พิมพ์
ฮิต: 15001

 คำพิพากษาฏีกาที่ 704-708/2532
พ.ร.บ. ขนส่งทางบกฯ ไม่ต้องรับใบอนุญาติ ม, 5 , 23
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคน ขับรับจ้างส่งคนโดยได้
แม้มิได้รับใบอนุญาติจากนายทะเบียนก็ไม่เป็นความผิด
(ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดปทุมธานี โจทก์ นายรส สุขโข กับพวก จำเลย)
คดีนี้โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 4 ตุลาคม 2536 เวลากลางวัน
ถึงวันที่ 11 มกราคม 2527 เวลากลางวันติดต่อกัน จำเลยที่ 1 ที ที่ 2 กับห้างหุ้นส่วนจำกัด
สุพรรณ คาร์เรนท์ โดยนายนพคุณ พฤกษาพงษ์ หุ้นส่วนผู้จัดการ และนายนพคุณ พฤกษาพงษ์
ในฐานะส่วนตัวซึ่งยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ร่วมกันประกอบการขนส่งประจำทางไม่ประจำทาง
โดยใช้รถยนต์ตู้ปรับอากาศหมายเลยทะเบียน 2ย-2746 กรุงเทพมหานคร และ 6ย-2745
กรุงเทพมหานคร ตามลำดับ บรรทุกคนโดยสารเพื่อรับจ้างระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรี
พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร
ตามเส้นทางที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดลักษณะการขนส่งประจำ
ทางและโดยไม่ได้จำกัดเส้นทางจำนวนหลายเที่ยว
ทั้งนี้โดยจำเลยทั้งสอบกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาติจากนายทะเบียนและไม่ได้รับ
การยกเว้นตามกฏหมาย และเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2527 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1
ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ โดยปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถคันหมายเลขทะเบียน 2ย-2746
กรุงเทพมหานคร บรรทุกส่งคนโดยสารเพื่อรับจ้างโดยไม่ได้รับใบอนุญาติจากนายทะเบียนตามกฏหมาย
เหตุเกิดขึ้นที่ตำบลท่าแหลม อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี และตำบลหรือแขวง
อำเภอหรือเขตโดยปรากฏแน่ชัดในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร
เกี่ยวกันกันขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2532 มาตรา
4,23,43,126,151 ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 4 และลงโทษจำเลยที่ 2
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2532 มาตรา 4,23,126 ประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 83
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลขั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ.2532 มาตรา 4,23,126 ให้ปรับคนละ 20,000 บาท
ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 29,30 ความผิดฐานอื่นนอกจากนี้ให้ยกฟ้อง
จำเลยทั้งสองสำนวนอุทธรณ์
ศาลอุทธาร์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวน
โจทก์ทั้งสองสำนวนฏีกา
ศาลฏีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า
ตามวันเวลาเกิดเหตุเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งสองในข้อหาประกอบการขนส่ง
ประจำทางและไม่ประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาติ ขณะที่จำเลย ทั้งสองขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน
2ย-2746 กรุงเทพมหานคร และ 6ย-2745 กรุงเทพมหานคร ตามลำดับ
จากจังหวัดสุพรรณบุรีมากรุงเทพมหานคร
รถยนต์ทั้งสองคันจดทะเบียนต่อกองทะเบียนยานพาหนะกรมตำรวจ เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่นั่ง 12
คน น้ำหนัก 1,550 กิโลกรัม
มีปัญหาในขั้นนี้ตามฏีกาของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามพระราช บัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ.2522 มาตรา 23,126 หรือไม่
โดยโจทก์ฏีกาว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่จะได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับของ
พระราชบัญญัติการชนส่งทางบก ตามมาตรา 5 นั้น
จะต้องเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลที่มิได้ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร
เมื่อจำเลยทั้งสองนำรถยนต์ซึ่งจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่นั้ง 12 คน
มารับจ้างบรรทุกคนโดยสารเพื่อรับจ้างโดยมิได้รับอนุญาติให้ประกอบการขนส่ง
การกระทำของจำเลยจีงเป็นความผิดและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทกฏหมายดังกล่าว
พิเคราะห์แล้วเห็นว่าพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตราที่ 5 ที่แก้ไขแล้ว บัญญัติว่า
"พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่... (2)
การขนส่งโดยรถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน
รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน
รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคนรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน หนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม.."
เช่นนี้ จะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ประสงค์จะบังคับสำหรับการขนส่งบาง ประเภท
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่จำเลยทั้งสองใช้ประกอบการขนส่งเป็นรถ
ยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคน กับมีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม
ซึ่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5 (2) ยกเว้นมิให้ใช้บังคับ
ดังนั้นแม้จำเลยทั้งสองจะขับรถยนต์คันเกิดเหตุรับจ้างขนส่งคนโดยสาร
เพื่อสินจ้างทั้งสองย่อมไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา
23,126 ดังโจทก์ฏิกา ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลฏีกาเห็นพ้องด้วย ฏีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
หมายเหตุ คำพิพากษาฏีกาเรื่องนี้นับว่าเป็นการแก้ปัญหาในกรณีที่บุคคลนำรถยนต์ตู้ออก
รับจ้างส่งคนโดยสารระหว่างจังหวัดได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาติจากนายทะเบียน
ไม่ว่าจะเป็นนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัดแต่ประการใด ทั้งนี้เพราะรถยนต์ตู้นั้น
ถือว่าเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคน
และถ้าเป็นรถส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมด้วยแล้ว
ย่อมจะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกแต่ประการใด
คือสามารถขับรับจ้างตามเส้นทางระหว่างจังหวัดได้ แม้จะเป็นการขับรับจ้างทับเส้นทางของผู้อื่นก็ตาม
ทั้งนี้เพราะพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 5 ซึ่งแก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523
มาตรา 1 บัญญัติว่า .....
ทั้งนี้เพราะพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่....
(1) การขนส่งโดยรถยนต์ทหาร ตามกฏหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
(2) การขนส่งโดยรถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน
รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน
รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคน
รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์
และรถแทร็กเตอร์ตามกฏหมายว่าด้วยรถยนต์
(3) การขนส่งตามที่กำหนดในกฏกระทรวง
เมื่อพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกไม่ใช้บังคับแก่รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคน
เช่นนี้ ผู้ที่มีรถยนต์ตู้ส่วนบุคคลที่บรรจุไม่เกินสิบสองคน
ย่อมสามารถที่จะออกวิ่งรับจ้างในเส้นทางของผู้ขับใบอนุญาติประกอบการขนส่ง
ประจำทางและมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับอนุญาติได้
มีสภาพที่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 40,138
ในข้อนี้เห็นจะต้องทำความเข้าใจให้ดี รถยนต์ที่ใช้ประกอบการขนส่งได้นั้น ตามมาตรา 27 มีอยู่ 4
ประเภท คือ
1. ประกอบการขนส่งประจำทาง
2. ประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
3. ประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
4. ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
จะเห็นว่าใช้ผิดประเภทมันไม่ได้
ดังนี้ถ้ามีการใช้รถยนต์ซึ่งจดทะเบียนประเภทรถโดยสารไม่ประจำทาง มารับจ้างขนส่งคนโดยสาร
โดยเก็บค่าดดยสารเป็นรายคน
อันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้รับใบอนุญาติประกอบการขนส่งประจำทาง
และมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับอนุญาติ ย่อมจะต้องมีความผิดตามมาตรา 50,138
และผิดตามมาตรา 27,132 ด้วย (ฏีกาที่ 2455/2527 2527 ฏ.1711, ที่ 3614/2527 2527ฏ.
2527) และหากมีบุคคลคล้ายคนกระทำความผิดด้วยกัน ต้องปรับเป็นรายตัวบุคคลไป
ปรับรวมกันทั้งหมดไม่ได้ (ฏีกาที่ 3349/2527-2527 ฏ.2544)
นอกจากนี้เมื่อได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประเภทใดแล้ว
จประกอบการขนส่งผิดประเภทไม่ได้ มิฉะนั้นจะมีความผิดทางอาญา
คำว่า รถนั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคนตามความในมาตรา 5 ดังกล่าวแล้ว
ซ฿งไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกนี้
แต่ต่างกับคำว่ารถที่ประกอบการขส่งส่วนบุคคลตามความในมาตรา 27
เพราะรถยนต์ที่ประกออบการขนส่งส่วนบุคคลจะประกอบการขนส่งได้จะต้องได้รับใบ อนุญาติ
ซึ่งรถนั่งส่วนบุคคลไม่เกินสอบสองคนตามมาตรา 5
แม้จะนำมาประกอบการขนส่งก็ไม่ต้องได้รับใบอนุญาติก่อน
และรถนั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคนนำมาประกอบการขนส่งโดยมิได้รับใบอนุญาติ แล้ว
จะไม่มีความผิดตามมาตรา 23 , 126
แต่หากได้เอารถนั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคนตามมาตรา 5
นี้ไปจดทะเบียนขอใบอนุญาติประกอบการขนส่งส่วนบุคคลเข้า
อันเป็นการขอใบอนุญาติถูกต้องตามกฏหมายเช่นนี้ต้องถือว่าอยู่ในลักษณะใช้ ประกอบการขนส่งแล้ว
หากใช้ผิดประเภทย่อมจะมีความผิดตามมาตรา 27 วรรคสอง, 126 ได้
และหากเป็นลักษณะในการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาติให้ประกอบการขน ส่งอย่างอื่น
ก็จะต้องมีความผิดตามมาตรา 50, 138 ด้วย
ในข้อนี้อาจจะมีผู้ให้ความเห็นว่ารถนั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคนนี้
แม้จะได้จดทะเบียนประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ตาม
หากใช้ผิดประเภทหรือในลักษณะแย่งผลประโยชน์ ย่อมจะมีความผิด เช่นเดียวกัน
เพราะพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก 2522 มาตราม 5 ยกเว้นไว้ไม่ให้นำกฏหมายนี้มาใช้บังคับ
ตามความเห็นแล้วเมื่อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคน
นำมาจดทะเบียนประกอบการขนส่งตามกฏหมายการขนส่งทางบกแล้ว
ย่อมถือว่าเป็นการใช้รถยนต์นั้นประกอบการขนส่งยอมต้องเข้ามาใช้บังคับที่มี ผลตามกฏหมาย
และแสดงต่อบุคคลภายนอกให้เห็นว่าได้ประกอบการขนส่งทางกฏหมายถูกต้องแล้ว
เช่นนี้อยู่ในสภาพที่กฏหมายใช้บังคับได้ ไม่ใช่ได้รับการยกเว้นตามกฏหมาย
จึงต้องมีความผิดตามนัยดังกล่าว
อนึ่ง คำว่ารถนั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคนนี้
จะต้องได้จดทะเบียนประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลหากเจ้าของจะทะเบียนเป็นรถรับจ้าง
นั่งไม่เกินสิบสองคนแล้ว จะไม่ได้รับยกเว้นตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก 2522 มาตรา 5
ดังกล่าว เพราะเมื่อจดทะเบียนรถรับจ้างเสียแล้ว ย่อมไม่ใช่รถส่วนบุคคลตามความหมายของกฏหมาย
จิตติ เจริญฉ่ำ
ขอขอบคุณ คุณดีดี เชียงใหม่ ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลครับ