สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

การควบรวมตลาดการเงินในอาเซียนกับการส่งออกไทย                                                                                                       

 

 ณ โรงแรม Conrad วันที่ 7 ธันวาคม 2554 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังในงานสัมมนาของ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (ITMX) ในหัวข้อ "Financial Market Integration: The World of opportunity, is Thailand ready?" ซึ่งพูดคุยกันในเนื้อหาถึงความพร้อมของประเทศไทยต่อโอกาส และความท้าทายหากมีการควบรวมทางตลาดการเงินเกิดขึ้น โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand, BOT) เป็นแม่งานในการจัดครั้งนี้

บุคคลที่สำคัญที่เข้าร่วมในการปาฐกถาพิเศษในครั้งนี้ประกอบ ด้วย บุคคลระดับประเทศมากมายที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการเศรษฐกิจ และการเงิน อาทิเช่น ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน), ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล (ท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย), นายจรัมพร โชติกเสถียร (กรรมการ และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย), ดร.ฉิม ตันติยาสวัสดิกุล (ผู้ช่วยผู้ว่าการสายระบบข้อสนเทศ ธปท.), นายธีระ อภัยวงศ์ (ปธ.บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จำกัด ITMX) เป็นต้น

ตั้งแต่ช่วงเช้าดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้ออกมาพูดถึงภาพรวมของประเทศในกลุ่มอาเซียนในปัจจุบันว่ามีความตื่นตัวกับ การเปิดการค้าเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ปี พ.ศ. 2558 เนื้อหาเพื่อกระตุ้นให้ตื่นตัวกับคนไทย แน่นอนในแง่ของภาคการส่งออกคงจะได้ผลประโยชน์การภาษีศุลกากรในสินค้าหลายๆ ประเภทที่ลดลงถึง 0% ส่งไปมาระหว่างประเทศในกลุ่ม AEC ได้อย่างเสรีครับ!!

ภาคการผลิตนั้น ต้นทุนด้านปัจจัยการผลิตลดลงอย่างแน่นอน ความหลากหลายในปัจจัยการผลิตจะขยายฐานกว้างขึ้นไม่ไปกระจุกกับประเทศใด ประเทศหนึ่งมากเกินไป ภาคแรงงานในปัจจุบันนั้นยังคงจำกัดอยู่ในส่วนของแรงงานที่มีความชำนาญเฉพาะ ทางเท่านั้นที่จะมีการปล่อยให้เสรี

ท่านผู้ว่าฯ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่ขับเคลื่อนผลักดันเรื่องนี้ให้กลับมาดูมีความสำคัญอีก ครั้ง อย่างน้อยก็กลับมากระตุ้น หรือเรียกว่า "ปลุก" คำว่า "AEC" ให้เข้ามาอยู่ในแวดวงสื่อให้มากขึ้น หลายๆ ครั้ง "วลีนิยม" หรือ "Wording" ทางเศรษฐกิจในสื่อสารมวลชนนั้นมีความสำคัญทีเดียว ที่ช่วยให้สังคมตื่นตัวได้ง่ายขึ้น ท่านดร.ประสาร แม้ในงานนี้จะพูดในภาพกว้างๆ ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานการตลาดการเงิน กับการแข่งขันต่อกลุ่ม AEC ในปี 2558 และอาจจะไม่ได้เน้นไปในด้านการส่งออกมากนัก แต่มันก็เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะผลดีจะให้ได้ชัดจากเรื่องการกีดการค้าด้านภาษีที่เป็นหัวใจต่อภาคการ ส่งออก

ตลาดทุนเป็นอีกตลาดที่ปัจจุบันมีความร่วมมือกันทั้ง 7 แห่งจากประเทศต่างๆ ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนามได้ร่วมกันสร้างการเติบโตในตลาดทุนของ ASEAN Exchange ประกอบด้วย 3,613 บริษัท และมีทุนจดทะเบียนกว่า 2 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นในตลาดร่วมนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุน ASEAN Exchange ได้มีการวางกรอบโครงสร้างพื้นฐานในการประมวลการชำระดุลจากการซื้อขายหลัก ทรัพย์ระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนขึ้น (Post trade processing Infrastructure) เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งระบบการซื้อการหลักทรัพย์ในประเทศไทยนั้น มีปัญหาสำคัญหลักๆ หากมีการควบรวมกันทางการเงินนั่นคือ ความเร็วของระบบของทางการเงินของไทยนั่นยังช้ากว่าประเทศในกลุ่มเอเชียถึง 500 เท่า หากเป็นเช่นนั้นแล้วปัญหาความไม่เสถียรของระบบการเงินจะส่งผลอย่างมากต่อ ระบบ Inter banking ที่เป็นอยู่อย่างมาก

ในส่วนของโครงสร้างของระบบการเงินในอาเซียน ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่คอยสนับสนุนภาคการส่งออกนั้น ธนาคารมีสัดส่วนถึงร้อยละ 90 ของระบบสถาบันการเงินในอาเซียน โดยทุกประเทศให้ความสำคัญกับระบบธนาคารมาก โดยเฉพาะกัมพูชา, ลาว, พม่า, และเวียดนาม ที่มีสัดส่วนภาคธนาคารอยู่ในระดับที่สูงมาก ขณะที่สัดส่วนธุรกิจ non bank อาทิ ประกันภัยมีบทบาทน้อยมาก และธนาคารพาณิชย์มีบทบาทมากในอาเซียนบางประเทศมีขนาด สินทรัพย์ของธนาคาร เฉพาะกิจ เกินกว่าร้อยละ 20 ของทั้งระบบ เช่น บรูไน, มาเลเซีย และโดยเฉพาะไทยที่ขนาดสินทรัพย์ของธนาคารเฉพาะกิจมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น

การประเมินศักยภาพของธนาคารพาณิชย์ในอาเซียนนั้นถือว่ามีการ ทำ กำไรรวมอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้น อินโดนีเซีย และเวียดนาม ขณะที่ไทยอยู่อันดับที่ 5 ใกล้เคียงกับกัมพูชา ธนาคารพาณิชย์ของมาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม มีการขยายสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชนในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงใกล้เคียงกับกลุ่ม ประเทศที่มีรายได้สูง  อัตราส่วนเงินฝากต่อ GDP คล้ายด้านสินเชื่อคือ ค่อนข้างสูงในกรณีของมาเลเซีย, สิงคโปร์ และไทย สูงกว่าสัดส่วนของสินเชื่อภาคเอกชน ในด้านความมีชื่อเสียงนั้น ธนาคารพาณิชย์ในอาเซียนมีขนาดของสินทรัพย์เล็กมาก ยกเว้น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่มีขนาดสินทรัพย์ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของ Top 500 banks ขณะเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์ในอาเซียนเพียง 24 แห่งที่อยู่ใน 500 อันดับของโลก โดยอยู่ในมาเลเซียมากสุด รองลงมาเป็นอินโดนีเซีย และไทยซึ่งมีอยู่ 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 21 ขณะที่สิงคโปร์มีเพียง 3 แห่งแต่ 1 ใน 3 คือธนาคาร DBS อยู่ในอันดับสูงสุดของอาเซียน และอยู่ในอันดับที่ 73 ของโลก การเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนในมาเลเซีย, สิงคโปร์ และไทย อยู่ในระดับดี ขณะที่กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม ยังจำกัดมากโดยเฉพาะช่องทางการให้บริการมีน้อยมาก

จากภาพรวมดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ภาคการส่งออกต่อการควบรวมภาคการเงินนั้นมีผลเกี่ยวเนื่องกันไปซะทุกอย่าง จะขาดไปเสียมิได้เลยทีเดียว แต่จากข้อมูลที่ได้รับรู้จากการมาสัมมนาครั้งนี้ทำให้เห็นถึงปัญหาของความ พร้อมของประเทศไทย ว่ายังมีอยู่มากแต่ก็ไม่ได้ถึงขนาดที่จะไม่สามารถ Jump Forward หรือการเดินไปข้างหน้าไม่ได้เลย เพราะในความขาดตรงส่วนนั้นๆ จะเป็นต่อขยายว่าเราสามารถเพิ่มเติมในสิ่งใด เพื่อพัฒนาภาคการส่งออกไทยให้ราบรื่นในทางการเงินได้อีกเมื่อจำเป็นต้องไปทำ การค้ากับเขา กับเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน

อีกปัญหาหนึ่งที่ผมขอนำเสนอ เราควรจะพัฒนาระบบการเงิน การแลกเปลี่ยนเงินตรา และการโอนเงินเพื่อการส่งออกนำเข้าโดยเฉพาะการค้าขายชายแดน  ทุกวันนี้ยังเป็นระบบโบราณมาก ภาครัฐควรนำร่องให้ธนาคารเอกชนสนใจมากกว่านี้ ดูเหมือนว่าทุกฝ่ายยังกล้าๆ กลัวๆ หากมีการจัดระเบียบโดยรัฐบาลระหว่างประเทศมากำหนดการโอนเงินเข้าออกอย่างถูก ต้อง และลดหย่อนกฎระเบียบบางอย่าง เพื่อรองรับการค้าเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ถ้าทุกคนทำการค้าชายแดนเข้าระบบจะทำให้ปัญหาการค้าเถื่อน ยาเสพติดจะหมดไป และรายการการค้า (Transaction) จะโปร่งใส่

อนึ่ง ถ้าผู้นำเข้าประเทศพม่าจะนำเข้าจะต้องมีเงินสกุลเงินเหรียญสหรัฐสำรองในมือ เสียก่อน มิฉะนั้นไม่สามารถนำเข้าได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการทำการค้าเสรี  มันไม่เหมือนเมืองไทยเรา ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศเรานั้น เราจะแลกเปลี่ยนสกุลเงินเหรียญสหรัฐ และ Packing credit ได้สะดวก รวดเร็ว ง่าย และถูกต้อง

มองเขา มองเราได้ออก รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้งครับ!!

ณัฐพล จงธนพิพัฒน์


       



FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO.,LTD.
507/321 Freight Links Building. Soi Sathu Pradit 31 (Nakornthai Soi 4), Sathu Pradit Road
Chong Nonsi Yannawa, Bangkok 10120, Thailand
Tel. 0-2210-2888,  fax: Export 0-2674-3720 Import 0-2674-3722 Marketting 0-2674-3725 Logistics 0-2674-3725
Consol 0-2674-3725 Account 0-2210-2889 Personnel 0-2210-2899 
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright