การจำแนกพิธีการศุลกากรตามรูปแบบการนำเข้า-ส่งออกในรูปแบบการขนส่งได้แก่ การขนส่งทางเรือ (ทางทะเล) การขนส่งทางรถยนต์ (ทางอากาศ) และการขนส่งไปรษณีย์ จากที่แต่เดิม การนำเข้า-ส่งออกจะอาศักหลักเกณฑ์ของบัญญัติแห่งกฏหมายว่าด้วยพิธีการทางเรือ โดยอาศักบทบัญญัติในมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ในการปฏิบัติพิธีการทางอื่นๆโดยอนุโลมแม้ว่าการปฏิบัติพิธีกาศุลกากรจะมีจำแนกตามรูปแบบการขนส่งออกจากกันแล้วแต่การขนส่งทางทะเลนั้นยังคงได้รับความนิยมในระดับสากล ด้วยขีดความสามารถในการรับรองการขนส่งที่บรรรจุด้วยตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมากในการเดินทางแต่ละครั้งและเป็นรูปแบบการขนส่งหลักในระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศซึ่งเป็นหนึ่งนโยบายสำคัญที่รัฐบาลได้ขับเคลื่อนให้เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยกำหนดอยู่ในแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศที่มีเป้าหมายให้ประเทศไทยสามารถยกระดับระบบดลจิสติกส์ของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางทางการค้าการบริการ และการลงทุนในภูมิภาคประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
1.การพัฒนาเพิ่มมูลค่าระบบห่วงโซ่อุปทาน
2.การพัฒนาโครงสร้างพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
3.การพัฒนาปัจจัยสนันสนุนด้านโลจิสติกส์
ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนันสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการดำเนินการลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงาน และภาคีการพัฒนาต่างๆที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้มีผลในการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนโดยในส่วนของกรมศุลกากร ในฐานะหน่วยงานหนึ่งที่มีภารกิจในการเข้าไปบูรณาการ ให้ความร่วมมือกับทุกหน่อวยงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและเครือข่ายโลจิสติกส์ตามเส้นทางยุทธศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงอนุภูมิภาคและเป็นประตูการค้า ตลอดจนพัฒนาระบบNSWให้สมบูรณ์เพื่ออำนวยให้เกิดความสะดวกทางการค้าไม่เพียงแต่จะมีความพร้อมในด้านการให้บริการ ภายใต้กรอบภารกิจที่ได้รับมอบหมายเพื่อมาสนับสนุนกิจกรรมการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน อาทิ โครงการยื่นบัญชีสินค้าสำหรับเรือก่อนสินค้ามาถึง (Pre-Arrival) เพื่อลดระยะเวลาในการตรวจปล่อยสินค้า,การจัดหาระบบตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์สินค้าด้วยเครื่องเอกซเรย์แบบขับผ่าน (Drive Through X-Ray), การชำระค่าภาษีอากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-payment การเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงข้อมูลระบบ National Single window
นอกจากนี้ กรมศุลกากรยังมีนโยบายในการอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการที่มาติดต่อราชการให้สามารถเข้าถึงการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ณ ด่านศุลกากรต่างๆ ทั้วประเทศโดยไม่ถูกจำกัดว่าจะต้องเป็นท่าที่มีการนำเข้า-ส่งออกเท่านั้น การที่ผู้ประกอบการมีอิสระในการเลือกเข้าใช้บริการกับด่านศุลกากรหรือสำนักงานศุลกากรที่ตนเองได้รับความสะดวกที่สุดทำให้มีการปฏิบัติพิธีการโดยจะต้องเคลื่อนย้ายสินค้าข่ามเขตพื้นที่รับผิดชอบของด่านศุลกากรจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งหรือที่เรีกยว่าการลากตู้ ทั้งการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างท่าเรือที่เป็นท่านำเข้าไปยังสถานที่ต่างๆในพื้นที่รับผิดชอบของด่านศุลกากร เช่นด่านศัลกากร หรือสำนักศุลกากรแห่งอื่น โรงพักสินค้าคลังทัณฑ์บน เขตปลอดอากรที่กระจายอยุ่ทั่วประเทศ โดยที่สินค้าดังกล่าวยังต้องถือว่ายังอยู่อารักขาของศุลกากร เนื่องจากยังมิได้ชำระภาษีอากรและยังไมได้รับการตรวจปล่อยออกจากอารักขาซึ่งกฏหมายได้กำหนดถึงหน้าที่ของพนักงานศุลกากรที่เกี่ยวข้องให้มีหน้าที่ในการกำกับติดตามและควบคุมสินค้าที่ยังอยู่ในอารักขาเช่นนี้อย่างเคร่งครัดเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตลหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรหรือลักลอบหนีศุลกากร
ดังนั้นสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังในฐานะท่านำเข้าหลักของประเทศจึงมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการควบคุมกำกับและติดตามการขนส่งสินค้าระหว่างกรมศุลกากรด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆมาประยุกค์ใช้กับกระบวนงานของกรมศุลกากรอย่างบูรณาการเพื่อใช้ในการตรวจสอบสินค้าที่มีการนำเข้าและจะถูกเคลื่อนย้ายส่งไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อปฏิบัติศุลกากรดังต่อไปนี้
1.ระบบการยื่นบัญชีสินค้าก่อนเรือสินค้ามาถึง (Pre-arrival)
2.ระบบเอกซ์เรย์ตู้คอนเทรนเนอร์สินค้าแบบขับผ่าน (Drive Through X-ray)
3.ระบบติดตามทางศุลกากรภายใต้เทคโนโลยีกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Lock System)
4.ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)
5.ระบบ National Single Window (NSW)
6.ระบบการชำระค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม รายได้อื่นๆและหรือเงินประกันผ่านช่องทางการให้บริการของธนาคารและตัวแทนรับชำระ (Bill payment)
การควบคุมและกำกับติดตามการขนส่งสินค้าด้วยระยะเวลาในขนส่งด้วยการบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีข้างต้นหน่วยงานกรมศุลกากรที่รับผิดชอบในด้านการปฏิบัติพิธีการสินค้าที่นำเข้าและส่งออกทางทะเล จะสามารถบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมทางศุลกากรแก่สินค้าที่ต้องภาระค่าภาษีอากรมิให้อาศัยช่องว่างขอการเคลื่อนย้ายสินค้าใน ที่อยู่ในอารักขาในการลักลอบหนีศุลกากรหรือหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรอันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามซึ่งส่งผลให้การจัดเก็บภาษีศุลกากรของกรมศุลกากรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
(ข้อมูลจากสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง)
Cr.ctat