สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

งานประชุมทางวิชาการ และนิทรรศการ  6th Thai Ports and Shipping 2011 ตอน ที่ 2

(ข้อมูลบางส่วนจาก มติชน   และ  www.eria.org) ในที่ประชุมได้เชิญ ดร. จุฬา สุขมานพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม  มา บรรยาย เกี่ยวกับ ประเทศไทย-ศูนย์กลางในการเฃื่อมต่อของอาเซียน

  

ท่านได้กล่าวไว้ว่า งานที่ทำอยู่ถือเป็นการบูรณาการของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการจะให้การขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศและระบบราง เข้ามาอยู่ในนโยบายเดียวกัน เป็นการพัฒนาด้านโลจิสติคส์ของประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมา การขนส่งของประเทศยังคงเน้นอยู่ที่การขนส่งเพียงเฉพาะทางบกกับทางอากาศเท่า นั้น ขณะที่ทางน้ำและทางราง ประเทศไทยยังไม่ค่อยมีการพัฒนา ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้ออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2548 โดยสาระสำคัญจะเป็นการช่วย ให้ ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการด้านการขนส่งไม่ต้องมากังวลหรือปวด หัวในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการขนส่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะภายใต้กฎหมายดังกล่าวจะมีผู้ประกอบการที่ขณะนี้มีประมาณ 400 ราย ที่มาจดทะเบียนแล้ว เข้ามาเป็นผู้ดำเนินการรับช่วงต่อในการขนส่ง โดยบริษัทเหล่านี้จะเป็นเหมือนตัวกลางที่เป็นผู้ติดต่อตัวแทนขนส่งทั้งในและ ต่างประเทศในทุกรูปแบบ ซึ่งการดำเนินการแบบนี้จะเป็นการช่วยให้ผู้ส่งออกและนำเข้าให้มี ค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากอดีตที่ค่าใช้จ่ายในด้านนี้มีมาก และถือเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการพัฒนาการส่งออกของประเทศ   ท่าน ดร จุฬา เล่าให้ฟังว่า ความยากในการทำเรื่องนี้คือ เน็ตเวิร์กสำหรับติดต่อบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ยังต้องพึ่งพาบริษัทข้ามชาติอยู่ ในขณะที่บริษัทของไทยเองในเบื้องต้นคงจะต้องไปร่วมกับบริษัทข้าม ชาติเหล่านั้นในการสร้างศักยภาพในอนาคต ซึ่งมองว่าในอนาคต บริษัทของคนไทยน่าจะมีโอกาสในการพัฒนาในด้านนี้มากขึ้น   ท่านผู้ ตรวจการ ได้ให้ความสำคัญเรื่องการเปิดการค้าเสรีในกลุ่มประชาคมอาเซียนใน ปี  2015  ว่า  ประการแรกทำให้เกิดการ

 

เป็นตลาดและฐานผลิตเป็นหนึ่ง เดี่ยว ทำให้การค้าการขายมีมากขึ้น ทำให้ต้นทุกผลิตสินค้าออกสู่ตลาดโลกและขายกันในกลุ่มประชาคมอาเซียนมาราคา ถูก  เรียกได้ว่า คนไทยจะได้ซื้อสินค้าที่ราคาถูกลง  จะไม่มีกำแพงภาษี

ทำให้สินค้าที่ใช้วัตถุดิบใน กลุ่มเราเป็นเรา จะถูกมากๆ   ประการ ที่สอง จะเกิดการแข่งในราคาและบริการมากขึ้น  สินค้าที่ไม่ดี  บริการที่ไม่ได้คุณภาพก็จะ อยู่ไม่ได้   การผูกขาด ก็จะน้อยลง   ผู้บริโภค ในกลุ่มอาเซียนก็ได้รับ

ผลประโยชน์อย่างมาก   ประการที่ สามจะเกิดการกระจายการผลิต และ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศแต่ละประเทศ เกิดความเสมอภาคกัน   ทำให้ประชากรเกิดความเสมอ ภาคกันในรายได้ และการเศรษฐกิจ ขจัดปัญหาควาไม่เท่าเทียบของรายได้ของชนชั้นในประเทศ   ลดปัญหาสังคมในอนาคต  ประการสุดท้าย  การประสมประสานกันในกลุ่ม ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้ ประชาคมอาเซียน เป็นกำลังในการเชื่อมเข้ากับการค้าโลกได้อย่างง่าย และมีมาตรฐานระดับสากล   ท่าน ดร.จุฬายังได้กล่าวถึง การสร้างศูนย์กลางในการการเชื่อมต่อให้ประชาคมอาเซียน (ASEAN CONNECTIVITY)  จะ ประกอบ ด้วย 1) การเพิ่มพัฒนา และปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกันในกลุ่มประชาคมอาเซียน และ มี ธรรมภิบาล  2) การพัฒนาเรื่องการทำงานรวมกัน  และ เพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มประชาคมอาเซียน 3) การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการอยู่อาศัยของประชาคมอาเซียน 4)  ลดช่อง ว่างของการพัฒนาของกลุ่มประชาคมอาเซียน ให้ เท่าเทียมกันองค์ประกอบของการเชื่อมต่อในกลุ่มประชาคมเอเซียน มี 3 ส่วน ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1  การ เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานของสาธารณูปโภคทางกายภาพ(Physical Connectivity) ในประชาคมอาเซียน ส่วนที่ 2 การเชื่อมต่อในกฎระเบียนข้อตกลงระหว่างประชาคมอาเซียน (Institutional Connectivity)    และส่วนสุดท้ายคือ การเชื่อมต่อทางด้านทรัพยกรมนุษย์ (People-to-people  Connectivity)

ส่วนที่ 1  การเชื่อมต่อโครงสร้างพื้น ฐานของสาธารณูปโภคทางกายภาพ(Physical Connectivity) ในประชาคมอาเซียน  แบ่ง เป็นการขนส่งทางถนนของประเทศไทยเรา   มีการพัฒนา ถนน ทางด่วนพิเศษ ถึง 431 กิโลเมตร  ถนนทางหลวง มาตรฐานสากล  66,266  กิโลเมตร  และ ถนน ทางหลวงชนบท  128,000  กิโลเมตร   ซึ่งถนนของบ้านเรามีการ เชื่อมต่อกับประเทศ สิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย  ประเทศ พม่า ประเทศกัมพูชา   ประเทศ จีน  และ ประเทศเวียดนาม  มี ความเป็นได้สูงว่า เราจะศูนย์กลางทางด้านทางถนนและกาค้า ในภาคพื้นประชาคมอาเซียน การ ขนส่งทางระบบราง หรือทาง รถไฟของเรา  มี รางรถไฟความยาว ทั้งประเทศ  4,356 กิโลเมตร มีระบบรางเดี่ยว ความยาว 3,969  กิโลเมตร  ระบบรางคู่ ความยาว 280 กิโลเมตร  และ ระบบรางสาม 107 กิโลเมตร การขนส่งชนิดนี้ สามารถขนผู้โดยสารได้ ถึง ปีละ 70 ล้านคน ผ่าน 47 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายการเดินรถสายประเทศ สิงคโปร์ถึงประเทศจีนตอนใต้ มนฑล\คูน หมิง  และ เป็นส่วนหนึ่งของสายรถไฟที่เรียกว่า UNESCAP TRANS ASIAN RAILWAY  การ ขนส่งทางน้ำ  ทาง ประเทศไทยมี ท่าเรือสากล 8 ท่า   มี ท่าเรือริมแม่น้ำ และชายฝั่ง 146 ท่า  และมีท่าเทียบเรือริมแม่ น้ำโขง  ซึ่งสามารถขน ส่ง สินค้า เชื่อมต่อไป ประเทศพม่า ประเทศลาว  ประเทศ กัมพูชา   ประเทศ เวียดนามและ ประเทศจีน สุดท้ายทางด้านการขนส่งทางอากาศ  ประเทศไทยเราก็มีสนามบิน มาตรฐานสากลระหว่างประเทศ  ถึง 7 แห่ง และมีสนามบินภูมิภาค ถึง 32 แห่ง  ซึ่งแสดงถึงความ พร้อม และ เป็นจุดศูนย์กลางของประชาคมอาเซียนได้อย่างลงตัวที่สุด  

ส่วนที่ 2 การเชื่อมต่อในกฎระเบียนข้อตกลงระหว่างประชาคมอาเซียน (Institutional Connectivity)  ท่าน ได้กล่าวถึง ข้อตกลงเรื่อง การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ข้อตกลงเรื่องสินค้าผ่านแดน   ข้อตกลงเรื่องการร่วมตลาดเดียวทางด้านการขนส่งทางอากาศ ทางทะเล  การให้บริการ เพื่อความคล่องตัวแก่ภาคโลจิสติกส์ และ การท่องเที่ยว ระหว่างประชาคมอาเซียน
ส่วนสุด ท้าย เป็นการเชื่อมต่อทางด้าน ทรัพย กรมนุษย์ (People-to-people  Connectivity) ซึ่งได้จากพื้นฐานข้อมูล จาก ส่วนที่ 1  และ ส่วนที่ 2
มาสรุป อบรม ให้การศึกษาแก่ ประชาชนของประชาคมอาเซียน

ตอนนี้ขอจบแค่นี้ก่อน  ไว้ ฉบับ หน้า อ่านต่อนะครับ
หยก แสงตะวัน





FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO.,LTD.
507/321 Freight Links Building. Soi Sathu Pradit 31 (Nakornthai Soi 4), Sathu Pradit Road
Chong Nonsi Yannawa, Bangkok 10120, Thailand
Tel. 0-2210-2888,  fax: Export 0-2674-3720 Import 0-2674-3722 Marketting 0-2674-3725 Logistics 0-2674-3725
Consol 0-2674-3725 Account 0-2210-2889 Personnel 0-2210-2899 
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright