สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

วิกฤติไซปรัส จุดชนวนรอยร้าวเล็ก ๆ ในยูโรโซน


            เกาะเล็ก ๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอย่าง "ประเทศไซปรัส" เข้ามาชิงพื้นที่ข่าวเศรษฐกิจทั่วโลกในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อ กลายเป็นประเทศที่ 5 ต่อจาก กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน ที่ต้องขอเงินช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จำนวน 1 หมื่นล้านยูโร (ประมาณ 3.8 แสนล้านบาท) เพื่อพยุงประเทศให้รอดพ้นจากภาวะล้มละลาย แต่ทว่า...เงื่อนไขสุดหินที่มาพร้อมกับการให้กู้เงินก้อนโต โดยให้เรียกเก็บภาษีเงินฝากจากประชาชนนั้น ไม่สามารถทำให้รัฐบาลไซปรัสยอมรับได้ สภาฯ จึงลงมติไม่รับเงื่อนไขในการขอรับเงินกู้จากอียู และไอเอ็มเอฟ ส่งผลให้สถานการณ์ของไซปรัสวิกฤติอย่างหนัก และสุ่มเสี่ยงที่จะต้องหลุดออกจากยูโรโซน

            ก่อนจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงเช่นนี้ขึ้น "ไซปรัส" ถูกยกให้เป็นเกาะสวรรค์ของนักลงทุนทางการเงิน และนักลงทุนทั่วโลก ด้วยนโยบายทางเศรษฐกิจที่ให้เก็บภาษีระดับต่ำกับคนต่างชาติที่นำเงินมาฝาก แต่นั่นก็ทำให้ "ไซปรัส" ถูกมองว่าเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษี และ "สวรรค์แห่งการฟอกเงิน" ของบรรดาเศรษฐีทั้งหลาย โดยเฉพาะชาวรัสเซียที่มีเงินฝากมหาศาลบนเกาะแห่งนี้

            เมื่อมีเงินฝากหมุนเวียนเข้าออกในปริมาณมาก นั่นจึงทำให้ภาคธนาคารของไซปรัสใหญ่มหาศาล ถึง 8 เท่าของขนาดเศรษฐกิจ ธนาคารหลายแห่งในไซปรัสจึงนำเงินฝากที่ได้มาไปลงทุนในประเทศต่าง ๆ ซึ่งเงินทุนส่วนใหญ่ถูกนำไปลงทุนในประเทศกรีซ ประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากคนไซปรัสกว่า 80% มีพื้นเพมาจากคนกรีซ

            แต่แล้วเมื่อช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา "ไซปรัส" ก็ต้องเจ็บหนัก เมื่อกรีซเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจนล้มทั้งยืน ธนาคารไซปรัส ซึ่งนำเงินไปลงทุนไว้ในพันธบัตรของกรีซ จึงได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประกอบกับไม่สามารถส่งสินค้าออกไปขายให้กรีซได้เท่าเดิม ทำให้เศรษฐกิจในประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย รัฐบาลไซปรัสขาดดุลต่อเนื่องประมาณร้อยละ 6% ขณะที่สัดส่วนคนตกงานก็เพิ่มขึ้นจาก 6.8% เป็น 14.7% สุดท้าย หนี้ภาครัฐก็ยิ่งพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ จาก 50% มาอยู่ที่ 70%

            สถานการณ์ ที่สุ่มเสี่ยงจะล้มละลายเช่นนี้ ไซปรัส จึงมิอาจหลีกเลี่ยงการไปขอกู้ยืมเงินจากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อนำเงินมาพยุงสถานะของ ธนาคารต่าง ๆ ซึ่งองค์กรทั้งสองแห่งก็อนุมัติเงินกู้ให้ไซปรัส จำนวน 1 หมื่นล้านยูโร (ประมาณ 3.8 แสนล้านบาท) แต่แลกกับเงื่อนไขที่รัฐบาลไซปรัสจะต้องเดินหน้ามาตรการรัดเข็มขัด ทั้งหาทางตัดลดการขาดดุลงบประมาณ ดำเนินการแปรรูปนโยบายรัฐวิสาหกิจ

            แต่เงื่อนไขที่โหดที่สุดก็คือ การ ที่อียูบังคับให้ธนาคารในไซปรัสต้องเรียกเก็บภาษีเงินฝากในอัตรา 9.9% สำหรับบัญชีเงินฝากที่มียอดเงินเกิน 100,000 ยูโร (ประมาณ 3.8 ล้านบาท) ส่วนผู้ที่มีเงินฝากน้อยกว่า 100,000 ยูโร ก็จะต้องถูกหักภาษีในอัตรา 6.75% และดอกเบี้ยเหล่านี้ก็จะถูกหักภาษีด้วย เพื่อให้ได้เงินมาเพิ่มอีก 5.8 พันล้านยูโร (ราว 2.18 แสนล้านบาท) ในการค้ำประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าว และนำมาช่วยลดภาระหนี้ของทางรัฐบาลอีกทางหนึ่ง ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกที่ อียู กำหนดให้ธนาคารในประเทศที่ขอกู้ยืมเงินต้องเก็บภาษีเงินฝากของลูกค้า เรื่องนี้ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์กันว่า ต่อไปธนาคารของประเทศเล็ก ๆ ในกลุ่มยูโรโซนจะถูกบังคับให้ทำตามเงื่อนไขเงินกู้ในแบบเดียวกันนี้

วิกฤติ ไซปรัส


            ไม่น่าแปลกใจที่เมื่อ อียู เสนอเงื่อนไขนี้แลกกับการให้เงินกู้ยืม 1 หมื่นล้านยูโร จึง ทำให้ประชาชนชาวไซปรัสตื่นตระหนกแห่กันไปถอนเงินออกจากธนาคารทุกแห่งใน ประเทศจนหวิดจะเกิดจลาจลย่อม ๆ ส่งผลให้ธนาคารในไซปรัสต้องปิดทำการต่อเนื่องหลายวัน เพราะปกติแล้วผู้ที่ฝากเงินน้อยกว่า 100,000 ยูโร จะได้รับการปกป้องจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไซปรัส

            อย่าง ไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวมีอันต้องพับเก็บไปก่อน เมื่อประชาชนต่อต้านการเก็บภาษีเงินฝากอย่างรุนแรง และออกมารวมตัวกันบนถนนสายต่าง ๆ นอกอาคารรัฐสภา เป็นเหตุให้เมื่อวัน อังคารที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไซปรัส ลงมติคว่ำมาตรการเก็บภาษีเงินฝากเพื่อแลกกับเงินกู้ โดยไม่มี ส.ส.คนไหนยกมือสนับสนุนแม้แต่คนเดียว ท่ามกลางความดีใจของชาวไซปรัส และมติดังกล่าวก็ทำให้ไซปรัสเป็นชาติแรก ที่สภานิติบัญญัติคัดค้านเงื่อนไขรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป หลังจาก 3 ปีที่ผ่านมารัฐสภาทั้งกรีซ, ไอร์แลนด์, โปรตุเกส, สเปน  ต่างจำยอมอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัดอันเจ็บปวดเพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือ

            เมื่อสภานิติบัญญัติมีมติออกมาเช่นนี้ รัฐบาลไซปรัสก็ต้องกุมขมับและดิ้นรนในการหาทางออกใหม่ โดย ประธานาธิบดีนิกอส อนัสตาเชียดิส แห่งไซปรัส หันไปติดต่อขอความช่วยเหลือจากประเทศรัสเซีย ประเทศนอกยูโรโซนที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน โดยไซปรัสกำลังพยายามเจรจาขอกู้เงินจากรัสเซียเพิ่มอีก 5,000 ล้านยูโร (ราว 1.9 แสนล้านบาท) พร้อมกับขอให้รัสเซียขยายกำหนดเวลาชำระหนี้ 2,500 ล้านยูโร (9.5 หมื่นล้านบาท) ในปี 2559 ออกไปอีก 5 ปี และลดดอกเบี้ย

            อย่าง ไรก็ตาม รัสเซีย ซึ่งมีเงินฝากไว้ในธนาคารของไซปรัสคิดเป็นถึงร้อยละ 30 ของทั้งหมด ยังไม่มีท่าทีตอบรับใด ๆ ที่จะให้ความช่วยเหลือไซปรัส แต่นักวิเคราะห์หลายคนก็มองว่า รัสเซีย ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของไซปรัส อาจจะยอมให้ความช่วยเหลือไซปรัสอีกครั้ง โดยแลกกับการที่ไซปรัสจะยอมให้รัสเซียเข้ามาลงทุนในแหล่งก๊าซธรรมชาติสำรอง ปริมาณมหาศาล นอกชายฝั่งใกล้กับอิสราเอล ซึ่งยังไม่มีการพัฒนาขุดเจาะ และข้อเสนอนี้น่าจะถูกใจรัสเซียไม่น้อย เพราะทำให้รัสเซียเหมือนเป็นผู้ผูกขาดการจัดหาพลังงานแก่ยุโรปไปโดยปริยาย ประจวบเหมาะที่รัฐมนตรีพลังงานของไซปรัสเดินทางไปร่วมนิทรรศการท่องเที่ยว ที่กรุงมอสโกพอดิบพอดี

            ขณะที่ฟากฝั่งยูโรโซนก็กังวลอยู่ลึก ๆ ว่า หากรัสเซียยอมให้ไซปรัสกู้เงินอีก รัสเซียก็จะเข้ามามีอิทธิพลในไซปรัสมากขึ้น แต่หาก อียู เข้าไปอุ้มไซปรัส ก็จะส่งผลให้อิทธิพลของรัสเซียในไซปรัสและในประเทศอื่น ๆ ในยุโรปลดลง จึงมีความพยายามจะกดดันให้ไซปรัสรีบรับข้อเสนอของ อียู โดยเร็ว

            เช่น นั้นแล้ว อียู จึงประกาศขีดเส้นตายให้เวลาไซปรัสหาแผนสอง เพื่อรวบรวมเงิน 5,800 ล้านยูโร มาค้ำประกันเงินกู้ 1 หมื่นล้านยูโรที่อียูจะมอบให้ ภายในวันจันทร์ที่ 25 มีนาคมนี้ ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ก็ขู่จะระงับการให้เงินเสริมสภาพคล่องแก่ธนาคารในไซปรัสทันที หากรัฐบาลไม่รีบตกลงรับความช่วยเหลือเงินกู้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ธนาคารในไซปรัสจะต้องล้มละลาย และท้ายที่สุดไซปรัสก็จะต้องถูกขับออกจากยูโรโซนไป เพื่อยับยั้งความเสียหายไม่ให้ลุกลามกระทบต่อเศรษฐกิจของยูโร

            อย่างไรก็ตาม เมื่อมองภาพรวมวิกฤติในไซปรัสแล้ว อาจจะไม่ได้กระทบต่อเศรษฐกิจโลก และยูโรโซนเองเท่าใดนัก เพราะประเทศไซปรัสที่มีประชากรราว 1 ล้านคน มีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กมาก คิดเป็นเพียงราว 0.5% ของขนาด GDP ทั้งหมดของยูโรโซนเท่านั้น แต่ถ้าหากไซปรัสต้องหลุดออกจากกลุ่มยูโรโซนไปจริง ๆ ก็อาจมีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของค่าเงินยูโรก็เป็นได้



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright