกัน เพราะท่านอาจจะผิดกฎหมายนี้ในต่างประเทศที่ท่านส่งออกไปก็ได้ เพราะในทางการค้าไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร ซึ่งกรณีศึกษาในวงการการบินมีมาแล้วว่าสายการบินหนึ่งอยู่กลุ่ม Alliance เดียวกับการบินไทย ได้เอาตัวรอด ยอมให้ตัวเองกันเป็นพยาน ฟ้องเพื่อนในกลุ่ม เพื่อไม่ให้ตัวเองโดนลงโทษจากกฎหมายนี้ ซึ่งสุดท้าย การบินไทยต้องจ่ายค่าปรับล้านเหรียญสหรัฐ

หยก แสงตะวัน

 

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright