การเช่าเรือ
เมื่อพูดถึงคำว่า Charter หรือ การเช่าเรือ เราอาจจะไม่ค่อยสัมผัสหรือคุ้นเคยกับมันสัก เท่าไหร่ แต่เราก็คงเข้าใจว่าน่าจะเป็นในลักษณะเหมือนกับการเช่ารถ ซึ่งเวลาเช่ารถมาแล้ว เราก็เอามาขับเพื่อเดินทางไปในที่ต่าง ๆ แล้วการเช่าเรือล่ะ โดยเฉพาะเรือสินค้าขนาดใหญ่ เขาเช่ามาเพื่ออะไร แล้วหาเช่ากันที่ไหน มีขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินการอย่างไรบ้าง ซึ่งผู้เขียนขออนุญาตแนะนำเฉพาะข้อมูลในประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อให้เราในฐานะชาวเรือ ได้ รู้จัก กิจกรรมอื่นที่มีปฏิบัติกันในโลกแห่งวงการเดินเรือ
การเช่าเรือโดยทั่วไปจะแบ่งออก เป็น ๓ ประเภทด้วยกัน คือ
๑. Voyage Charter
เป็นการเช่าเรือเป็นเที่ยว ผู้เช่าต้องการใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ผู้เช่า (Charterer) ทำหน้าที่เพียงจ่ายค่าเช่า ส่วนผู้ให้เช่า (Owner) ต้องเตรียมเรือให้มี ความพร้อมในการเดิน เรือ (Seaworthiness) รวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินการเกี่ยวกับเรือ ทั้ง หมด ถ้าเปรียบเทียบกับรถยนต์ก็เปรียบเสมือนการขึ้นรถแท็กซี่ ผู้โดยสารจ่ายเพียงค่าโดยสาร เพื่อว่าจ้างไปที่ต่าง ๆ ที่ต้องการ
๒. Time Charter
หน้าที่ของผู้เช่า (Charterer) และ ผู้ให้เช่า (Owner) เหมือนกับ Voyage Charter แต่การเช่าเรือนั้นไม่ได้กำหนดที่จำนวนเที่ยวแต่จะระบุ ช่วงระยะเวลาใน การเช่าเรือ เปรียบ เหมือนการเช่ารถตู้เหมาเป็นรายวันเวลาเดินทางไปตามต่างจังหวัดเป็น หมู่คณะ
๓. Bareboat Charter
เป็นการเช่าเรือเปล่าโดยไม่มีคนประจำเรือการเช่าเรือประเภทนี้ผู้ให้เช่า(Owner) เพียงแต่จัดเตรียมเรือให้มีความพร้อมใช้งาน ส่วนที่เหลือผู้เช่า (Charterer) เป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งหมดเสมือนเป็นเจ้าของเรือเอง ทั้งคนประจำเรือ การจัด การเรือด้านต่าง ๆ เปรียบเสมือน เวลาเราไปท่องเที่ยว ตามที่ต่าง ๆ แล้วก็เช่ารถขับเอง
สำหรับการเช่าเรือนั้นก็จะมีตลาดที่ สำหรับใช้ติดต่อเพื่อแลกเปลี่ยนความต้องการ ระหว่างกัน ตลาดเช่าเรือที่สำคัญ ๆ ของโลกได ้ แก่ตลาดลอนดอน ตลาดนิวยอร์ก ตลาดโต เกียว ตลาดออสโล โดยผู้มีอิทธิพลอย่างสูงก็คือนาย หน้า (Broker) เพราะจะเป็นผู้ประสาน ติดต่อกันระหว่าง ผู้เช่ากับเจ้าของเรือ ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญ อย่างมาก ในการติดต่อเพื่อทำการเช่า โดยขั้นตอนที่สำคัญในการเช่าเรือจะแบ่งได้ ๓ ขั้นตอน ดังนี้
๑. ขั้นการค้นหาและรวบรวมข้อมูล (Investigation)โดยค้นหาข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องการโดยทำคำเสนอ (Order) เป็นข้อมูลที่แสดงความต้องการอย่างชัดเจน แล้วแต่ว่า เราอยู่ในสถานะใด (ผู้เช่าหรือเจ้าของเรือ) โดยเสนอเข้ามาในตลาดโดยตรงหรือผ่านนายหน้าก็ได้
๒. การเจรจา (Negotiation)เป็นขั้นตอนสำคัญในการตกลงรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเช่า เช่น รูปแบบในการเช่า ราคาค่าเช่า เป็นต้น
๓. การติดตาม (Follow up)เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากการรวบรวมข้อมูล และเจรจา ขั้นตอนนี้เป็นการจัดทำเอกสารทั้งหมดที่ต้องใช้ในการทำสัญญาที่สมบูรณ์ต่อไป
แม้ในบทบาทและอาชีพของเราจะไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นโดยตรง แต่การเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงสิ่งรอบข้างนับว่าเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานเพราะการ ปฏิบัติราชการในอาชีพทหารเรือ ต้องปฏิบัติงานร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการ พาณิชยนาวีคงหนีไม่พ้นที่จะต้องพูดคุยและประสานงานระหว่างกัน ดังนั้นการเรียนรู้สิ่งรอบข้าง ที่เกี่ยว ข้องเสมือนสื่อในการเชื่อมโยงกับผู้อื่นซึ่งจะช่วยสนับสนุนภารกิจในการปฏิบัติงานของ กองทัพเรือต่อไป