สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

เรียนท่านผู้อ่านที่เคารพ               

           เมื่อประมาณ ปลายปี 2547 ผมได้ไปสัมมนาที่โรงแรมแถวตลาดโบ๊เบ๊ ผมจำได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็นหน้าตา และรู้รายละเอียดเกี่ยวกับระบบ National Single Window ที่จริงแล้ว มันเป็นระบบการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เอาเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละหน่วยบงานของราชการมาเชื่อมติดต่อกันโดยระบบอิเล็คโทนิคที่บังคับให้ผู้ส่งออก และผู้นำเข้ามีหน้าที่ต้องกรอกข้อความที่ทางราชการต้องการ
ลงในแบบฟอร์มต่างๆ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์  จาก website ของแต่ละหน่วยงานราชการ  แล้วเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานราชการต่างๆ ให้การอนุมัติ อาจจะมีการใช้คำสั่งในระบบโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์  หรือมีการตรวจโดยเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่เป็นดักจับ หรือกรอง หรือรวมข้อมูลทั้งหมดที่  กรมศุลกากร เพราะหน่วยงานราชการอื่นๆ ผู้ตั้งกฎเกณฑ์ หรือข้อห้ามในการนำเข้า และส่งออกไม่สามารถไปกันประตูเข้าออกประเทศได้

ผมขอแปลคำว่า National Single Window ว่า เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อทำให้หน่วยงานราชการทั้งประเทศรวมกันเป็นหนึ่งเดียว  นั่นหมายถึง ทุกหน่วยงานต้องทำงานร่วมกัน อย่างสามัคคี มีความพร้อมเพรียงกัน มีความปรองดองกัน เพื่อให้ประชาชนได้กรอกข้อมูล และให้ตอบกลับเป็นการอนุมัติ หรืออนุญาต แต่เท่าที่ตอนนั้นรู้สึกว่าโครงการนี้ถ้าจะเกิดยาก เพราะต่างคนต่างทำ ต่างหน่วยงานต่างใช้งบประมาณ อย่างไม่มีทิศทาง ผลก็คือ ล่ม หรือ ไม่บรรลุเป้าหมาย ทุกคนต่างต้องการเป็นใหญ่ หน่วยงานราชการอื่นต้องฟังข้า ยึดติดคำว่า ตัวกูของกู ไม่มีเจ้าภาพ

ตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2548 เห็นชอบให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดตั้งระบบ National Single Window, NSW และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า การส่งออก ให้ความร่วมมือเพื่อร่วมกันผลักดันให้ระบบ NSW จัดตั้งได้สำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการค้าระหว่างประเทศให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ

การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า การส่งออก การขอใบอนุญาต และใบรับรองต่างๆ รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างภาคธุรกิจ เช่น ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ บริษัทเรือ สายการบิน และบริษัทประกันภัย เป็นต้น
มาถึงตอนนี้ ผมเห็นด้วยว่า ควรจะเป็นกรมศุลกากรเป็นตัวแมงมุมที่ต้องชักใยให้ตาข่ายของตนสามารถดักจับผู้นำเข้า และผู้ส่งออกที่ไม่สุจริตติดกับ  แต่มีช่องกรองข้อมูลที่เข้าออกได้ และเอาส่วนต่างๆ ของหน่วยราชการมาต่อติดกัน แต่ผมก็ได้ยินคำบ่นจากหน่วยราชการอื่นต่อว่า กรมศุลกากร เอาแต่ใจ ชี้นิ้วลูกเดียว พวกหน่วยงานอื่นๆ ต้องลงทุนลงแรงทำตามที่เธอสั่ง

ส่วนคนในกรมศุลกากรก็บอกว่า ก็พวกหน่วยงานอื่นต้องการออกกฎหมาย และระเบียบเองก็ต้องทำงานหน่อย อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบนี้มันช้า เพราะหน่วยราชการอื่นๆ พยายามไม่เข้าใจระบบฮาร์โมไนซ์ ซึ่งเป็นกฎหมายศุลกากรที่เกี่ยวกับการแยกพิกัดอัตราศุลกากร เรียกหน่วยงานต่างๆ มาประชุมก็ไม่ค่อยมา แต่ละหน่วยงานราชการก็พยายามจะเอาแต่ใจตัวเอง บอกว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะแยกรายการสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์ มันยาก ยืนหัวชนฝา ทะเลาะกันไปมา ผมเข้าใจกรมศุลกากรดี ถ้าเราไม่แยกตามระบบที่กรมศุลกากรวางไว้ มันไม่เป็นสากล และมันเป็นการยากที่กรมศุลกากรจะทำงาน เพราะทุกวันนี้การนำเข้า และส่งออกของโลกได้อิงระบบฮาร์โมไนซ์นี้ แต่ก็ไม่วายก็มีปัญหาเรื่องการตีความ เพราะเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรท่านตีความตามดุลพินิจของท่าน ผมเคยนำสินค้าเข้าท่าเรือคลองเตย เจ้าหน้าที่ประเมินจัดให้เป็นพิกัดหนึ่ง   แต่พอเข้าท่าเรือแหลมฉบังก็ตีความอีกพิกัดหนึ่ง เข้าใจว่าตอนนี้ทางกรมศุลกากรได้ทำคลินิก และกำหนดการตีความเป็นลายลักษณ์อักษร  เอาเป็นว่าขอให้ทุกคนใจเย็นๆ ทำงานเพื่อชาติ ค่อยทีค่อยอาศัย พยายามตกลงให้ได้  ผมเอาใจช่วย  ถ้าจะให้ดีก็ทางฝ่ายฝึกอบรมของทางกรมศุลกากรก็เปิดสอน และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยราชการต่างๆ ให้เป็นกิจลักษณะไปเลย  จะได้เข้าใจให้ถูกต้องและไม่เสียเวลา

ผมทราบมาว่า ถ้าเราเข้า website http://www.customs.go.th/ ในอนาคต พอเราคลิ๊กไปที่อัตราพิกัด ก็จะเจอว่า เราต้องใช้ใบอนุญาตอะไรบ้างจากหน่วยงานไหน  จะได้แก้ปัญหาเรื่องเวลาเรานำสินค้าเข้ามาแล้วไม่ขอใบอนุญาตก่อน เพราะเราสามารถตรวจสอบได้ล่วงหน้า ถ้ามันเชื่อมโยงกันหน่วยงานอื่นๆ จะได้ไปศึกษากฎหมาย กฎระเบียนของเขาต่ออีก ไม่ใช่มาโดนจับเวลานำเข้าอย่างทุกวันนี้

ที่ผ่านมา ไทยมีการจัดทำโครงการนำร่องการเชื่อมโยงระบบ NSW ระหว่างประเทศร่วมกับประเทศ มีการพัฒนาระบบให้เชื่อมโยงในลักษณะ G2G กับจีน และเกาหลี ตามด้วยสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีระบบที่มีมาตรฐานสูง การพัฒนาระบบ NSW ในกลุ่ม ASEAN มีความก้าวหน้า เนื่องจากมีการกำหนดกรอบการทำงานในหลายระดับ ทั้งระดับรัฐมนตรี คณะกรรมการ คณะทำงานด้านเทคนิค คณะทำงานด้านกฎหมาย และเวทีการเจรจาอื่นๆ แต่การเชื่อมต่อระบบใน ASEAN ยังคงไม่สามารถหาข้อสรุปว่าจะเลือกรูปแบบใดระหว่าง
1.       การเชื่อมต่อผ่านระบบ Internet โดยใช้ Digital Signature เป็นตัวควบคุมความปลอดภัยในการส่งผ่านข้อมูล
2.       การจัดตั้ง Independent Company เพื่อดำเนินการเชื่อมโยงระบบของทั้งภูมิภาค ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาว่าจะจัดตั้งที่ใด และใช้กฎหมายของประเทศใดในการบังคับใช้
แต่ปัญหาที่สำคัญสำหรับ NSW ในไทยคือระบบ e-Licensing ไม่สมบูรณ์ หลายหน่วยงานยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ

กรมศุลกากรยังได้รับบทบาทให้เป็นเจ้าภาพหลักในการพัฒนาระบบ e-Logistics ของประเทศ ซึ่ง จะเป็นกลยุทธ์หลักสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ อย่างที่รัฐบาลได้ประกาศเอาไว้ การพัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล และบริการภาครัฐเพื่อการนำเข้าส่งออก และโลจิสติกส์ (Single-Window e-Logistics: SWeL) สามารถลดจำนวนเอกสารลงได้ร้อยละ 44, ลดระยะเวลาการทำเอกสารได้ร้อยละ 70 สามารถออกหนังสืออนุญาต/ รับรองได้ทันที (หากเอกสาร u3606 ถูกต้อง และครบถ้วน) โดยมีชุดข้อมูลเพื่อการส่งออก-นำเข้าเพียงชุดเดียว มีการยื่น-แลกเปลี่ยน-ส่งข้อมูลผ่าน National Single Window System (NSW) เพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบที่มาของสินค้าหลักของประเทศ ภาคเอกชนมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด นับเป็นหน่วยงานที่มีการพัฒนาเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการทำงานได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ไทยได้รับการจัดอันดับจากธนาคารโลกให้เป็นประเทศที่น่าลงทุนจากเดิมอยู่อันดับที่ 17 ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 15 และเชื่อว่าหากมีการพัฒนาปรับปรุงระบบในทุกด้าน ไทยน่าจะได้อันดับที่ดีขึ้น

นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรได้พัฒนาระบบ e-Customs ให้บริการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกรมศุลกากรกับภาคเอกชน ได้แก่ ผู้นำเข้า, ผู้ส่งออก, ตัวแทนออกของ, ตัวแทนผู้รับขนส่งสินค้า, บริษัทเรือ, สายการบิน และธนาคารต่างๆ ไปแล้ว 16 หน่วยงาน ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กรมการค้าต่างประเทศ, กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ, กรมธุรกิจพลังงาน, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, กรมการขนส่งทางบก, กรมประมง, กรมปศุสัตว์, กรมวิชาการเกษตร, กรมสรรพสามิต, กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่, กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช, สำนักงานคณะกรรมการอ้อย และน้ำตาล, สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา, และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นับเป็นหน่วยงานในลำดับต้นๆ ที่ได้เชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออกสินค้าของผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรีกับกรมศุลกากรจนประสบความสำเร็จ ถือเป็นพัฒนาการไปสู่ระบบ National Single Window ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้
ตอนนี้เท่าที่ผมได้ไปร่วมประชุมงานกรมศุลกากรเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ผ่านมาก็ทราบว่า ตอนนี้เราอยู่ในขั้นแรกของ e-Licensing ซึ่งกรมศุลกากรก็พบว่า 90% ยังมีการกรอกข้อมูลผิดระหว่างรายละเอียดในใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มกับเลขใบอนุญาตต่างๆ และก็ต้องเห็นใจกรมศุลการบ้างที่ติดต่อหน่วยงานราชการมากกว่า 30 แห่งดังข้างต้น

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการพัฒนา ได้แก่ ความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของการทำธุรกรรมโดยเฉพาะความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security) เนื่องจากข้อมูลที่ทำการรับส่ง หรือแลกเปลี่ยนกันนั้น เป็นการดำเนินการผ่านเครือข่าย ซึ่งอาจถูกคุกคามได้ในหลายรูปแบบ เช่น การเข้าถึงโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือทำลายข้อมูล การปฏิเสธความรับผิดในการทำธุรกรรม เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการสร้างระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น โดยครอบคลุมในประเด็นสำคัญ ดังนี้
1.       การระบุตัวบุคคล (Authentication) เพื่อยืนยันตัวบุคคลผู้ส่งหรือผู้สร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2.       การควบคุมการเข้าถึง (Access Control) เพื่ออนุญาตให้เฉพาะบุคคลซึ่งมีสิทธิ หรือได้รับอนุญาตเท่านั้นในการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
3.       การรักษาความลับ (Confidentiality) เพื่อป้องกันมิให้บุคคลซึ่งไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่มีสิทธิอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้
4.       ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Integrity) เพื่อป้องกันมิให้มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ทำลาย หรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
5.       การป้องกันการปฏิเสธความรับผิด (Non - Repudiation) เพื่อป้องกันมิให้ผู้ส่งข้อมูลหรือ ผู้รับข้อมูล ปฏิเสธว่าตนไมได้ส่งหรือไม่ได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีความครอบคลุมในเรื่องของการระบุตัวบุคคล (Authentication) การควบคุมการเข้าถึง (Access Control) การรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล (Integrity) และการป้องกันการปฏิเสธความรับผิด (Non-Repudiation) นั้น จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเทคโนโลยีที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ เทคโนโลยีการใช้รหัส (Cryptography) และการลงลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature)

เทคโนโลยีการใช้รหัส (Cryptography) หรือ PKI “ระบบกุญแจคู่” (Public Key & Private Key Infrastructure) หมายถึง การทำให้ข้อมูลที่จะส่งผ่านไปทางเครือข่ายอยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถอ่านออกได้ด้วยการเข้ารหัส (Encryption) ซึ่งผู้มีสิทธิจริงเท่านั้น จะสามารถอ่านข้อมูลได้ด้วยการถอดรหัส (Decryption) ซึ่งการเข้า และถอดรหัสนั้นจะอาศัยสมการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน และต้องอาศัยกุญแจซึ่งอยู่ในรูปของพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ ในการเข้า และ

ลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature) เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างจากเทคโนโลยีเข้ารหัสด้วยกุญแจสาธารณะ ในการลงลายมือชื่อดิจิตอลกำกับข้อความที่ต้องการส่งผ่านเครือข่าย ผู้ส่งข้อความจะใช้กุญแจส่วนตัวของตนในการลงลายมือชื่อโดยอ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ผู้รับจะสามารถตรวจสอบความถูกต้อง)
ผมขออธิบายเพิ่มเติมว่า เวลาเราส่งขอมูลไประหว่างทาง
จะถูกแปลงเป็นภาษาตัวหนอง  ผู้รับก็จะถอนรหัส เป็นข้อมูลได้ แต่ต้องใช้ password

ผมขอนำข้อเสนอแนะของ ดร.สมนึก คีรีโต ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมเทคโนดลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยแบ่งเป็นส่วนๆ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ (ส่วนของหน่วยราชการ และหน่วยกำกับต่างๆ)
–     หน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่ยังต้องมีการพัฒนาระบบไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในหน่วยงาน และให้มีการแลกเปลี่ยน
ข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้วย (ทั้ง G2G และ B2G)
–     หน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่ยังขาดงบประมาณ เพื่อพัฒนาระบบ e-Documents ที่รองรับ Digital Signature (ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ระดับผู้ใช้ เช่น ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ฯลฯ)
ตรงนี้ผมขอย้ำอีกที่ว่า ตอนนี้แต่ละหน่วยงานได้รับงบประมาณไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ ทำให้การพัฒนาไม่สำเร็จ  ถ้ารัฐบาลจะเอาจริงควรจะจัดสรรให้พอ แล้วตรวจความก้าวหน้าว่าเอาเงินไปทำงานจริงหรือเปล่า  บางหน่วยงานออกใบอนุญาตแค่ปีละไม่กี่สิบใบก็ยิ่งไม่สนใจ   ได้รับงบประมาณมาไม่เพียงพอ แล้วใช้เงินมากก็ยิ่งไปกันใหญ่ ไม่สนใจภาพรวม ผมขอเสนอให้รัฐบาลให้กระทรวงไอซีทีเขียนโปรแกรมให้ หรือให้มหาวิทยาลัยของรัฐรับงานไปเลย ในหน่วยงานที่ต้องออกใบอนุญาตน้อยทั้งหมด ไม่ใช่ปล่อยไปแช่แป้ง รู้หรือเปล่าครับท่าน ถ้าโครงการนี้สำเร็จ เราจะลดต้นทุนโลจิสติคส์ และเวลาในการนำเข้า และส่งออกได้ รายได้ก็จะเข้าประเทศมาก รัฐก็เก็บภาษีได้มากขึ้น ข้าราชการก็ได้รับโบนัส ผู้ส่งออก และผู้นำเข้าก็จะชื่นชมรัฐบาล
–     หน่วยงานภาครัฐควรพัฒนาระบบเพิ่มเติม เพื่อรองรับการรับคำขอ (Application Forms) แบบที่เป็น Paperless Documents ด้วย
(ไม่ใช่ Web Application เท่านั้น แต่เป็น Web Services/ ebMS ด้วย เป็นต้น)  ในประเด็นนี้ผมขอเสนอ
ว่า ถ้าไม่มีตัวช่วย เราจะต้องเจอปัญหา web ล่ม อย่าลืมว่า มีคนขอใบอนุญาตทุกวัน ข้อมูลไม่ใช่แค่ตัวเลขเหมือนกรมสรรพกร มีรายละเอียดสินค้า  โดยเฉพาะสินค้าอันตรายต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุดิบมากๆ
–     พัฒนาการจ่ายค่าธรรมเนียมโดยเชื่อมโยงกับธนาคารทางออนไลน์

ข้อเสนอแนะ (รัฐบาล, รัฐวิสาหกิจ และภาคขนส่งที่เกี่ยวข้อง) ตัวอย่างโครงการที่ ครม. หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนควรเร่งดำเนินการ
–     โครงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านธุรกรรม และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการขนส่งสินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง
(e-Port Sea Cargo Community System) ผมได้เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง e-gate ของการท่าเรือกรุงเทพอีกหน่อย เราจะต้องให้ข้อมูลคนขับรถ ข้อมูลทะเบียนรถ
และใบขนสินค้า ที่ประตูทางเข้าจะมีระบบscan ไปที่ barcode และระบบวิทยุคลื่นสั้น เพื่อความปลอดภัย และเราต้องจ่ายเงินก่อน เหมือนเราขับรถผ่านทางด่วนช่อง easy pass เราผ่านแล้วข้อมูลวิ่งไปกรมศุลกากร และการท่าเรือทันที พร้อมทั้งเราต้องจ่ายเงินให้การท่าเรือก่อน งานนี้ท่าเรือมีเงินก้อนโตเก็บไปหมุนก่อน ชิปปิ้ง หรือตัวแทนออกของ หรือเจ้าของรถบรรทุกต้องออกเงินล่วงหน้า คราวนี้เงินใครน้อยก็ต้องเจ็บตัวหน่อย
–     โครงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านธุรกรรม และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการขนส่งสินค้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(e-Port Air Cargo Community System)
–     โครงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านธุรกรรม และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการขนส่งสินค้าที่ด่านชายแดน
(e-Port Land Cargo Community System)

ข้อเสนอแนะ (ภาคเอกชน และผู้ประกอบการขนส่ง) ตัวอย่างโครงการที่ คณะรัฐมนตรี หน่วยงานรัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการ
–     โครงการพัฒนาระบบ Open Source ERP สำหรับผู้ส่งออก ผู้นำเข้า โรงงานอุตสาหกรรม และผู้ผลิตวัตถุดิบ (e-Document สำหรับระบบ
จัดซื้อ ระบบคลังสินค้า และ ระบบจัดส่ง) ท่านเจ้าของผู้ส่งออก ผู้นำเข้า โรงงานอุตสาหกรรม และผู้ผลิตวัตถุดิบต้องลงทุนซื้อโปรแกรมใหม่ เพื่อพัฒนาให้ทันกับระบบใหม่ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของรัฐใน ระบบ National Single Window 
–     โครงการพัฒนาระบบ Open Source ERP สำหรับ Freight Forwarders ก็เหมือนกับ ผู้ส่งออก
–     โครงการพัฒนาบุคคลากร (Software House, ผู้ให้บริการขนส่ง และผู้ประกอบการให้สามารถพัฒนา และใช้ระบบ e-Documents ที่
เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ) ผมต้องบอกว่าระบบการเรียนสำหรับคนจบสาขาคอมพิวเตอร์บ้านเรายังไม่ดีพอ คนที่จบปริญญาตรี ต้องทำเป็นทั้ง Software  และ Hardware ผมถามน้องคนหนึ่งที่จบใหม่ ไม่มีใครติดตั้ง Server เป็น มันแปลกดีนะ และขอร้องให้ไปเรียนภาษาอังกฤษให้ดีกว่านี้ ถ้าเป็นไปได้เอาพจนานุกรมอังกฤษ-ไทยเล่มเล็กติดมือ เวลานั่งรอรถเมล์ หรือรอแฟนจะได้มานั่งท่องศัพท์ จะได้ไม่หาเรื่องไล่แทงกันที่ป้ายรถเมล์

ระบบ ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning หมายถึงการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุน และบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิด และวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบ ERP สามารถบูรณาการ (Integrate) รวมงานหลัก (Core Business Process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กัน และสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง Real Time

ส่วนสำนักงานยุทธศาสตร์การพาณิชย์ได้สรุปข้อจำกัด และอุปสรรคของ National Single Window
1.    กฎระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกเอกสารยังไม่เอื้อต่อการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ผู้ประกอบการยังต้องยืนยันตัว และเอกสารแนบตัวจริงในการขอใบรับรอง/ ใบอนุญาต  ปัจจุบันผมต้องส่งพนักงานส่งเอกสารไปยื่นรอรับ บางครั้งต้องเอารถปิกอัพวิ่งไปเพราะเดี๋ยวนี้หน่วยงานราชการอยู่ไกล มันทำให้เกิดรถติด เพราะทุกคนก็รีบ เผาผลาญทั้งเงิน เวลา แรงงาน

2.    ความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของการทำธุรกรรม ปัจจุบัน พรบ. การกำกับดูแลธุรกิจบริการการให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (CA) ซึ่งเป็นการยืนยันตัวตนของบุคคลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ยิ่งตอนนี้มีกรณีเรื่องปัญหาบัตรประชาชนที่มีการเปลี่ยนแปลงจากกฎหมายเดิม รัฐควรจะออกกฎหมายแก้ไขด่วนให้มันชัดเจน

แต่จะว่าไปแล้ว พรบ. ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบก็มีบัญญัติเรื่องนี้ไว้ว่ามาตรา ๑๐ ในการทำสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะต้องออกใบตราส่งต่อเนื่องให้แก่ผู้ตราส่งเมื่อได้รับมอบของใบตราส่งต่อเนื่องอาจเป็นชนิดโอนให้กันได้ หรือชนิดห้ามโอน ทั้งนี้ แล้วแต่ผู้ตราส่งจะเลือกผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง หรือบุคคลอื่นที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมอบหมายจะต้องลงลายมือชื่อในใบตราส่งต่อเนื่อง
การลงลายมือชื่อตามวรรคสามให้หมายความรวมถึงการลงลายมือชื่อที่ปรากฏในเอกสารทางโทรสาร การประทับตรา การใช้สัญลักษณ์ หรือการลงลายมือชื่อ โดยใช้เครื่องกล หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้นก็ไม่น่าจะมีปัญหา
เวลามีเรื่องขึ้นศาลก็น่าที่อ้างอิงกฎหมายนี้ได้  เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาเบี้องต้น

3.    ข้อจำกัดทางเทคนิค เช่น ความพร้อมของระบบ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และความร่วมมือของบุคลากรเรื่องนี้ หน่วยงานราชการน่าจะรับข้าราชการที่มีความรู้เรื่องนี้ให้มากขึ้น ตอนนี้มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกองค์กรต้องมีคนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของตัวเองได้แล้ว  ผู้ใหญ่ในหน่วยราชการจะเอาข้อมูล หรือรายงานต่างๆ ได้จากเจ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อผมซิครับ

4.    ระบบภายในของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันมีการใช้ฐานข้อมูลคนละประเภทในการอ้างอิง เช่น เลือกระหว่างเลขทะเบียนภาษี/ เลขทะเบียนการค้า และการจำกัดกลุ่มผู้ใช้บริการเฉพาะกิจการที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานเท่านั้น

เมื่อยี่สิบปีก่อน ผมได้เริ่มจ้างคอมพิวเตอร์โปรแกรมจากต่างประเทศมาทำการลงระบบคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมตอนนั้นผมหาโรงแรมพักให้เขาไม่ได้ ผมจึงจองโรงแรมสาธรอินน์ ที่แถวสาธรซึ่งข้างๆ เป็นสุสานฝรั่ง แถมกลางคืนมีเสียงคนเดินไปเดินมา ยังไม่พอ มีเสียงสุนัขหอน พอเขาลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ผมเสร็จ เขาบอกผมว่าจะให้รหัสผ่านเป็น "semi3" ผมก็ถามว่าทำไมต้องใช้รหัสผ่านชื่อนี้ "semi3" เขาก็ไม่ตอบ ผมก็นั่งคิด นอนคิดไปหนึ่งคืน และเดาออกว่ามาจากคำว่า "cemetery" แปลว่าสุสาน เช้าวันรุ่นขึ้นผมก็แซวเขาช่างร้ายจริงๆ แต่เขาบอกอีกว่า ยังไม่พอ เวลาผมใช้รหัสผ่านแล้ว  เจ้าคอมพิวเตอร์ก็จะมีเสียงแด๊กคูล่าหัวเราะ ฮา ฮะ แล้วจะมีตัวค้างคาวบินออกจากจากจอ แล้วจะตามด้วย เหล่าผีปีศาจต่างๆ แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ของผมจะปิดตัวเอง เป็นการล้างแค้นผมที่จองโรงแรมข้างสุสาน  ผมก็ได้หายันต์หลวงพ่อโตมาปะปิดที่เครื่องคอมพิวเตอร์กันเสียเลย

สุดท้ายนี้ขอให้ช่วยกันพลักดันให้โครงการนี้เกิดให้เร็วที่สุด ประเทศไทยจะได้ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และต้นทุนในการนำเข้า และส่งออกจะได้ลดลงอย่างที่หลายฝ่ายไม่คาดคิด ส่วนพนักงานที่เคยวิ่งงานในส่วนนี้ก็ต้องปรับตัว บริษัทโลจิสติคส์ต้องพัฒนาให้ทัน มิฉะนั้น ชื่อบริษัทท่านก็จะหายไปจากยุทธจักร ถ้าเราไม่ปรับตัว คู่แข่งก็เอางานเราหมด ต้นทุนสินค้าเราแพง เราผลิตสินค้า ส่งสินค้าให้ลูกค้าช้า เราก็เสียโอกาสทางด้านธุรกิจ ข้าราชการที่ถูกตัดงานไปก็ต้องปรับตัว และอาจจะต้องมาเน้นงานตรวจสอบ ตรวจจับ ไม่ต้องกลัวตกงาน ผมยังได้รับเรื่องร้องเรียนจากเพื่อนผู้ส่งออก และนำเข้าที่ทำการค้าแบบสุจริตว่า มีหน่วยราชการบางหน่วยงานพยายามที่จะใส่เกียร์ว่าง เพราะว่า ตัวเองต้องขาดผลประโยชน์ ถ้าทุกอย่างเข้าระบบคอมพิวเตอร์มันเป็นการปิดกั้นพ่อค้าที่ไม่ดี ไม่มีโอกาสจ่ายเงินใต้โต๊ะแก่เจ้าหน้าที่ราชการ แล้วเอาใบอนุญาตเถื่อน หรือใบอนุญาตที่เจ้าหน้าที่ราชการไม่ได้ไปตรวจสอบ หรือตรวจสอบแบบเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ แล้วพ่อค้าเหล่านี้ก็เอาสินค้าที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาตลาด ทำลายพ่อค้าที่ทำหากินอย่างสุจริต โดยการตัดคุณภาพมาตรฐานสินค้า ตัดราคา ระวังจะเจอแบบประเทศจีน เรื่องนมผสมเมลามีน เชื่อผมเถอะกรรมมันมีจริง ไม่ต้องรอชาติหน้า   ก็ต้องขอให้ท่านผู้ใหญ่ และประชาชนอย่างเราช่วยกันจับตาดูว่า หน่วยงานราชการไหนมีพฤติกรรมเช่นว่านี้ พยายามเตะถ่วงเรื่อง NSW
โดยไม่มีเหตุผลอันควร แล้วเวลาทำ NSW เสร็จก็อย่ารีบร้อนบังคับให้ทุกคนใช้ ให้ยังคงมีระบบยื่นเอกสารแบบเดิม หรือแบบ manual เป็นช่องทางไว้บ้าง ควบคู่ไปด้วยเผื่อสำหรับคนที่ยังไม่พร้อมในการเปลี่ยนแปลงได้ปรับตัวสัก 1 ปี แล้วมาบังคับให้ใช้ 100% เดี๋ยวจะเหมือนตอนที่พวกชิปปิ้งออกมาประท้วงกรมศุลกากรเมื่อ 10 ปีก่อน อย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม ถ้าเราช่วยกัน ที่สุดประเทศไทยเราก็จะเจริญยิ่ง ยิ่งขึ้นไป ทุกคนก็จะอยู่อย่างสุขสบายตลอดไป และมั่นคง

หยก แสงตะวัน

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO.,LTD.
507/321 Freight Links Building. Soi Sathu Pradit 31 (Nakornthai Soi 4), Sathu Pradit Road
Chong Nonsi Yannawa, Bangkok 10120, Thailand
Tel. 0-2210-2888,  fax: Export 0-2674-3720 Import 0-2674-3722 Marketting 0-2674-3725 Logistics 0-2674-3725
Consol 0-2674-3725 Account 0-2210-2889 Personnel 0-2210-2899 
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright