งานประชุมทางวิชาการ และนิทรรศการ 6th Thai Ports and Shipping 2011 ตอนที่ 1
ข้อมูลบางส่วน ที่มา (http://www.marinerthai.com/pic-news3/ttp.jpg), (http://vigportal.mot.go.th/portal/site/PortalMOT/)
เมื่อวันที่ 12-14 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ผมได้รับเชิญร่วมงานดังกล่าว จากการท่าเรือแห่งประเทศ ซึ่งเป็นประธานร่วมในงานนี้
งานนี้จะจัดเป็นประจำทุก 2 ปีที่ประเทศไทย งานนี้เป็นงานที่มีประโยชน์มาก เป็นการรวมของตัวแทนจากกระทรวงคมนาคมทั้งใน และต่างประเทศ ตัวแทนจากการท่าเรือ ตัวแทนจากสายการเดินเรือ ตัวแทนจากบริษัทตัวแทนขายอุปกรณ์ เครื่องมือหนัก เช่น เครน รถยกตู้คอนเทนเนอร์ และบริษัทผู้ให้บริการสถานีบรรจุสินค้า เป็นต้น รวมทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย เรียกได้ว่า เป็นงานที่รวมชาวโลจิสติกส์ทางด้านทางทะเลครบวงจร มีบูธแสดงประมาณ 100 บูธ แขกที่รับเชิญมาบรรยาย 21 ท่าน และผู้มาร่วมงานทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศประมาณกว่า 400 ท่าน ครั้งนี้เป็นการจัดครั้งที่ 6 ชื่องานก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นงานที่เกี่ยวกับท่าเรือไทย และการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ ปี 2011
นายศิลปะชัย จารุเกษมรัตนะ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกล่าวสุนทรพจน์ พร้อมเปิดการประชุมทางวิชาการ และนิทรรศการ “6th Thai Ports And Shipping 2011” โดยมีนายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวรายงานในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม และนิทรรศการ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 ณ ห้องควีนส์ปาร์ค 1 โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ
นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า กทท. ร่วมกับบริษัท Transport Events Management จำกัด เป็นเจ้าภาพจัดประชุมทางวิชาการ และนิทรรศการ “6th Thai Ports And Shipping 2011” ระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม 2554 โดยการจัดประชุมทางวิชาการ และนิทรรศการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเดินเรือ Logistics Center การขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือภูมิภาค ประชาสัมพันธ์กิจการ กทท. ให้เป็นที่รู้จักในวงการขนส่งสากล สร้างความเชื่อมั่น และดึงดูดกลุ่มนักลงทุนทั้งชาวไทย และต่างประเทศ ในการเข้ามาลงทุน ตลอดจนการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว รวมทั้งแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้เข้าร่วมประชุมในแวดวงธุรกิจการ ขนส่ง และโลจิสติกส์ระดับนานาชาติ
ส่วนของการเสวนาเป็นไปภายใต้แนวคิด “Thailand Logistics Strategy for the Center of Connectivity in Asean” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ และเอกชน ได้แก่ ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เสวนาในหัวข้อ “การพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่ง และโลจิสติกส์ของไทย เพื่อรองรับการเชื่อมโยงอาเซียน” ท่านดร. จุฬา ได้ย้ำถึงความสำคัญทางด้านการพัฒนาเรื่องเกี่ยวกับความสะดวก ในขบวนการขนส่ง ทางบกผ่านชายแดนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะชายแดนระหว่างประเทศไทย และประเทศลาว คุณสุชาติ เฉลิมกาญจนา รองประธานสมาคมเจ้าของ และตัวแทนเรือกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “บทบาทธุรกิจสายการเดินเรือในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอา เซียน (AEC) ในปี 2015” ท่านสุชาติได้สนับสนุนในการค้าเสรีระหว่างประเทศว่าเป็น ประโยชน์กับประเทศ ไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน
จำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่หมุนเวียนในการใช้งาน (global container handling volume) มีจำนวนตกลงจาก 14.5% มาที่จำนวน 8.4% แต่ถ้ามามองการค้า ในโลกเรานี้ ในกลุ่ม AEC มีการเจริญเติบโตมากที่สุด และมีส่วนแบ่งตลาดโลกถึง 24% ในปี 2010 เป็นกลุ่มที่ไม่คอยได้รับผลกระทบกับปัญหาการค้าของโลกที่ตก ต่ำในชณะนี้ แต่กองเรือที่กลุ่มประเทศ AEC มีส่วนแบ่งในการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศแค่ 6.3% มันเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับกองเรือที่จะมารองรับ ธุรกิจของกลุ่ม AEC ว่ากลุ่มของประเทศอาเซียนจะมีปัญหาเรื่อง space เนื้อที่ระวางที่รับบรรจุบนเรือในอนาคตของสินค้าของกลุ่ม AEC จะไม่เป็นอิสระ โดยเฉพาะล่าสุดบริษัทสายเดินเรือแห่งประเทศมาเลเซีย คือ MISC กำลังจะเลิกกิจการไป ทั้งที่การค้าการขายในกลุ่มมีแนวโน้มโตขึ้นเลื่อยๆ ถ้าบริษัทสายเรือที่เป็นประเทศในนอกกลุ่ม AEC จะเลือกรับขนส่งสินค้าของเขาเอง สินค้าในกลุ่มของประเทศ AEC ก็จะไม่ได้รับบริการที่ดี และราคาค่าระวางขนส่งที่ไม่สามารถสู้กับคู่แข่งได้ อำนาจต่อรองของผู้ส่งออกประเทศในกลุ่ม AEC และผู้ส่งออกไทยจะสูญเสียไป คุณสุชาติจึงเรียกร้องให้รัฐบาลผู้บริหารในกลุ่มประเทศ AEC ควรให้ความสำคัญในเรื่องการเพิ่มกองเรือของประเทศในกลุ่ม AEC เพื่อจะได้ทำให้ประเทศในกลุ่ม AEC สามารถทำการค้าได้อย่างเสรี สะดวก และเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน มิฉะนั้นอนาคตของการค้าระหว่างประเทศในกลุ่ม AEC ต้องแขวนอยู่เป็นเส้นด้าย ภาครัฐบาลควรออกมาตรการส่งการต่อเรือ การค้าการพาณิชย์นาวีให้เข้มแข็งมากกว่านี้ ส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้ธุรกิจการเดินเรือระหว่างประเทศให้ มากกว่านี้
ทั้งกฎระเบียบศุลกากรให้ผ่อนผันมากกว่านี้ ทั้งลดภาษีรายได้นิติบุคคลที่ทำธุรกิจนี้ให้อยู่รอด เพราะเท่าที่ผ่านมาบริษัทสายเดินเรือต้องกัดฟันดำเนินธุรกิจ ด้วยอุปสรรคมาก มาย เช่น การยึดตู้คอนเทนเนอร์กว่า 600 ตู้มีปัญหาเรื่องไม้เถื่อนเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว ไม่มีรัฐบาลไหนสนใจจะแก้ปัญหา ทำให้สายเรือต้องรับภาระต้นทุน และค่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์ในตู้คอนเทนเนอร์ ถ้าประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าในการส่งเสริมพาณิชย์นาวี ต้นทุนค่าระวางขนส่งสินค้าระหว่างประเทศก็จะต่ำลง ปัญหาเรื่องการขาดแคลนเนื้อที่บนระวางเรือที่รับสินค้าของผู้ ส่งออกคนไทยก็ จะได้มาก และดี เราควรส่งเสริมให้ประเทศไทย เราเป็น HUB หรือศูนย์กลางโลจิสติกส์อย่างเต็มรูปแบบทั้งการเปลี่ยน Mode หรือการเปลี่ยนพาหนะ
จากการขนส่งทางทะเลมาเป็นการขนส่งทางระบบราง และระบบขนส่งทางบก อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้
นอกจากนี้ การรวมเป็นกลุ่ม AEC จะทำให้พนักงานที่มีความชำนาญสามารถหางานที่ดีในอนาคต ปัญหาเรื่องแรงงานจะลดน้อยลง ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภาพของธุรกิจพาณิฃย์นาวีที่ดีขึ้น เพราะสามารถเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรีมากขึ้น การติดต่อการเชื่อมต่อในระบบโลจิสติกส์ก็จะดีกว่านี้ ผมได้เดินไปในยุโรป ผมทราบได้ว่า ไม่มีคำว่าชายแดนระหว่างประเทศ ผมนั่งรถไฟ และรถยนต์ข้ามประเทศ โดยที่ผมไม่มีความรู้สึกว่า ผมได้ข้ามไปประเทศใหม่แล้ว อันนี้คงเป็นความฝันอันสูงสุดของเราชาว AEC
สุดท้ายนนี้ คงไม่สายที่จะกล่าวคำสวัสดีปีใหม่ ขอให้ท่านผู้อ่านมีกิจการรุ่งเรือง และร่างกายแข็งแรง
หยก แสงตะวัน