สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

จีนจริงจังกับ เศรษฐกิจไห่หยาง”มากเพียงใด

โดย ดร.อักษรศรี  (อติ สุธาโภชน์) พานิชสาส์น

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/aksornsri/20120201/439177/จีนจริงจัง กับ-เศรษฐกิจไห่หยาง-มากเพียงใด.html

 

 

โค้ด  รัฐบาลจีน ต้องการหันมาแสวงหาและใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากทรัพยากรทาง ทะเลและมหาสมุทรให้มากขึ้น  เป็นการ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระดับชาติ จากเดิมที่เคยเน้นใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบนผืนแผ่นดินเป็นส่วนใหญ่ 

 

ดิฉันให้ความสนใจและติดตามความเคลื่อนไหวของรัฐบาลจีนใน การผลักดันเศรษฐกิจ ไห่หยาง หรือภาษาจีนกลางเรียกว่า ไห่ หยางจิงจี้ (Haiyang Jinji)  มาตั้งแต่ครั้งที่ได้เห็นคำ นี้ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุดของจีน (แผนพัฒน์ฯ ฉบับที่ 12) เป็นครั้งแรก

ในแผนพัฒน์ฯ ฉบับนี้  ทางการจีน ระบุชัดเจนถึงความสำคัญของเศรษฐกิจ ไห่หยาง  ภาษา อังกฤษเรียกว่า Marine Economy   หรือนักวิชาการฝรั่งบางรายเรียกว่า Blue Economy  เศรษฐกิจสีฟ้า คราม แต่ดิฉันขอแปลคำนี้เป็นภาษาไทยว่า“เศรษฐกิจทะเลมหาสมุทร” เพราะคำว่า ไห่หยาง สำหรับจีน มิได้เป็นเพียงน่านน้ำใน ทะเล เท่านั้น แต่ครอบคลุมไปทั่วทั้ง มหาสมุทร และในทางวิชาการก็ได้เริ่มนำดัชนีเศรษฐกิจที่เรียกว่า  Gross Ocean Product : GOP  เพื่อนำมาใช้วัดมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในทะเลมหาสมุทรด้วยค่ะ

ยิ่งไปกว่านั้น ในการมาเยือนไทยของท่านสีจิ้นผิง  ว่าที่ผู้นำจีนคน ใหม่  เมื่อปลาย ปีที่แล้ว  ก็ได้มีการลงนามในบันทึก ความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางด้านทะเล ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยกับทบวงกิจการ ทางมหาสมุทรแห่งชาติจีน และดิฉันได้เคยเขียนให้ข้อสังเกตไปในคอลัมน์นี้แล้วว่า เหตุ อันใดมังกรจีนจึงได้หันมาสนใจเรื่องทะเลและมหาสมุทรในห้วงยาม นี้  ถึงขนาดที่ต้องมาขอจีบชักชวน ให้ประเทศไทยร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว (อ่านรายละเอียดได้จากบทความว่าที่ ผู้นำจีนรุ่นที่ 5 เยือนถิ่นแดนไทย)

นอกเหนือจากความเกี่ยวพันกับประเด็นเชิงยุทธศาสตร์และผล ประโยชน์ในน่านน้ำทะเลจีนใต้และทะเลอื่นๆ ที่รายรอบจีนและประเทศเพื่อนบ้านจีนแล้ว  รัฐบาล จีนยังต้องการแสวงหาและหันมาเน้นการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจาก ทรัพยากรทางทะเลและภาคพื้นมหาสมุทร (ทั้งที่อยู่เหนือน้ำและใต้น้ำ)ให้มากขึ้น  

รัฐบาลจีนเคยประกาศว่า ประเทศของตนมีอาณาบริเวณนอกชายฝั่งทะเลมากถึง 3 ล้านตารางกิโลเมตรและมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลราว 32,000 ตารางกิโลเมตร อีกทั้งมีทรัพยากรใต้ทะเลจำนวนมหาศาลที่จีนอ้างความเป็นเจ้าของ  เช่น แหล่งสำรองน้ำมันทางทะเลราว 24.6 พันล้านตัน และแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติ 1.6 พันล้านลูกบาศก์เมตร

ผู้บริหารประเทศจีนให้ความสำคัญและผลักดันการพัฒนา เศรษฐกิจ ไห่หยาง หรือเศรษฐกิจทะเลมหาสมุทรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในแผนพัฒน์ฯ ของประเทศฉบับล่าสุด เพื่อ เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมไห่หยาง ของจีน ให้สามารถเติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปีในช่วงปี 2011-2015 ทั้งนี้ สถิติในปี 2010  อุตสาหกรรมไห่หยาง ของจีนมีมูลค่าประมาณ 3.84  ล้านล้านหยวน

สำหรับตัวอย่างนโยบายและมาตรการที่ทางการจีนได้นำมาใช้ อย่างเป็นรูปธรรม  ได้แก่ การจัดตั้ง เขตพัฒนาเศรษฐกิจ ไห่หยาง  หรือ Marine Economic Development Zone ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2011  และได้เร่งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ ลักษณะดังกล่าวเป็นโครงการนำร่องใน 3 มณฑลสำคัญ ได้แก่ มณฑลซานตง มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลกวางตุ้ง ตามลำดับ  สำหรับ ข้อมูลของเขตพัฒนาเศรษฐกิจ ไห่หยาง  ของแต่ละ 3 มณฑลนำร่อง ปรากฏในตาราง

 

ตารางแสดงข้อมูลเขตพัฒนา เศรษฐกิจ ไห่หยาง  ( Marine Economic Development Zone)

มณฑล

ซานตง

เจ้อเจียง

กวางตุ้ง

ทำเลที่ตั้ง

ชายฝั่งจีนตะวันออก

ชายฝั่งจีนตะวันออก

ชายฝั่งจีนตอนใต้

ขนาดของเขตพัฒนา Marine Economic Zone

ครอบคลุมน่านน้ำ159,500 ตร.กม. และผืนดิน 64,000 ตร.กม.

ครอบคลุมน่านน้ำ260,00 ตร.กม. และผืนดิน 35,000 ตร.กม.

ครอบคลุมน่านน้ำ 419,000 ตร.กม. และผืนดิน 84,000 ตร.กม.

ผลผลิต Marine Industry Output ปี 2010

700 พันล้านหยวน

350 พันล้านหยวน

829.1 พันล้านหยวน

 

ตัวอย่างกรณีกวางตุ้ง รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งได้จัดทำ แผนพัฒนาพื้นที่ทดลองเศรษฐกิจทางทะเลของมณฑล ครอบคลุมพื้นที่ใน 14 เมืองสำคัญ เช่น นครกวางโจว  เซินเจิ้น จูไห่ ซัวเถา (ซานโถว) ตงกว่าน จงซาน และจ้านเจียง เป็นต้น คิดเป็นพื้นที่น่านน้ำในทะเล 419,000 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่บนบก 84,000 ตารางกิโลเมตร  พร้อมตั้ง เป้าหมายในการยกระดับและพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลของกวางตุ้งให้มี มูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านหยวน หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของมูลค่า GDP ของมณฑลภายในปี 2015  และ เป้าหมายระยะยาวภายในปี 2020  เพื่อให้ ทั่วทั้งมณฑลกวางตุ้งได้กลายเป็นพื้นที่ที่มีความแข็งแกร่งด้าน เศรษฐกิจทางทะเล

ทั้งนี้ แม้ว่าแต่ละมณฑลจะมีชื่อเรียกพื้นที่พัฒนาดังกล่าวเป็นการเฉพาะ เช่น มณฑลซานตงเรียกว่า Shandong Peninsula Blue Economic Zone  มณฑลเจ้อเจียงเรียกว่า Zhoushan Archipelago New Area เพราะจะสร้างในเมืองโจวซานของเจ้อเจียง และมณฑลกวางตุ้งเรียกว่า Guangdong Marine Economic  Demonstration Area  แต่การจัดตั้งเขตพัฒนา เศรษฐกิจ ไห่หยาง เหล่านั้นล้วนมีเป้าหมายที่เหมือนกัน นั่นก็คือ เพื่อเน้นส่งเสริมให้มีการขยายตัวของกิจกรรมการผลิตและการใช้ประโยชน์ทาง เศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับทะเลและมหาสมุทร  ทั้ง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลโดยตรง เช่น การประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่  การสำรวจทรัพยากรพลังงานใต้ทะเล หรือส่วนที่เกี่ยวข้องทางอ้อม เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางทะเล และสาขาการบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางทะเล  เช่น การขนส่งโลจิสติกส์ทางทะเล เป็นต้น 

ที่สำคัญ คือ การเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มพูนมูลค่าผลตอบแทนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทะเลมหาสมุทรให้มากขึ้น จากเดิมที่เคยเน้นใช้ประโยชน์เฉพาะทรัพยากรบนภาคพื้นดินเพียงอย่างเดียว  เช่น การประกาศนโยบายพัฒนาทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ไห่หยาง ของรัฐบาลกลาง พร้อมทั้งอัดฉีดงบประมาณเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางทะเลและสร้างนวัตกรรมการ จัดการทางทะเล  เป็นต้น

โดยสรุป  จีนต้องการหันมาเน้นการ ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากทรัพยากรทางทะเลและภาคพื้นมหาสมุทรให้มาก ขึ้น จากเดิมที่เคยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบนผืนแผ่นดินเป็นส่วน ใหญ่  ซึ่งนับวันมีแต่จะร่อยหรอและหมดไป ในขณะที่ มหาสมุทร ยังคงเป็นแหล่งทรัพยากรที่ใหญ่ที่สุดของโลก  ดังนั้น  จึง เป็นการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระดับประเทศ เพื่อหันมาให้ความสำคัญกับการแสวงหาแหล่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในทิศทางใหม่  และยังเป็นการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมๆ ของจีนที่อาจอิ่มตัวในอนาคตอันใกล้ 

กรณีของจีนที่ได้ปรับยุทธศาสตร์ชาติหันมาเน้นเศรษฐกิจไห่หยาง อย่างจริงจัง จึงเป็นอีกเรื่องที่ดิฉันขอยกนิ้วให้ผู้บริหารประเทศของจีนที่มีวิสัยทัศน์ มองไกลไปในอนาคตและป้องกันปัญหาไว้ก่อน  ไม่ใช่รอให้ปัญหาเกิดขึ้น แล้วค่อยไปตามแก้ และที่แย่กว่านั้น ก็คือ แม้จะตามไปแก้แล้ว ก็ยังแก้ไม่ได้ เพราะมัวแต่จะ “ทะเลาะกันรายวัน” อยู่ร่ำไป (เฮ่อ)

 


 

 



--
Aksornsri Phanishsarn, Ph.D.
Assistant Professor
Faculty of Economics
Thammasat University, THAILAND
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
 
FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO.,LTD.
507/321 Freight Links Building. Soi Sathu Pradit 31 (Nakornthai Soi 4), Sathu Pradit Road
Chong Nonsi Yannawa, Bangkok 10120, Thailand
Tel. 0-2210-2888,  fax: Export 0-2674-3720 Import 0-2674-3722 Marketting 0-2674-3725 Logistics 0-2674-3725
Consol 0-2674-3725 Account 0-2210-2889 Personnel 0-2210-2899 
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright