สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

Update เรื่องศุลกากรในปีใหม่นี้

ผมได้ เข้าอบรมหลักสูตรผู้ชำนาญการศุลกากร ต่ออายุใบรับรองตัวแทนออกของรับอนุญาต ประจำปี 2555 ครั้งที่ 3/2555 ระหว่างวันที่ 13-17 กุมภาพันธ์ 2555  ณ ห้องประชุมชั้น 15 อาคาร 120 ปี กรมศุลกากร  วันแรก ได้ รับการอบรมจากท่านอาจารย์  ชลิดา พันธุ์กระวี ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  ได้บรรยายให้ทราบว่า กรมศุลกากร จะมีการปรับปรุงโครงสร้างใบขนสินค้าขาเข้า และ ส่งออก ซึ่งแผนการดำเนินงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลกับการศุลกากรมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล  ในประเภทเอกสาร 1. ใบขนสินค้าขาเข้า/ขาออกใหม่ 2. ข้อมูลการอนุญาตให้นำของเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บน/เขตปลอดอากร/เขตประกอบการเสรี  3.  ข้อมูลสูตรการผลิต 4.  ข้อมูล การขอคืนอากร ตามมาตรา 19 ทวี  5.  ข้อมูลรายงานการเคลื่อนไหวของสินค้าของสินค้า 6. ข้อมูลรายงานยืนยันการโอนย้ายสินค้า   ข้อ1 ถึง ข้อ 4 เริ่มใช้งานวันที่ 1 เมษายน 2555 ส่วนที่เหลือเริ่มใช้ พฤษภาคม 2555   

ขอขยายความว่า การปรับปรุงโครงสร้างใบขนสินค้าในโครงการ e-Tax Incentives   มีวัตถุประสงค์อันแรกคือ  เพื่อรองรับการเชื่อมโยงกับกรมสรรพากร  ที่ผ่านมาอธิบดีมาจากคนในกรมศุลกากร เมื่อปีที่แล้ว อธิบดีมาจากกรมสรรพากร เลยทำให้มีเปลี่ยนแนวการทำงานไปในทางเดียวกับกรมสรรพากร คือ คิดอะไรให้คิดที่ภาพรวม ไม่ใช่มานั่งไล่จับเหมือนในอดีต    มีการจับบริษัทใหญ่   และ มีการใช้ข้อมูลสถิติ ทั้งข้อมูลทาง ระบบสาระสนเทศ internet มาประกอบ  เดิมมีการนับตรวจแบบโดยตรง  เดี๋ยวนี้ กรมศุลกากรมาใช้แนวทางตรวจโดยระบบตรวจสอบ (audit)  ถ้าระบบนี้เกิด  สมัยนี้มันหมดยุคที่ข้าราชการต้องมานั่งนับสินค้าในคลังสินค้าที่ทั้งร้อนทั้งสกปรก  ท่านสามารถหาข้อมูลจาก คอมพิวเตอร์ที่ทุกอย่างที่ท่านต้องการ  ท่านสามารถตรวจสอบจากระบบบัญชี การเสียภาษีสรรพากร  การเสียภาษีศุลกากร  การออกใบกำกับสินค้า ใบขนสินค้า  เพื่อติดตาม (Tracking) รายการการค้าการขายได้อย่างง่ายดายมาก เอารายการกระทบยอดกัน   ท่านไม่พอใจก็เรียกให้บริษัทเอกชนที่ขายโปรแกรมสำเร็จรูปทำรายงาน (Report) ที่ท่านต้องการ   เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถประมวญผลตามที่ท่านต้องการ  จะเป็นรูปกราฟแท่ง หรือวงกลม  เล่นสีสัน ก็ย่อมได้ 

เรื่องแรกที่ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าต้องรีบไปกรมศุลกากรทันทีคือ เรื่องต้องไปเปลี่ยนหมายประจำตัวของบริษัทท่าน และ สาขาที่อยู่ของบริษัทผู้ส่งออกและนำเข้าให้ตรงกับที่กรมสรรพากรออให้ตามบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของสรรพากร   และอย่าลืมไปแก้ไขสาขาที่อยู่ของ่ตัวแทนออกของที่กรมสรรพากรออกให้ตามบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมสรรพากร มิฉะนั้น ตัวแทนออกของของท่านผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ก็จะไม่สามารถดำเนินพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เพราะความไม่สอดคล้องกัน  อย่าลืมด้วยในกรณีที่ผู้ส่งออก และ ผู้นำเข้า มี ตัวแทนออกของ 2-3 บริษัทก็อย่าลืมแก้ไขให้หมดทุกเจ้าด้วย  เพื่อเป็นการรองรับการเชื่อมโยงกับกรมสรรพากร   มีการเพิ่มหัวข้ออื่นๆ  เพื่อให้ ครบและรองรับมาตรฐานอื่น ๆ เช่น  AEO เป็นต้น   แล้วส่วนที่ใส่ลงในหมายเหตุ ก็จะมีช่องให้เติม หรือ ลงได้อย่างถูกต้อง เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต    ในระบบใหม่ ก็จะมีการให้ยื่นสูตรการผลิตตามใจชอบ ของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า   โดยอ้างอิงที่ เลขพิกัดสินค้าเป็นตัวหลัก  ไม่ต้องมาเขียนสูตรให้วุ่นวาย  ไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่รับรอง ยื่นสูตรได้ ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน  ไม่เว้นวันหยุดราชการ  งานนี้ผู้ส่งออกมีการบ้านคิดสูตรการผลิตแบบใหม่เอง รับผิดชอบเอง ต้องเรียงลำดับให้ถูกต้องผู้นำเข้า ผู้ผลิต และท่านผู้ส่งออก เป็นสูตรเดียวกัน  ให้ครบ ใช้กี่ส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ เอาให้แน่ๆ  ไม่พอใจก็สร้างสูตรของท่านหลาย ๆ Version ตามที่ท่านต้องการ ตามใจชอบ   สุดท้ายตัดให้ลงตัวด้วย  ต่อไปก็ยังมีการทำระบบ e-document  ซึ่งจะเป็นระบบที่ต่อไปนี้ เอกสารทุกอย่างของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก จะถูก scan หรือ ถ่ายสำเนาโดยระบบอิเล็กโทนิค  เจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ยื่นหรือรับเก็บเอกสาร ทุกอย่างจะถูกจัดเก็บ เป็นระบบ  เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรก็เรียกเอกสารทุกอย่างท่านเพียงคลิกเดียว  ฟังดีแล้วน่าตื่นเต้นไม๊ครับ 

สรุปงานนี้  ท่านผู้ส่งออก หรือ ตัวแทนออกของต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการ update โปรแกรม คอมพิวเตอร์ให้บริษัทSOFTWARE ส่งข้อมูล paperless ผ่านพิธีการศุลกากร และเรียนรู้โปรแกรมใหม่ใด้ดี   ตามด้วยเรื่องใหม่อีกเรื่องจาก อาจารย์ กิจจาลักษณ์ ศรีนุชศาสตร์ สำนักพิกัดอัตราศูลกากร ได้บรรยาย เรื่องพิกัดสินค้าศุลกากรก็จะเปลี่ยนเป็น versionใหม่ เป็นปี 2012  แล้ว นะครับ   หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาว่า ด้วยพิกัดระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System: HS)  ในกลุ่มผู้ชำนาญการเรา จะเรียกสินค้า เป็น HS code    มีหลักการสำคัญประการหนึ่งคือ ระบบพิกัดฯต้องทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่ และรูปแบบของการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งตอบสนองกับวัตถุประสงค์การใช้งานที่หลากหลาย  อนุสัญญาฯจึงกำหนดให้คณะกรรมการระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลการโลก (WCO) ทำหน้าที่ปรับปรุงแก้ไขและทบทวนโครงสร้างเพื่อให้ระบบพิกัดฯตรงกับความต้องการของผู้ใช้  สอดคร้องกับรูปการค้า เทคโนโลยี่การผลิต และทิศทางการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งเพื่อตอบสนองกับข้อเรียกร้องหรือเหตุผลด้านความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อม/สังคมและความมั่นคง นอกจากนั้น WCO ยังใช้โอกาสนี้ปรับปรุงรายละเอียดถ้อยคำที่ใช้ในพิกัดที่อาจมีความคลุมเครือให้เกิดความชัดเจน รวมไปถึงการแก้ไขศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ให้สอดคล้องกับชื่อที่ใช้เรียกทางการค้าในปัจจุบัน 

ตัวอย่างของวิวัฒนาการของสินค้าที่เห็นได้ชัดเจนคือความต้องการกำนหดประเภทย่ยอสินค้า “แบบอนาลอก”  ใน HS ยุคแรก  แต่ปัจจุบันสินค้าอนาลอกเกือบทั้งหมดหายไปจากตลาดการค้าและเปลี่ยนไปสู่ระบบที่เป็น “ดิจิตอล”  ปัจจุบัน WCO กำหนดให้มีการปรับปรุงแก้ไข HS เป็นครั้งที่ 5 ซึ่งจะมีผลนำมาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 (ค.ศ. 2012)  เรียกกันทั่วไปว่า HS 2012 ประกอบด้วยการแก้ไข HS จำนวน 225กลุ่มรายการ   ในกลุ่มสมาชิกอาเซียนเราได้ จำแนกประเภทสินค้าเพิ่มและแก้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านอัตราอากรและการค้าของสมาชิกอาเซียน ซี่งเรียกว่า พิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน (ASEN HARMONISED TARIFF NOMENCIATURE: AHTN) โดย ใช้ พิกัดHS ขององค์การศุลกากรโลก  และ เพิ่มหลักที่ 7 และ 8 เข้าไปรองรับรายการสินค้าตามความต้องการในกลุ่มอาเซียน เรียกว่า ประเภทย่อยอาเซียน บางตัวก็ถูกตัด บางตัวก็เพิ่มบางตัวก็ถูกย้ายกลุ่ม  ยังมีทีเด็ดอีกคือ   ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 67/2552 เรื่องการให้บริการวินิจฉัยราคาศุลกากรล่วงหน้า  คือ ท่านผู้ส่งออก ที่นำเข้าวัตถุดิบ ไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องมาเสี่ยงกับการทำงานที่ผิดพลาดของตัวแทนออกของ หรือการวินิจฉัย ของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร แบบเอาตัวรอด

ต่อไปนี้มีวิธีการทำคำร้องล่วงหน้า เป็นหลักฐาน  เอามาอ้างได้ ถ้าเจ้าหน้าศุลกากรนายตรวจมาจับ  ลดปัญหาโต้แย้งเรื่องภาษีที่คำนวณผิดเป็นช่องให้เจ้าหน้าหาเรื่อง เรียกเงินสินบน และลดทั้งค่าใช้จ่ายและอุปสรรคในการทำงาน  การยื่นคำร้องทางกรมศุลกากรต้องตอบภายใน 30 วัน  ในกรณีที่ท่านมีเอกสารพร้อมมีการซื้อขายจริงในการยื่น  แต่ถ้าท่านไม่เคยนำเข้า ก็ยื่นและเช็คได้เหมือน   แต่ ต้อง รอรับคำตอบ 60 วัน อีกเรื่องใหม่คือในกรณีที่ใบรับรองถิ่นกำเนิดมีปัญหา เรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดเล็กน้อย เช่นที่อยู่  และ พิกัดสินค้าไม่ตรงกับกรมศุลกากรไทย  ท่านผู้ส่งออกขอให้อ้างคำสั่งซึ่งออกคู่กับ ประกาศกรมศุลกากร ที่ 3/2555  จะเป็นยันต์กันให้ผ่อนผันได้   เป็นคำสั่งภายในของกรมศุลกากรที่ช่วยเหลือในการผ่อนผันเกี่ยวกับปัญหา ที่ไม่ผิดร้ายแรงทำให้ท่านสามารถนำเข้าวัตถุดิบได้รวดเร็วและสงวนสิทธิท่านได้ ท่านผู้ส่งออกจะได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านลดภาษีอย่างเต็มที่ในวัตถุดิบที่ท่านนำเข้า   เรื่องสุดท้าย สำคัญมากสำหรับผู้ส่งออก ถ้าผู้ส่งออกส่งสินค้าไปหลายประเทศแล้ว แต่ละกรมศุลกากรแต่ละประเทศตีความสินค้าของท่านต่างกัน  ไม่เหมือนกัน  เป็นผลให้การส่งออกของท่านเกิดการเสียเปรียบทางด้านการค้า   ท่านสามารถร้องผ่านสำนักพิกัดอัตราศุลกากรแล้วให้ทาง องค์การศุลกากรโลก (WCO)  ตีความ แล้วอธิบายเพื่อแก้ปัญหา ให้ เป็นออกคำวินิจฉัยพิกัดสินค้าของท่านเป็นพิกัดสินค้าเดียวกันทั่วโลกได้  อันนี้ก็เป็นตัวช่วยท่าน  ถ้าเป็นพิกัดเดียวลูกค้าของท่านก็จะเสียภาษีในอัตราที่ น้อยลง  ทำให้ท่านก็จะส่งออกได้มากขึ้น  ขอให้ท่านไปศึกษาเพิ่มเติมที่ www.customs.go.th

 

หยก แสงตะวัน

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO.,LTD.
507/321 Freight Links Building. Soi Sathu Pradit 31 (Nakornthai Soi 4), Sathu Pradit Road
Chong Nonsi Yannawa, Bangkok 10120, Thailand
Tel. 0-2210-2888,  fax: Export 0-2674-3720 Import 0-2674-3722 Marketting 0-2674-3725 Logistics 0-2674-3725
Consol 0-2674-3725 Account 0-2210-2889 Personnel 0-2210-2899 
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright