สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

เรียน ท่านผู้อ่านที่เคารพ
 
ท่านทราบหรือไม่ว่า Shipping (ชิปปิ้ง) คือ อะไร
บางคนบอกว่า ชิปปิ้งเป็นตัวปัญหาในระบบส่งออก และ นำเข้า
บางคนบอกว่า ชิปปิ้ง คบไม่ได้
บางคนบอกว่า ชิปปิ้งชอบขี้โกง
บางคนบอกว่า  ชิปปิ้งแค่เสือนอนกิน

ผมขอเล่าเรื่องชิปปิ้งให้ฟัง ผมเคยไปเรียนหลักสูตรตัวแทนออกของพิธีการศุลกากร และหลักการนำเข้า และส่งออกระหว่างประเทศที่สมาคมชิปปิ้ง โดยเรียนถึง 9 เดือน ที่สมาคมฯ เปิดสอนอยู่
ผมทราบมาว่าเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน ทางกรมศุลกากรในอดีต มีปัญหากับบริษัทที่นำเข้า และส่งออกสินค้ามาก เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรต้องทำงานหนัก และทำงานไม่ทัน คนที่มาติดต่อก็ไม่มีความรู้มีจำนวนมาก ทำให้เจ้าหน้าที่เสียเวลาในการอธิบาย เจ้าหน้าที่เองเวลาทำงานหนักก็มีโอกาสทำผลาดได้เช่นกัน ทั้งปริมาณการนำเข้า และส่งออกของประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นแบบก้าวกระโดด เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจึงขอให้ทางสมาคมชิปปิ้งช่วยเปิดหลักสูตรเกี่ยวกับขั้นตอนพิธีการศุลกากร และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการนำเข้า และส่งออก ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของกรมศุลกากร กฎหมายศุลกากร การเปิดพิกัดรหัสสินค้าที่เป็นตารางกับอัตราภาษีศุลกากร การเขียนใบแสดงรายการสินค้า และภาษี หรือใบขน สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการคืนมุมน้ำเงิน และมาตรา 19ทวิ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับสินค้าไม่คอยมีการเรียนเกี่ยวกับระบบเรือ และคอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นชิปปิ้งอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจะต้องมาเรียนรู้จากประสบการณ์ มีการเอาบางส่วนของประมวลระเบียบปฎิบัติศุลกากร ซึ่งเป็นคู่มือการทำงานของเจ้าหน้ากรมศุลกากร จะมีการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติมโดยคำสั่งภายใน และบันทึก ส่วนประกาศจะให้รับทราบกับคนทั่วไป
 
ตอนแรกที่ผมหัดทำเอกสารเกี่ยวกับ พิธีการศุลกากร  เวลามีปัญหา ผมจะมีที่พึ่งคือ คุณปู่โค่ว เอ็ง เทียม หรือทุกคนเรียกว่า ปู่เทียม  หรือ เฮียเทียม อายุ 60 ปี ชายร่างเตี้ย ผอมขาว ตาหยี่ หน้าจีน พูดภาษาไทยสำเนียงภาษาจีน (รูปคนริมซ้ายสุด) ผู้ซึ่งผู้หนึ่งในผู้ก่อตั้งสมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย ท่านเป็นคนที่มีน้ำใจอย่างที่หาไม่ได้อีกแล้ว  ท่านเป็นชิปปิ้งรุ่นแรกของประเทศไทย
ท่านเรียนรู้วิชาชิปปิ้ง จาก ประสบการณ์ที่สะสมมานาน หลายสิบปี เกี่ยวกับการทำพิธีศุลกากร และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร
 ท่านจะคอยช่วยเหลือชิปปิ้งที่มีปัญหากับทางเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร, ชิปปิ้ง และเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร คนรุ่น 40-70 ปี จะต้องรู้จักท่าน ถ้าใครไม่รู้จักท่าน ไม่ใช่คนในวงการชิปปิ้ง
ท่านจะยืนอยู่ที่ห้องโถงใหญ่กรมศุลกากร และเที่ยวทักทายชิปปิ้งด้วยสีหน้าเป็นห่วงเป็นใยว่า "ลื้อมีปัญหาอาลายหรือ ?" พอท่านรับทราบปัญหาของเราแล้ว  ท่านก็จะพาเราหาเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรที่เกี่ยวข้อง โดยบางครั้งท่านชวนเรายืนดักหน้าประตู ท่านอธิบดีก่อนเที่ยง แล้วเดินหรี่เข้าพบท่านอธิบดีกรมศุลกากร อย่างยิ้มแย้ม เพราะท่านจะรู้ว่า ท่านผู้ใหญ่จะไม่ว่างให้ท่านเข้าพบ ถ้านัดหมายล่วงหน้า และเลขาหน้าห้องท่านอธิบดีก็จะบอกปัดตลอด   ท่านจะแต่งตัวสุภาพผูกเน็กไท เสื้อเชิ้ต แขนสั้นสีขาว หรือสีอ่อน ใส่กางเกงสแล็ค รองเท้าหนังสีดำ เหน็บปากกาคอรส์สีทอง ใส่นาฬิกาข้อมือสีทอง ใส่ผ้าเข็ดหน้าที่กระเป๋าเสื้อ เพื่อแสดงความเคารพสถานที่ราชการ  ผมจำท่านอย่างไม่เคยลืม ในความทรงจำของผม  ท่านเป็นปูชนียบุคคลในวงการชิปปิ้ง ที่หาใครมาเปรียบเทียบในความดีของท่านได้ ท่านจะคอยช่วยเหลือชิปปิ้งทุกคน โดยไม่รู้จักเหนื่อย ไม่คิดค่าตอบแทน ท่านมีแต่ให้ กับให้   ท่านจะคอยสอนชิปปิ้งให้เป็นคนดี อย่าเล่นการพนัน อย่าเที่ยวผู้หญิง เวลาที่สมาคมชิปปิ้งไม่มีเงิน ท่านก็ไม่ลังเลที่จะยื่นเงินมาจ่ายเป็นแสนๆ    กรรมการในสมัยก่อนเคยเชิญท่านเป็นนายกสมาคมชิปปิ้ง ท่านพูดอย่างถ่อมตนว่า "อั้วพูดภาษาไทยไม่ชัด เดี๋ยวอายเขา และเสียชื่อสมาคมชิปปิ้งฯ "  ท่านเป็นคนที่ชอบปิดทองหลังพระ ทุกวันนี้ชิปปิ้งรุ่นเก่ายังพูดถึงความดีของท่านตลอด ท่านจะไม่เคยด่าเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ท่านจะคุยแบบขอร้อง และ สุภาพ เจ้าหน้าที่ทุกคนจะเห็นท่านตั้งแต่เป็นเจ้าหน้าระดับล่าง จนถึงอธิบดีกรมศุลกากร ผมได้เรียนรู้เรื่องการพูดจาจากท่าน และได้ท่านเป็นต้นแบบเทคนิคในการติดต่อกับหน่วยราชการ ที่สำคัญท่านมีความอดทนมาก ท่านจะยืนรบเร้า
หรือยืนตื๊นเจ้าหน้าที่ จนมีทางออกของปัญหาจนได้  ถ้าไม่ได้ท่านมาตามงานติดต่อกันหลายวัน  ท่านเป็นคนดีจริง และอยู่ในหัวใจของชาวชิปปิ้งตลอดกาล  ท่านรักสมาคมชิปปิ้งฯ มาก  เพราะท่านทราบดีว่า ถ้า นายเทียมคุยกับกรมศุลกากรไม่ดัง  ต้องใช้วิถีสมาคม จะเป็นสันติวิธี ทุกตรุษจีนของทุกปีท่านจะเรียนเชิญ ผู้ใหญ่ในกรมศุลกากรมาเลี้ยงโต๊ะจีนทุกปี และไม่เคยมีใครปฎิเสธในคำเชิญของท่าน เพราะท่านมีความเป็นกันเอง  และให้เกียรติเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรทุกคนอย่างพี่น้องกัน
  ความดีของท่านเรียกว่า ทำเพื่อส่วนรวม  เป็นความดีถือว่ายิ่งใหญ่
นี่คือบุคคลที่เป็นต้นแบบของชิปปิ้งที่แท้จริง ที่แตกต่างจากคนอาชีพอื่นๆ ท่านคือ ปู่เทียม
เรื่องที่ผมเล่ามานี้ พอจะเห็นว่า ชิปปิ้งไม่ดีอย่างที่หลายๆ คน คิดนั้นไม่จริง    ชิปปิ้งที่ดีทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  ช่วยวงจรส่งออกและนำเข้าอย่างมากมาย อย่างปู่เทียมก็มีมาก

ปู่เทียมได้ ชักชวนให้ผมได้ รู้จัก กับ สมาคมชิปปิ้ง แห่งประเทศไทย   ทางสมาคมชิปปิ้งฯ ไม่เห็นด้วยกับทางกรมศุลกากรว่า ชิปปิ้งผี หรือตัวแทนออกของที่ไม่เป็นนิติบุคคล ไม่เป็นการดีที่ผ่านมา ชิปปิ้งผี ดังกล่าว จะสร้างปัญหา เสนอราคาค่าบริการที่ถูกกว่า แต่เวลาท่านจ่ายค่าภาษีก็จะขโมยเงินท่านไป หรือไม่เวลาออกของ ก็จะแอบอ้างว่า เจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกเงินใต้โต๊ะ     ชิปปิ้งผี จะไม่มีสำนักงาน
เป็นหลักแหล่ง  จะ เดิน เข้ามาหาท่านเวลาที่ท่านเดินเข้าไปที่กรมศุลกากร เสนอตัว  และ โน้มน้าวท่านให้ใช้บริการ ขอ เตือน อย่าไปใช้บริการเด็ดขาด   ผมขอแนะนำให้ใช้ ชิปปิ้ง เป็นสมาชิกของสมาคมชิปปิ้ง  เพราะ สมาคมจะคอยดูแล และควบคุมชิปปิ้งที่สร้างปัญหา
 ทางสมาคมชิปปิ้งจะรับเฉพาะสมาชิกที่เป็นบริษัท นิติบุคคลเท่านั้นเป็นสมาชิก และมีการเยี่ยมพบปะให้ความรู้ และรับฟังขอแนะนำจากสมาชิก  ทั้งให้คำอธิบายให้เข้าใจระหว่างหน่วยราชการ กับสมาชิก  สมาชิกทุกบริษัทจะต้องมีตัวแทน หรือพนักงานที่ผ่านการสอบข้อสอบตัวแทนออกของ
กรมศุลกากร     และจะต้องสามารถส่งขอมูล e-customs ตามหลักเกณฑ์ของกรมศุลกากร

หลายคนคงเคยได้ยินว่า พวกชิปปิ้งเป็นพวกที่ต่อต้านการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ผมยอมรับว่ามีพวกบางกลุ่มที่ปรับตัวไม่ทัน
แต่มาระยะหลังสมาคมชิปปิ้งได้รับเชิญจากอธิบดีบางท่านที่ให้ความสำคัญเรียกเขาไปคุย และร่วมแก้ปัญหา เช่น ช่วงรอยต่อ
ระหว่าง EDI มาเป็นระบบ PAPERLESS หรือ e-customs ก็ลงตัวโดยไม่มีปัญหารุนแรงเหมือนในอดีต ผมจึงขอเน้นว่า ทุกฝ่ายต้องเปิดใจกว้าง
และร่วมกันแก้ปัญหาระหว่างเอกชน และภาครัฐ

ผมขอเล่าให้ฟัง บริษัทเรือได้ทำการพัฒนาการขนส่งจากระบบเรือเทกอง มาเป็นระบบเรือคอนเทนเนอร์ และระบบสื่อสารจากเดิม มาเป็นระบบโทรเลข มาเป็นระบบแฟกซ์  ทำให้การซื้อขายระหว่างประเทศได้ก้าวกระโดดจากกลุ่มคนที่ใช้เฉพาะตัวอักษรโรมัน หรือตัวภาษาอังกฤษนั่นเอง  ผู้คนก็สามารถติดต่อสื่อสารได้โดยภาษาต่างๆ  ลงในกระดาษ ไม่ว่าจะวาดรูป ส่งรูปภาพให้ผู้รับอีกฝ่ายได้อย่างชัดเจง และรวดเร็ว เทคโนโลยีต่างๆ เป็นตัวทำให้เสริมความรวดเร็ว โดยเฉพาะระบบอินเตอร์เนท และการแข่งขันในตลาดให้มีความรุนแรงอย่างมาก มีการพัฒนาระบบการผ่านพิธีการศุลกากร โดยการกรอกเอกสารโดยการเขียนมาเป็นการพิมพ์ดีดโดยใช้แรงคน ซึ่งเรียกว่า ระบบธรรมดา Manual หลังจากนั้นทางกรมศุลกากรก็เปลี่ยนแบบหักดิบมาเป็นระบบ EDI โดยผ่านแวนส์ ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดปัญหารุนแรง ระหว่างชิปปิ้งกับทางกรมศุลกากร มีการประท้วงปิดกรมศุลกากรเป็นระยะ โดยที่ทางกรมศุกลกากรในสมัยนั้นได้บอกว่า ชิปปิ้งเป็นพวกไดโนเสาร์ ต่อต้านการพัฒนา ต่อต้านการเปลี่ยน หาว่าพวกชิปปิ้งเป็นพวกถ่วงความเจริญ แต่ก็จริงชิปปิ้งบางส่วนที่ไม่ปรับตัว และมีขบวนเสียผลประโยชน์ทั้งกลุ่มชิปปิ้ง และ กลุ่มเจ้าหน้าที่ศุลกากรเอง   แต่ก็มีชิปปิ้งส่วนใหญ่ก็พยายามปรับตัว และ รอดตายมาจน ถึงทุกวันนี้
ตามหลักการแล้ว ทางกรมศุลกากรควรจะมีการประชุมหารือกับทางสมาคมชิปปิ้ง และมีการเตรียมความพร้อมในเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรเอง มันเป็น บทเรียนที่ดีอย่างหนึ่งว่า เวลาท่านผู้ใหญ่ในราชการจะทำอะไรใหม่ หรือเปลี่ยนแปลง ควรจะมีการวางแผน มีแผนรองรับ มีช่องทางให้ผู้ใช้ หรือ USER  ควรจะมีส่วนร่วม ควรจะมีการเตรียมมาตราการรองรับ แต่ในอดีต ท่านผู้ใหญ่ในราชการในสมัยนั้นไม่ได้คิดถึง จึง ตัดสินใจทำเอง พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเองบางคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น  ตัวชิปปิ้งเองก็ไม่ได้รับการเตรียมความพร้อม ไม่มีการจัดการอบรมอย่างเป็นหลักสูตรเป็นหลัก บริษัทชิปปิ้งเองหลายบริษัทก็ไม่พร้อม บริษัทที่รับงานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็ไม่มีความรู้เรื่องพิธีศุลกากร  เขียนโปรแกรมผิดบ้างถูกบ้าง  ทำให้เกิดการติดขัดหลายประการ
ส่วนบริษัทชิปปิ้งก็ไม่มีความพร้อมในระบบคอมพิวเตอร์ที่มาของความขัดแย้งในตอนที่เปลี่ยนแปลงจากระบบธรรมดามาเป็นระบบคอมพิวเตอร์คือ ตอนที่
ท่านอธิบดียื่นคำขาดว่าจะตัดระบบธรรมดาให้หมด ให้ใช้แต่ระบบคอมพิวเตอร์อย่างเดียว จึงเป็นที่มาของการประท้วงตามหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ  มีปิดประตูไม่ให้เสียภาษี คราวนี้มันร้อนถึงรัฐบาล เพราะเงินคงคลังไม่มีเงินเข้า เวลาทางสมาคมชิปปิ้งฯ ได้โดดเข้าไปเจรจา เพื่อแก้สถานการณ์ ขอให้ เปิดช่องธรรมดาบางส่วน และมีเคาน์เตอร์เซอร์วิสคอยบริการชิปปิ้งที่ไม่ต้องการลงทุนระบบคอมพิวเตอร์  เพื่อลดแรงเสียดทนต่อต้าน จากชิปปิ้งทั่วไป  และคนที่ยังไม่สามารถปรับตัวทัน
ณ เหตุการณ์นั้นหลายบริษัทชิปปิ้งต้องปิดไป
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ทางราชการควรจะมีการประชุมหารือ กับภาคเอกชนก่อน และรับฟังความคิดเห็น ก็จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง   มีการเตรียมความพร้อม ฝึกพนักงานรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อรองรับบริษัทชิปปิ้ง และให้ทุนกู้ยืม ดอกเบี้ยถูกๆ   เพื่อเป็นการแบ่งภาระ หางานอื่น หรือฝึกงานอื่นที่รองรับชิปปิ้งที่ตกงาน และไม่สามารถปรับตัวได้ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ก็เกิดปัญหาข้างต้น  ผมไม่ใช่หาเรื่องท่านอดีตอธิบดี แต่ผมต้องการให้หน่วยราชการ และท่านผู้ใหญ่ในราชการยุคนี้ มองประเด็น และเรียนรู้จากประสบการณ์นี้
ผมไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก มันเสียหายทั้งสองฝ่าย ส่วนตัวผมเองโชคดีที่เป็นคนชอบคอมพิวเตอร์มาก่อน และสนใจรับรู้เทคโนโลยีใหม่
ผมไม่เดือดร้อน แต่ผมอดสงสารชิปปิ้งหลายคนรุ่นพี่ผมที่ต้องมีภาระเลี้ยงลูก บางคนก็ต้องหมดตัว เพราะไม่รู้จะไปทำอะไร อายุหลัง 40 ปี บริษัทก็ไม่รับเข้าทำงาน ค่าใช้จ่ายในครอบครัวก็คงที่ แต่รายรับหายไป เพราะการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ผมขอให้ท่านมีอำนาจ ใคร่ควรให้ดีก่อนจะเริ่มเปลี่ยนแปลง
พระพุทธเจ้าตรัสว่าความไม่แน่นอน คือ ความแน่นอน
ตอนเล็กผมเรียนในห้องเรียนชั้นประถมวิชาศีลธรรม ผมไม่เข้าใจ ทุกวันนี้ผมรู้ซึงในสัจจธรรมอันนี้มาก

เรากลับมากล่าวต่อ เรื่องการค้า ตอนนี้หัวใจของการค้า คือ เวลา และเงิน ใครสามารถสนองความต้องการ 2 อย่างนี้ได้ ก็เป็นผู้ชนะ เพราะ การผลิตไม่คอยหนีกัน
โรงงานสามารถซื้อเครื่องจักรได้ เพื่อให้ตามทันเทคโนโลยี่ และเสริมด้วยการตลาด โดยเน้นแข่งขันที่บริการต่างๆ และโลจิสติคส์
บริษัทเรือ และชิปปิ้งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ โลจิสติคส์
บริษัทเรือก็เริ่มปรับตัวไม่ทัน เอาเวลาไปจัดการเกี่ยวกับระบบการขนส่งทางด้านปฎิบัติการ และบริหารระบบให้มีประสิทธิภาพเป็นส่วนใหญ่ ไม่คอยเน้นการตลาด โดยมองว่า การตลาดเป็นต้นทุนสูง และพนักงานขายในสมัยก่อนต้องยอมรับว่า เปลี่ยนงานบ่อยมาก พอเวลาเรือถึงท่าเรือมาในอดีต  นายเรือ หรือกัปตันเรือเป็นคนทำเอกสารให้ 1.เจ้าหน้าที่กรมศุลการ เพื่อรายงานบัญชีเรือ 2.เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายตรวจคนเข้าเมือง เพื่อรายงานรายชื่อลูกเรือ หรือผู้โดยสารที่มากับเรือ 3.เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า เพื่อรายงานขนาดเรือ และให้อนุญาตในการนำร่อง 4.เจ้าหน้าที่การท่าเรือ เพื่อขออนุญาตเทียบท่า 5.ผู้นำเข้า และผู้ส่งออกมารับของ 6.ติตต่อแรงงาน หรือเครื่องไม้เครื่องมือในการขนย้ายออกจากเรือมาที่ท่า 7.หน่วยงานอื่นๆ ของราชการที่ออกใบอนุญาตไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยงาน และมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากจำนวนเรือ และกฎระเบียบของทางราชการมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ทั้งยังมีการลงโทษในคดีอาญา  ถ้าเกิดการผิดพลาด และต้องเสียค่าปรับจากทางราชการ  ถ้าสินค้าบางอย่างต้องขอใบอนุญาต เช่นสินค้าอันตราย ต้องโดนทำลาย หรือส่งกลับทันที ไม่ให้แตะพื้นแผ่นดินไทย ทั้งเวลาที่ถูกบีบจากผู้นำเข้า และผู้ส่งออกต้องการสินค้าให้นำเข้า และส่งออกให้เป็นตามเงื่อนไขทางด้านการค้า และ กรอบเวลาของทางราชการ ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องมองหาตัวแทน หรือผู้ช่วยทำเอกสาร และติดต่อบุคคล และหน่วยราชการข้างต้นจะให้ชิปปิ้ง หรือตัวแทนออกของ ชิปปิ้งนั้น คือบุคลลที่ประกอบอาชีพในการเป็นผู้ติดต่อกับกรมศุลกากรแทน ผู้สั่งสินค้าเข้า ผู้ส่งสินค้าออก ผู้เดินทางระหว่างประเทศ ที่มีของใช้ส่วนตัว หรือของใช้ในบ้านเรือน หรือตัวแทนที่ทำหน้ารับจัดการการคนขนส่ง และพิธีการศุลกากรเป็นคนประสานงาน กับหน่วยงานต่างๆ ของส่วนราชการ
ความจริงคำว่า ชิปปิ้ง (shipping) เป็นคำภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า การส่งของทางเรือ หรือการเดินเรือ หาได้มีความหมายว่า ตัวแทนผู้นำเข้าส่งออก หรือ ตัวแทนออกของแต่อย่างใด ในต่างประเทศมีกฎหมายกำหนดไว้สำหรับบุคคลประกอบอาชีพนี้โดยเรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น ในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ เรียกว่า Customs Broker ประเทศแคนนาดา เกาหลีใต้ เรียก Customs House Broker ทั้งว่าแล้วยังไม่มีกฎหมายรองรับอย่างเป็นทางการ จึงนำคำว่า ชิปปิ้ง ไปปนกับกฎหมายตัวแทนทั่วไปต่อเท่าที่ทราบจากนายกสมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย คุณยรรยง ตั้งจิตต์กุลว่า ได้ร่วมยกกฎหมายเป็นผลสำเร็จให้มีการบัญญัติกฎหมายนี้
ให้ความหมายอย่างเป็นทางการ ท่านได้รับเชิญให้ร่วมเป็นคณะทำงานพิจารณาร่าง พรบ.ของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร) ซึ่งได้ทำข้อเสนอแก้ไขปรับปรุงร่าง พรบ.ศุลกากรหลายมาตรา ผ่าน กกร. และกระทรวงการคลังไปยังกรมศุลกากร ซึ่งต่อมากรมศุลกากร
ได้ตั้งคณะทำงานร่วมศุลกากร และภาคเอกชน เพื่อพิจารณาข้อเสนอของ กกร.และสมาคมฯมีโอกาสได้ร่วมเป็นหนึ่งในคณะทำงานด้วย
       ท่านได้เสนอให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของไว้ในกฎหมายศุลกากรด้วย เพื่อให้มีการรับรองสถานภาพของอาชีพนี้ หลังจากในอดีต
ได้พยายามผลักดันมานานว่า 10 ปี จนกระทั่งได้รับความเห็นชอบจากกรมศุลกากรให้บรรจุ "นิยามของตัวแทนออกของ" ไว้ในมาตรา 7(32) ว่า
 "ตัวแทนออกของ หมายถึงตัวแทนที่เป็นนิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินพิธีการศุลกากรแทนเจ้าของสินค้า และมีพนักงานลูกจ้างที่ได้
ลงทะเบียนกับกรมศุลกากร" ซึ่งถ้าร่าง พรบ. ดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาออกมาเป็นกฎหมายได้ จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ของวงการชิปปิ้งที่มีการรับรองสถานภาพตามกฎหมาย
     เมื่อวันที่ 25  พฤษาภาคม 2552 สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย มีโอกาสได้ต้อนรับท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอลงกรณ์
 พลบุตร และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงที่มาเยี่ยมที่ทำการสมาคมฯ ตามโครงการ "โลจิสติกส์สัญจรครั้งที่ 1 เพื่อช่วยเหลือธุรกิจไทย" นับเป็นรัฐมนตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ของสมาคมที่ให้เกียรติมาเยือนที่ทำการสมาคม
  เราเรียนรู้สภาพปัญหาของตัวแทนออกของซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมฯ ได้ เสนอ ท่านรัฐมนตรีช่วยฯ ดังนี้
1. ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณสินค้านำเข้าส่งออกลดลงประมาณ 30-40% การแข่งขันทวีความรุนแรงขึ้น บริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ตัดราคาค่าบริการเพื่อแย่งลูกค้า ลูกค้าเองต้องการลดต้นทุนด้วย การกดราคาค่าบริการ ค่าขนส่ง ในขณะที่ต้นทุนของการให้บริการออกของสูงขึ้น เช่น ค่าแรงงาน ค่าถ่ายเอกสาร ค่ากระดาษ ค่ารับส่งข้อมูลในระบบ E-Customs ค่าใช้จ่ายในกระบวนการออกของ และต้องรับผิดชอบในผลงานมากกว่าค่าบริการที่ได้รับ เช่น หากทำงานผิดพลาด ลูกค้าผลักภาระค่าปรับมา
ให้ทันที
2. ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะในพิธีการอิเล็คทรอนิคส์ เพราะต้องการเวลาในการบ่มเพาะประสบการณ์ 3-5 ปี ทำให้มีการเสนอให้เงินเดือนสูงจากบริษัทต่างชาติเพื่อดึงตัวไปทำงาน
3. ใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมาก เนื่องจากต้องสำรองค่าใช้จ่ายในการระหว่างการออกของแต่ละขั้นตอนแทนลูกค้าไปก่อน เช่น ค่าโกดัง ค่ารถบรรทุก รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่บริษัทเรือเรียกเก็บ เช่น ค่ามัดจำตู้ ค่าล้างตู้ ฯลฯ ทำให้เสียเปรียบบริษัทต่างชาติมาก
4. วิกฤตเศรษฐกิจทำให้การเก็บบัญชีลูกหนี้ยากขึ้น หรือต้องยอมยืดระยะเวลาให้เครดิตแก่ลูกค้ายาวขึ้น ทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง

ชิปปิ้งเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ ในอดีตชิปปิ้งจะเป็นอาชีพที่ทำเงินได้ดีมาก แต่ปัจจุบันนับแต่มีระบบคอมพิวเตอร์เข้ามา ทำให้งานเร็วขึ้น และมีการตัดขั้นตอนของการทำงาน และตัดการติดต่อโดยตรงระหว่างคนกับคน จึงทำให้โอกาสที่การติดสินบน เจ้าหน้าที่ศุลกากรเป็นไปได้ยาก
ในอนาคตชิปปิ้งจะเป็นเหมือนทนายความให้คำปรึกษา และคิดค่าบริการเป็นชั่วโมง ส่วนงานการป้อนข้อมูลก็จะเป็นหน้าที่ของบริษัทที่ส่งออก และนำเข้าโดยตรง เพราะขั้นตอนจะง่าย และรวดเร็วขึ้น เหมือนการเสียภาษีสรรพากรเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว หรือผู้นำเข้า และผู้ส่งออกก็จะแค่กดปุมโอนข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์โดยตรงจากฐานข้อมูลของบริษัทที่ทำรายการอยู่แล้ว หรือฐานข้อมูลเดิม
 
ทนายความคนใดที่ไม่สามารถได้สอบตั๋วทนายได้ก็ขอแนะนำให้มาเรียนวิชาหลักสูตรตัวแทนออกของนำเข้า และส่งออกของสถานบัน ส่งเสริมการส่งออก และนำเข้าของสมาคมชิปปิ้ง และต้องสอบผ่านข้อสอบของกรมศุลกากร มีข่าวกระซิบว่า ที่ผ่านมาทางสมาคมชิปปิ้งฯ มีคนสอบผ่านได้ 95% ของนักเรียนที่ส่งไปสอบ สถาบันอื่นๆ สอบตกหมด รับรองท่านสอบได้ไม่กลัวตกงานแน่ ถ้าจะให้ดี ท่านควรจะเรียนภาษาอังกฤษด้วยยิ่งดี รายได้ไม่ต่ำกว่า 25,000 บาท เป็นที่ต้องการมาก สนใจติดต่อสมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย โทร 02 249 1995 และถ้าจะยิ่งดี ควรจะเรียนหลักสูตรผู้ชำนาญการศุลกากร ของกรมศุลกากรต่อ จะยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาด
 
หลายคนบอกว่า ชิปปิ้งจะอวสาน เพราะระบบคอมพิวเตอร์ ผมขอบอกว่า อาชีพชิปปิ้งไม่มีวันตาย ไม่ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วก็ยังมีอยู่ หนังชีวิตเรื่องนี้ไม่ใช่จบง่ายๆ เพราะในขณะที่ผู้นำเข้า และผู้ส่งออกกำลังเพลินกับการผ่าน green line ขอเตือนว่า ขณะนี้มีบริษัทนำเข้าในเครือสหรัฐอเมริกาโดนตรวจสอบย้อนหลัง หรือเรียกว่า post audit โดนปรับ 100 ล้านบาท มีบริษัทนำเข้าสินค้าอันตรายโดย post audit เพราะขณะนำเข้าได้ขอใบอนุญาตโดยปรับ 150 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็มีการจับหลังจากที่ 5 ปีที่แล้วมีการเข้าพิกัด และเสียภาษีนำเข้าผิดหลายบริษัท happy hours หมดเวลาแล้ว คราวนี้เทคนิคชิปปิ้งก็จะกลับมาใช้ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์จากหนักเป็นเบา หรือ เขียนคำโต้แย้งอย่างมีหลักการ ถ้าท่านผู้นำเข้า และผู้ส่งออกต้องการอุทรณ์โต้แย้งแล้วแพ้กรมศุลกากร และแพ้คณะกรรมธิการ ท่านก็สามารถฟ้องร้องต่อที่ศาลยุติธรรมดำเนินตามกระบวนพิจาณาของศาลต่อไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูล และหลักฐานข้อเท็จจริงของท่าน  รวมทั้งท่านมีเวลา และมีความพร้อมในค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และเงินที่ท่านจะต้องวางประกันด้วย

ท่านอาจจะไม่รู้ว่าท่านทวิช กลิ่นประทุม อดีต ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช เคยเป็นชิปปิ้งเก่ามาก่อน

ผมก็มีความภูมิใจนิดๆ ว่า อย่างน้อยอาชีพชิปปิ้งที่ชอบมีคนดูถูก เป็นอาชีพที่สุจริตอาชีพหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อวงการโลจิสติคส์อย่างมาก และช่วยพัฒนาประเทศชาติให้มีการนำเข้า และส่งออกอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผมเองก็เห็นใจเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรด้วย เพราะ หลายครั้งก็โดยชิปปิ้ง ด่าต่อว่า  เจ้าหน้าที่เองก็ต้องทำตามหน้าที่และกฎหมาย แต่บางครั้งก็
ไม่ถูกใจผู้นำเข้า และ ผู้ส่งออก     ผมพยายามประชุมกับหน่วยงานราชการ และ พยายามสื่อให้ท่านทั้งหลายให้ช่วยแก้กฎหมายให้ทันสมัย
และอำนวยความสะดวกแก่ทุกฝ่าย  เพื่อผู้ส่งออก จะได้ ส่งออกของง่ายขึ้น  และ ต้นทุนต่ำ จะขายสินค้าให้ต่างประเทศนำเงินเข้าประเทศมากๆ


ขอบคุณครับ
หยก แสงตะวัน

 

 

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright