สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

เที่ยวไปตามตะวัน บุกบั่นไปตามลม   สนุกสุขสม หัวใจหงายคว่ำ
ชีพที่ยาวนาน หรือสั้นแต่เพียงคำ   เอาตูดแช่น้ำแล้วเดินต่อไป
เพื่อเสาะหา นภาคลุมครอบ   สายลมคงรอบไว้ สายใจไหลลู่สู่สวรรค์
เที่ยวก็กินกันบ่นมันไปใย   ค่ำที่ไหนก็นอนที่นั่น
อยู่ก็ลืมตา ขึ้นมาดูตะวัน   ว่าโลกสร้างสรรค์สวยงามให้เรา
บอกให้รู้ ให้ดูความจริงทิ้งคืนเพื่อสู่เช้า   ให้เราทิ้งเศร้าสู่สดใส
โลกมีมายาจะบ้าก็ในเมือง   เรียกรุ่งเรืองก็คงจะไม่
โลกในความจริงคือสิ่งอยู่ในใจ   นั่นแหละไซร้วัดความรุ่งเรือง
อีกเมฆานภาตระหง่านสายธารที่ผ่านเมือง   สามลมนองเนืองสู่หุบเขา
เที่ยวตามใจปอง ท่องตามทางมี   สุขอย่างนี้แล้วมีใดเท่า
มั่นในความจริงแต่หยิ่งในตัวเรา   มีเพื่อนเป็นภูเขาแล้วกลัวอะไร
อีกทะเลทั้งเหทั้งกล่อมทั้งยอมเป็นเพื่อนใจ   ต้นไม้ ทราย คลองพี่น้องกัน
 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่เคารพ

ผมขอบางส่วนของบทเพลงเที่ยวละไม ของวงเฉลียงมาเริ่ม เพื่อให้ดูว่า โลกเรานีสร้างสรรคสวยงามให้เราจากธรรมชาติ แต่มนุษย์เราเริ่มที่จะทำลายมัน เพราะประขากรและการพัฒนาของเรา
การพัฒนาก็ต้องใช้พลังงานต่างๆ และพลังงานเหล่านี้ก็สร้างปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (อังกฤษ: United Nations Framework Convention on Climate Change หรือย่อเป็น UNFCCC หรือ FCCC) เป็นอนุสัญญา “กรอบการทำงาน” ที่จำเป็นต้องมีวิธีการทางกฎหมายในการสนับสนุน (เช่น พิธีสารต่างๆ) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีเป้าหมายแบบไม่ผูกมัด ซึ่งเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือเท่ากับระดับ พ.ศ. 2533 ภายใน พ.ศ. 2543 แต่จากที่ได้ประเมินในปี พ.ศ. 2538 พบว่าเป้าหมายโดยสมัครใจนี้ไม่เพียงพอ
ดังนั้นใน พ.ศ. 2538 ประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญากรอบการทำงานแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งกระบวนการในการเจรจา เพื่อพิธีสารที่มีเป้าหมายผูกมัด และกำหนดเวลา “ในฐานะเป็นเรื่องเร่งด่วน” ซึ่งเป็นที่มาของ พิธีสารเกียวโต ซึ่งได้รับความเห็นพ้องในเดือนธันวาคม 2540 และในที่สุดมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

ในการประชุมประจำปีของอนุสัญญาฯ เรียกว่า การประชุมสมัชชาภาคี (Conference of Parties; COPS) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมคือ เจ้าหน้าที่รัฐบาล นักวิ่งเต้นจากภาคอุตสาหกรรม กรีนพีซ และอีกหลายๆ กลุ่ม ฝ่ายต่างๆ ตอนนี้ประเทศพัฒนาเริ่มเกิดความชอบธรรมในการดำเนินการขบวนการกีกกันทางด้านค้าแล้ว ด้วยการสร้างมาตรฐานต่างๆ และให้เราผู้ส่งออก และชาวโลจิสติคส์มาเสียเงินมากขึ้น หรือทำให้ต้องไปเข้าเรียนหลักสูตรที่ประเทศพัฒนาแล้วตั้งขึ้นมา

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้รับรายงานจาก กรมองค์การระหว่างประเทศ กองกิจการเพื่อการพัฒนา กระทรวงการต่างประเทศว่า ด้วยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 กระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์จัดบรรยายสรุปเกียวกับท่าที และนโยบายของนอร์เวย์ต่อการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 15 (UNFCCC COP15) ซึ่งนาย Hanne Bjurstrom ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จะเป็นหัวหน้าทีมเจรจาของนอร์เวย์ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. นอร์เวย์ยืนยันพันธกรณีตามพิธีสารเกียวโต และพร้อมลดภาวะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ภายในประเทศ ซึ่งอันนี้ ผมเห็นด้วย เพราะ ทุกวันอากาศร้อนมาก ๆ
 
2. ในระยะยาว นอร์เวย์มีเป้าหมายลดการปล่อย GHG ลงร้อยละ 30 ในปี ค.ศ. 2020 จากปี ฐาน ค.ศ. 1990 และพร้อมจะลดลงถึงร้อยละ 40 หากประเทศพัฒนาแล้วมีท่าทีที่ผูกมัดมากขึ้น ทั้งนี้ นอร์เวย์มีเป้าหมายที่จะปล่อย GHG เป็นศูนย์ (เมื่อรวมมาตรฐานหักล้างส่วนต่างๆ) ในปี ค.ศ. 2050 นอร์เวย์ต้องลดการปล่อย GHG ภายในประเทศลงอย่างน้อย 2 ใน 3 ของทั้งหมด ขณะนี้ ร้อยละ 70 ของมาตรการลดการปล่อย GHG ของนอร์เวย์มาจากการซื้อขายโควต้าและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อหักล้างการปล่อย GHG
ส่วนประเด็นนี้เป็นเรื่องใหญ่แล้วครับ ผมได้ถามกรรมการสภาหอการค้าฯ ทุกคนกลัวว่าในอนาคตจะต้องมีการซื้อขาย เหมือนที่เราจะต้องแย่งโควต้าส่งออกข้าว น้ำตาล หรือ ในอดีตที่มีการซื้อขายโควต้าส่งออกเสื้อผ้า ซึ่งเรื่องนี้น่ากลัวมาก จะเริ่มขบวนนักซื้อขายโควต้าคาร์บอนไดออกไซด์ โรงงาน หรือผู้ส่งออกที่ส่งสินค้าที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องทำใจ และคิดต้นทุนให้ดี
ใครที่เคยเป็นมือปีนซื้อขายโควต้า ขอให้เรียนรู้ไว้ ถ้าผู้ส่งออกที่ปรับปรุงโรงงานให้เข้ามาตรฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็จะได้เปรียบ
 
3. สำหรับการประชุม COP15 นอร์เวย์เห็นว่าประเทศพัฒนาแล้วต้องมีบทบาทนำ โดยกำหนดพันธกรณีการลด GHG ลงระหว่างร้อยละ 25-40 ในปี ค.ศ. 2020 (จากปีฐาน ค.ศ. 1990) และประเทศกำลังพัฒนาควรต้องมีพันธะเช่นเดียวกันในการตั้งเป้าหมายการลด GHG แต่ในระดับที่ต่างกัน
 
4. นอร์เวย์เห็นว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งอุตสาหกรรมการเดินเรือ การลดการปล่อย GHG จากการทำลายป่า และการเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา (REDD) จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของความตกลง โดยมีมาตรการที่สามารถตรวจสอบ รายงาน และพิสูจน์ได้ (MRV) ผมได้ข่าวมาว่า เจ้า MRV หรือย่อมาจากคำว่า Measurable, Reportable   and Verifiable จะเป็นหน่วยงานที่มาตรวจสอบ หรือ Auditor คล้ายๆ กับค่าใช้จ่ายที่เราจะต้องจ่ายให้ผู้มาตรวจสอบ หรือ Verify Body ของระบบเดียวกับ ISO9002  ต้องมีการทำแผนแล้ว ผู้ส่งออกเตรียมจ่ายค่าใช้บริการ  แล้วเวลาท่านมาตรวจ ลูกน้องท่านก็ขยันผิดปกติ ไม่อยู่ที่ทำงานพากันออกตลาดหมด แล้วเจ้าของก็โดนตรวจเสียเองคนเดียว กรรมเวร เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา และเสียทั้งความรู้สีกที่ต้องให้คนที่เราจ่ายตัง มาด่ามาสอนเรา คิดแล้วมันเศร้า เครียด กิน เหล้า
ได้ข่าวมาอีกว่า งานนี้ ฝรั่งจะทำเอง แล้วเราต้องจ่ายค่าบริการแพง มีการสร้างหลักสูตรให้ซับซ้อน เสียเวลาไปนั่งห้องเรียน เสียค่าเช่าสถานที่ จ่ายค่าล่วงเวลากับลูกน้อง  จนท่านมิอาจจะพลิกตำราเพลงดาบของท่านมาเทียมทานได้ ดูมันให้ลึกก็จะเจอ Back to the Basic มาหลอกขายท่านเช่นเคย
 
ผมขอเสนอให้ทางราชการพยายามต่อลองให้สถาบันการศึกษาของเราอย่างมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าฯ ธนบุรี ให้มีส่วนร่วมในการหลักสูตรนี้  เราจะได้ใช้บุคคลที่มีความรู้มาพัฒนาให้เป็นตามแนวทางเดียวกับที่ประชุมองค์การค้าระหว่างประเทศ และนักธุรกิจให้เหมือนกับ ตอนที่เราถูกบังคับให้มาตรฐาน ISO 9002  แล้วเราต้องเสียเงินให้ต่างประเทศเป็นล้านๆ พอกันทีกันการฝึกอบรมที่ต้องมีคนต่างชาติมารับรอง เราควรสร้างมาตรฐานให้เทียบเท่าหรือสูงกว่าต่างประเทศ     ประเทศไทยเรามีดีเรื่องการรักษานิเวศ มีการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ มีการพัฒนาการปลูกพืชแบบวิธีธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมี มีระบบรถที่ใช้ NGV อย่างแพร่หลาย   มีฏหมายปิดป่า ในประเทศต้นๆ ในเอเชีย หน่วยราชการต้องประชาสัมพันธ์ให้ต่างประเทศทราบว่า เรามีอนุรักษ์ธรรมชาติ
 
5. นอร์เวย์ได้เข้าไปช่วยเหลือประเทสกำลังพัฒนา โดยริเริ่มโครงการลดการปล่อย GHG จากการทำลายป่า โดยตั้งงบประมาณไว้ 3,000 ล้านโครนต่อปี
 
6. นอร์เวย์ให้ความสำคัญกับเรื่องการกักเก็บก๊าซ CO2 (Carbon Capture and Storage: CCS) โดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่อใช้เป็นมาตรการที่สำคัญในการช่วยลดการปล่อย GHG ในประเด็นนี้ ประเทศพัฒนาแล้ว จะต้องบังคับให้เราจ่ายค่าเครื่องวัดที่เขาผลิตออกมา เสียเงินอีกแล้ว  ห้ามลอกเลียนแบบ ห้ามแกะกล่อง โชคไม่ดีเจอไม้ล้างป่าช้า ก็ซวยกันไป เรากำลังตกเป็นเครื่องมือของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ต้องการขายเครื่องมืออุปกรณ์ที่แพง หนึ่งในตัวอย่าง เครื่องมือวัดค่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้ไปดูแยกสุดถนนสาธร เข้าถนนวิทยุกับถนนพระรามสี่หน้าสวนลุมพีนี
 
ผมขอเสนอให้กรมเจรจาการค้า หรือหน่วยงานที่ต้องไปต่อรองกับประเทศที่จะขายเครื่องมือแพงว่า มันควรมีทางเลือกที่ช่วยธรรมชาติ และมาจากธรรมชาติ และที่สำคัญ ต้อง ให้มีทางเลือกที่ประหยัดคือ การตรวจสอบคุณภาพอากาศด้วยวิธีการทางชีวภาพ

การสำรวจไลเคนเป็นการตรวจสอบคุณภาพอากาศด้วยวิธีการทางชีวภาพ สามารถใช้เสริมการตรวจสอบคุณภาพอากาศด้วยเครื่องดักจับอากาศ เพื่อวิเคราะห์ทางเคมีได้เป็นอย่างดี เพราะทั้งสองวิธีมีจุดอ่อนจุดแข็งแตกต่างกัน การสำรวจไลเคนให้ภาพรวมของคุณภาพอากาศในพื้นท ี่และสะท้อนผลกระทบที่สะสมจากกิจกรรมต่างๆ  ในขณะที่เครื่องตรวจจับอากาศวัดคุณภาพอากาศเฉพาะในช่วงเวลาที่ทำการดักวัดอากาศเท่านั้น ที่สำคัญเครื่องตรวจวัดอากาศมีราคาแพงมาก และการเดินเครื่องวัดก็มีค่าใช้จ่ายสูง จึงมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติมากกว่า แต่การสำรวจไลเคนสามารถทำได้ทั่วไป โดยแทบไม่มีค่าใช้จ่าย ทุกคนจึงสามารถทำได้
การสำรวจไลเคนจึงเหมาะกับการติดตามเฝ้าระวังคุณภาพอากาศตามท้องถิ่นต่างๆ หากที่ใดพบปัญหามาก ก็สามารถตรวจวัดรายละเอียดมลภาวะแต่ละประเภทเพิ่มเติมด้วยเครื่องดักจับอากาศได้
ความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นอยู่กับความสามารถในการจำแนกชนิดพันธุ์ไลเคนได้ถูกต้องเป็นสำคัญ เยาวชนที่จะสำรวจไลเคนได้จึงต้องผ่านการฝึกอบรมก่อนออกปฏิบัติการ  นอกจากนี้ยังมีพี่เลี้ยงซึ่งได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญไลเคนติดตามไปช่วยเหลือด้วย
 
ถ้าไม่มีทางเลีอกของให้รัฐบาลส่งเสริมวิจัยและศึกษาเครื่องมือนี้ กับ สถานบันการศึกษาชั้นนำ ให้ประเทศไทยผลิตเองได้โดยไม่ต้องนำเข้า ผมกลัวว่า จะมีการถูกบังคับให้ทุกโรงงานส่งออกในประเทศไทยให้ติดเครื่องนี้แล้ว คราวนี้จะสายไปเสียแล้ว ถ้าเราไม่เตรียมความพร้อม

7. ในการประชุม COP15 นอร์เวย์เห็นว่าควรต้องมีการพิจารณาให้ครอบคลุมถึงการปล่อยมลภาวะจากการเดินเรือ และการเดินอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินเรือ ซึ่งองค์การการเดินเรือระหว่างประเทศ (IMO) ควรมีพันธะและมาตรการที่ไม่น้อยไปกว่าเป้าหมายของที่ประชุม
ผมทราบมาว่า ธุรกิจโลจิสติคส์จะต้องเป็นแพะ ในเรื่องนี้ เพราะตอนนี้การขนส่งหรือเดินทางโดยทางบก เป็นตัวสร้างก๊าซ CO2 มากที่สุด แต่เท่าที่ทราบมาว่า รถบรรทุกที่ติดแก๊ส  NGV เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็ให้ท่านเจ้าของธุรกิจโลจิสติคส์ไปคิดดูถ้าติดแล้ว ได้เงินค่า CO 2 ก็ไม่เลว ส่วนทางเรือ และ การอากาศ ก็จงทำใจ ถ้ามีการเก็บค่าใช้จ่ายตัวนี้  ท่านผู้ส่งออกก็จะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายนี้ในต้นทุนสินค้าส่งออกด้วย ถ้าขายราคา CIF อีกหน่อยบริษัทเรืออาจเรียกเก็บจาก ท่านผู้ส่งออก เป็นค่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์   หรือในหอการค้าเรียกย่อ ๆ ว่า ค่าคาร์บอน
 
รัฐบาลควรจะเริ่มส่งเสริมการขนส่งทางน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำ และรถไฟอย่างจริง เพราะตอนนี้ นักการเมืองเรามีแต่ตัดถนน แล้วกินหิน กินปูนกันแล้ว ยังไม่พอ ยังมีหน้า ประกาศชื่อว่า สส สก...  เป็นคนของบตัดถนนเส้นนี้ เอาเงินภาษีเราไปโฆษณาอีก อย่างนี้ทางเจ้าหน้าที่เขต หรือท้องถิ่นต้องเก็บภาษีป้ายเสียให้เข็ด ประเทศอินเดีย เป็นประเทศที่มีการขนส่งทางรถไฟที่คุ้มค่า และไปได้ทั่วถึง คนจนของประเทศสามารถเดินได้จำนวนมาก สินค้าก็ส่งออกไปได้ง่าย และประหยัดต้นทุน การขนส่งที่เกิน 400 กม ต่อเที่ยว ไม่ควรจะใช้รถบรรทุก เพราะต้นทุนสูงมาก ทั้งยังทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คนขับก็เหนื่อย ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมาก

8. นอร์เวย์เสนอให้มีการประมูลโควตาที่ได้จากการซื้อขายโควตาการปล่อยก๊าซ (Emission Allowance) บางส่วน เพื่อนำเงินดังกล่าวมาเป็นงบประมาณเพิ่มเติมในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านการปล่อยก๊าซนอกเหนือจากเงินช่วยเหลือด้านการพัฒนาปกติ
ผมเห็นด้วย เพราะที่ผ่านมาประเทศที่พัฒนาแล้ว ปล่อยเจ้าก๊าซนี้มากกว่าเขาเพื่อน ตัวเองพัฒนาจนสุดแล้ว พอประเทศกำลังพัฒนาจะพัฒนาบ้างก็เริ่มมีการตั้งกฎเกณท์ เพื่อ คนมาที่หลังจะได้พัฒนาไม่ให้ทัน
 
9. นอร์เวย์ให้ความสำคัญกับปัญหาผลกระทบต่อขั้วโลกทั้งสอง ซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยรวม
 
นอกจากนี้ ยังมีการนิยามเกี่ยวกับสินค้าสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ น่าสนใจ แล้วท่านทั้งหลายจะต้องเจอศัพท์เหล่านี้ในอนาคต
คำนิยามสินค้าสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเป็นทางการในอนาคต ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นบทร่างในเวที  WTO
1. วัตถุประสงค์ในการใช้ (end-use) -single end - use/miliple end-use  ซึ่งประเทศกำลังพัฒนามีความเห็นว่าสินค้านี้ว่า single use ควรจะเป็นสินค้าสิ่งแวดล้อม ไม่ควรจะนำสินค้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออุตสาหกรรมอื่นมาใช้เป็นสินค้าสิ่งแวดล้อม
2. กำหนดพิกัดศุลกากรได้
3. ใช้วิธีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Production Processing Methods : PPMs) ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญมีความเห็นว่า การใช้หลัก
PPMs จะป็นประโยชน์แก่ประเทศที่พัฒนาแล้ว  เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ย่อมมีเทคโนโลยี่ชั้นสูงที่ทำให้กระบวนการผลิตสะอาด
4. สินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Enviornment Preferably Products : EPPs) ประเทศกำลังพัฒนามีความคิดเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว น่าจะได้รับประโยชน์มากกว่า เพราะอาจจะนำสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรมากกว่าสินค้าที่ประเทศกำลังพัฒนาผลิตได้ออกมาดึงสินค้าสิ่งแวดล้อม
5. การติดฉลากสิ่งแวดล้อม ประเด็นนี้ประเทศกำลังพัฒนามีความเห็นว่า ในปัจุจบันการติดฉลากเป็นเรื่องของความสมัครใจ หากนำมาเป็นเด็นเรื่องสินค้าสิ่งแวดล้อมก็จะกลายเป็นมาตรฐานบังคับ
6. List  Approach คือ ให้มีการเสนอรายสินค้าสินค้าสิ่งแวดล้อมเข้ามา
7. Project Approach เป็นข้อเสนอของประเทศอินเดีย โดยให้พิจารณาสิทธิพิเศษต่อสินค้าภายใต้โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่ง
ปัจจุบันยังคงมีการหารือเรื่องนี้อยู่ และที่ผ่านมาประเทศไทยก็ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนว่า จะเลือกแนวทางใด
8. Core  list เป็นสินค้าที่ประเทศสมาชิก มีความเห็นสอดคล้องกั้นว่า เป็นสินค้าสิ่งแวดล้อม
9. Complementary list   เป็น สินค้าที่ประเทศสมาชิก ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน
10. Common list คือราบการที่ประเทศกำลังพัฒนาศักยภาพในการส่งออก
11. Develpment list  คือ รายการที่ประเทศกำลังพัฒนายังไม่มีศักยภาพในการส่งออก เพราะฉะนั้น หากนำมาเป็นสินค้าสิ่งแวดล้อมจะต้องให้การลดหย่อนภาษี และมีการกำหนดลดภาษีที่ต่างกันไป

สรุป อย่างไม่เป็นทางการ สินค้าสิ่งแวดล้อม ควรเป็นสินค้าที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อสิ่งแวดบ้อม และเป็นสินค้าที่สามารถระบุพิกัดทางศุลกากรได้อย่างชัดเจน

ต่อไปนี้ ท่านเตรียมจ่ายค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในต้นทุนสินค้าของท่าน ท่านจะต้องเตรียมพัฒนาระบบการผลิต เพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ เครื่องจักรก็ต้องเป็นมิตรด้วยไม่ปล่อยกากที่เป็นพิษ ห้ามพนักงานผายลมเวลาทำงาน เพราะมันจะสร้าง CO2 ต่อสินค้าที่เราผลิตได้ ...พูดเล่น
 
ขอให้ท่านผู้ใหญ่ในรัฐบาลหันมามองภาคธุรกิจที่จะโดนเล่นงานจากมาตรการที่จะเป็นการกีดกันทางด้านการค้าที่ประเทศพัฒนาพยายามสร้างขึ้นอย่างฉลาด แบบเชื่อดนิ่มๆ
ในห้องประชุมสภาหอการค้าได้ท้วงติงหน่วยราชการแห่งหนึ่งว่า  ทำไมกระทรวงพาณิชน์ ไม่อยู่ในคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ) เป็นประธาน เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุม ?
 
เดี๋ยวนี้อะไรก็เป็นธุรกิจไปหมด สหรัฐอเมริกาส่งทหารไปอิรักก็ดูดีว่าไปปราบปรามผู้ก่อการร้าย แต่สุดท้าย บ่อน้ำมันในอิรักคนที่ได้รับสัมปทานก็สหรัฐอเมริกา
 
เราต้องมีวิสัยทัศน์ว่า ในโลกปัจจุบันนี้ ประเทศที่พัฒนาเริ่มจะเสียเปรียบดุลการค้าเรื่อยๆ จะบอกให้หยุดนำเข้าก็เสียฟอร์ม เดียวหาว่าเขาไม่ชั้นเชิง ก็เริ่มขายมาตรฐานที่ทำการวิจัยมามาต่อยอด

น้องๆ ที่กำลังคิดจะเลือกเรียนมหาวิทยาลัยในอนาคตพยายามเลือกเรียนสาขาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพราะธุรกิจส่งออกของเรากำลังต้องการน้องๆ ในอนาคต และได้ข่าวมาว่า
 
อ.สิริลักษณ์ เป็นตัวแทนของสายวิชาฯ ไปรับเกียรติบัตรจาก สกว. รางวัลดีเยี่ยม (ระดับ 5) ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งเข้าร่วมประเมินทั้งสิ้น 8 สาขา สายวิชาได้รับการจัดอันดับในระดับ 5 เพียงสาขาเดียว นอกจากนี้คณะพลังงานยังได้รับรางวัลดีเยี่ยม ระดับ 5 จากสาขาเทคโนโลยีพลังงาน และมีเทคโนโลยีวัสดุได้รางวัลดี ระดับ 4 ในกลุ่มเทคโนโลยียังมี IT ของมจธ ที่ได้ระดับ 5 จากรางวัลระดับ 5 จาก 3 สาขาในกลุ่มเทคโนโลยี ทำให้ มจธ. ได้รับเกียรติบัตร ม. ดีเด่นทางด้านเทคโนโลยี นอกจากเกียรติบัตรแล้วทาง สกว. ให้รางวัลเป็นเงินด้วยประมาณ 50,000 บาท แต่ต้องเขียนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการทำวิจัยไปขอที่สกว. ต่อไป
 มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลสถาบันที่ดีเลิศทางสายนี้ ขอแสดงความยินดีด้วย
 
ขอให้ท่านเรียนรู้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ตลอด เพราะมันเริ่มเข้าใจตัวเราแล้ว ท่านแม่ทัพซุนอู เคยกล่าวไว้ว่า รู้เขา รู้เรา สู้ร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง
 
ขอให้ท่านจงมีชัยชนะ ขอผู้น้อยขอคาระวะ
วิชัย จงธนพิพัฒน์


 

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO.,LTD.
507/321 Freight Links Building. Soi Sathu Pradit 31 (Nakornthai Soi 4), Sathu Pradit Road
Chong Nonsi Yannawa, Bangkok 10120, Thailand
Tel. 0-2210-2888,  fax: Export 0-2674-3720 Import 0-2674-3722 Marketting 0-2674-3725 Logistics 0-2674-3725
Consol 0-2674-3725 Account 0-2210-2889 Personnel 0-2210-2899 
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright